เปิดมาตรการดูแลเยียวยา ระยะที่ 1 ผลกระทบโควิด-19 จากรัฐบาล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (10 มี.ค.) เห็นชอบมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 1 วงเงิน 20,000 ล้านบาท โดยมีทั้ง มาตรการด้านการเงิน ภาษี โดยคลอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ ประชาชน และ ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 โดยตรง

มาตรการดังกล่าวเป็น มาตรการดูแลและเยียวยา ผลกระทบจากไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงทางอ้อม ระยะที่ 1 โดยกระทรวงการคลัง โดยอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คือ

ครม.ไฟเขียว คืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับครัวเรือน

มาตรการด้านการเงิน

มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมจากการระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินสินเชื่อรวม 150,000 ล้านบาท

มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ยและขยาย ระยะเวลาช าระหนี้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ จากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ (ธกส. ออมสิน ธอส. ธพว.ธสน. ธอท. และ บสย.)

มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลต่อ เศรษฐกิจไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ของสำนักงานประกันสังคม วงเงินสินเชื่อรวม 30,000ล้านบาท

สปส.ลดเงินสมทบ ‘นายจ้าง-ลูกจ้าง’ เหลือฝ่ายละ 4% ยาว 6 เดือนเริ่มมี.ค.นี้

มาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย

มาตรการคืนสภาพคล่องให้แก่ ผู้ประกอบการในประเทศ

มาตรการภาษีเพื่อลดภาระดอกเบี้ยจ่าย ของผู้ประกอบการ

มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของ การจ้างงานในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID 19

มาตรการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ ผู้ประกอบการภายในประเทศ ในกรณี เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี

มาตรการอื่นๆ สำหรับ ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป 5 มาตรการ

มาตรการบรรเทาภาระการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และคืนค่าประกันการใช้ไฟ

มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคมของนายจ้างและลูกจ้าง

มาตรการบรรเทาภาระค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าตอบแทนในการให้บริการ ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ

มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงิน งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

มาตรการสร้างความเชื่อมั่น ในระบบตลาดทุน

ไม่แจกแล้ว! นายกฯ ยกเลิกมาตรการแจก 1,000 บาท สู้โควิด-19

และสุดท้าย มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 วงเงิน 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็น

1.ป้องกัน การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด 19 เช่น จัดหาหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ค่าเชื้อโรค

2. เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของเชื้อไว้รัสโควิด 19 เช่น เยียวยาผู้ถูกเลิกจ้าง เยียวยาค่ารักษาพยาบาล

3.สร้างแรงจูงใจ เพื่อลดผลกระทบจากการระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ไม่ปลดคนงาน  เสริมสร้างศักยภาพคนงาน

อภ.กระจายหน้ากากอนามัย คาด 1-2 วัน แก้ปัญหา รพ.ขาดแคลน

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ