งดเหล้า-บุหรี่ ลดเสี่ยงโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แพทย์และผู้เชี่ยวชาญชี้ การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ลดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 มากยิ่งขึ้น

17 มี.ค. 63 จากกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 11 ราย ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับภาคี จัดเสวนา หัวข้อ “เหล้า บุหรี่ กับความเสี่ยง โควิด-19” ณ ห้องไดนิ่งรูม เดอะฮอลล์บางกอก วิภาวดี 64

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 17 มี.ค. 63 อัปเดตข่าว โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล ล่าสุด วันที่ 17 มี.ค. 63 อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดขึ้น จากทั่วโลก ล่าสุด 17 มี.ค. 63 อาการโควิด-19 ป่วยแบบไหน เสี่ยงระดับใดต้องรีบไปโรงพยาบาล

สธ.พบติดเชื้อ ‘โควิด-19’ เพิ่ม 11 ราย ติดจากงานปาร์ตี้สังสรรค์เพื่อนฮ่องกง

สธ.เผยคนสูบบุหรี่ต้องระวัง!!  หากรับเชื้อโควิด 19

รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การอยู่ใกล้ชิดกัน การร่วมกันสังสรรค์ จะทำให้โอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 สูงตาม จาก 2 ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง คือ

  • ปัจจัยทางสังคม ผู้ดื่มแอลกอฮอล์อาจมีการดูแลสุขอนามัยไม่ดีเท่าผู้อื่นที่ไม่ได้ดื่ม ไม่ได้ป้องกันเท่าที่ควร เพลิดเพลินไปตามบรรยากาศจนลืมป้องกันตัวเอง
  • ปัจจัยทางชีวภาพ จากการสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยหลายชิ้น พบว่า การติดแอลกอฮอล์จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง

ดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อในปอดหรือเป็นโรคเกี่ยวกับปอด (วัณโรค ปอดบวม) มากกว่าคนทั่วไปถึง 2.9 เท่า และในผู้ที่ป่วยด้วยโรคปอด พบว่ามีสาเหตุการเกิดโรคมาจากแอลกอฮอล์ 13.5%

อาจารย์รัศมน บอกว่า สังคมควรพยายามเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distance) ไม่เอาตัวเองไปอยู่ในระยะเสี่ยง 2 เมตร รวมถึงรักษาสุขอนามัยด้านอื่น กินอาหารสุกสะอาด ใช้ภาชนะของตัวเอง ล้างมือสม่ำเสมอ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในสถานที่พลุกพล่าน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการปิดสถานบันเทิง จะมีส่วนช่วยลดโอกาสแพร่กระจายเชื้อ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่คนมารวมกลุ่มกัน หากไม่ป้องกันอย่างเต็มที่ อาจเกิดการแพร่เชื้อเป็นวงกว้างได้

ด้าน นพ.นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เสริมว่า “แอลกอฮอล์เมื่อดื่มเข้าไปจะไปทำลายตับ ซึ่งเป็นตัวสร้างเอนไซม์ โปรตีนต่าง ๆ ที่สามารถกำจัดเชื้อโรค หรือย่อยโปรตีนอื่นได้ ซึ่งไวรัสเองก็เป็นโปรตีน การดื่มแอลกอฮอล์จึงทำให้ร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันต่ำลง ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็เพิ่มขึ้น”

นพ.นิพนธ์ แนะว่า ประชาชนควรงดเดินทางไปสถานที่อโคจร ซึ่งอาจมีเครื่องปรับอากาศ ทำให้มีสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เย็น เหมาะกับการแพร่กระจายของเชื้อ ส่วนการตั้งวงดื่มกินกันหน้าบ้าน ไม่ได้ไปสถานบันเทิง ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย ต้องดู Social Distance เนื่องจากการมารวมตัวกันก็ไม่ต่างจากการไปผับบาร์อยู่ดี เพราะอาจมีการคุยกันเสียงดัง มีน้ำลายกระเด็น เกิดการจับแก้วแลกแก้ว สามารถติดเชื้อได้อยู่ดี

นอกจากนี้ นพ.นิพนธ์ ยังเสนอว่า ควรมีการสื่อสารแต่ข้อมูลที่ถูกต้อง งดการแชร์ข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิด เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ 5% เป้นจำนวน 14 ขวดไม่เท่ากับเจลล้างมือที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ 70% การที่เอาแอลกอฮอล์เข้าร่างกายจะกลับกลายเป็นการทำลายร่างกายแทน เพราะเซลล์ปกติในร่างกายจะถูกทำลาย

ขณะที่ ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ระบุว่า การสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่มวน หรือบุหรี่ไฟฟ้า ล้วนส่งผลต่อการหายใจของมนุษย์อยู่แล้ว

“ศจย.เราเตือนเรื่องการเลิกบุหรี่เพ่ือรักษาสขุภาพในระบบทางเดินหายใจ ลดความเส่ียง ต่อไวรัสโคโรนา ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2563 ว่า การสูบบุหรี่มวน และบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้ปอดไม่แข็งแรง รวมถึงการแบ่งกันเสพ บุหรี่มวนเดียวกัน หรือการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกัน อาจจะส่งผลต่อการติดเชื้อโควิด-19 ด้วย” ดร.วศินกล่าว

ดร.วศิน ยังยกวารสารการแพทย์จีนซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 63 ระบุว่า ในผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มที่อาการทรุดลงและถึงแก่ความตายนั้น มีสัดส่วน เป็นผู้สูบบุหรี่ มากกว่า ผู้ไม่สูบบุหรี่ ถึง 14 เท่า ดังนั้น การสูบบุหรี่เป็นความเสี่ยงสูงสุด ท่ีสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบรุนแรงรวมถึงการเสียชีวิตจากโควิด-19

นอกจากกรณีผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยที่ติดเชื้อผ่านการแชร์บุหรี่กันแล้ว ในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ระบาดอยู่นี้ อิหร่าน คูเวต ปากีสถาน กาตาร์ และซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีวัฒนธรรมการสูบบารากู่ (ยาสูบประเภทหนึ่ง) ร่วมกัน ได้สั่งห้ามบริการบารากู่ทั่วประเทศ

ดร.วศิน เสริมว่า หากไม่นับโควิด-19 โดยปกติ การแชร์บุหรี่ ก็เสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อ เช่น ไวรัสตับอักเสบ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งติดต่อกันทางน้ำลายได้อยู่ เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำอยู่แล้ว นอกจากนี้ ดร.วศินยังมองว่า ในสถานการณ์ที่โควิด-19 ระบาดรุนแรงนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนจะ “ละ ลด เลิก การสูบบุหรี่” เพื่อสุขภาพที่ดี

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ