เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ใช้มากส่งผลข้างเคียงหรือไม่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แพทย์ผิวหนังเผยเจลแอลกอฮอล์ใช้ได้มีผลแค่ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น   พร้อมเปิดข้อมูลแอลกอฮอล์แต่ละชนิด แบบไหนใช้ได้  แบบไหนไม่เหมาะใช้กับผิวหนัง

“ล้างมือบ่อยๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์” เป็นแนวทางหลักในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกเหนือจากการสวมหน้ากากอนามัยป้องกันสำหรับคนป่วย และการสวมหน้าผ้าสำหรับคนไม่ป่วยเมื่อต้องเข้าไปยังพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก แต่ปัญหา คือ หลายคนสงสัยว่า หากเราใช้เจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ จะมีผลต่อผิวหนังเราหรือไม่

คอนเทนต์แนะนำ
อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 19 มี.ค. 63

เจลแอลกอฮออล์ติดไฟได้ แต่ไม่ง่าย ต้องเลือกได้มาตรฐาน

อย.ชี้ตามกม. ผลิต “เจลล้างมือ” แอลกอฮอล์ต่ำกว่า 70% มีโทษปรับ 2 แสน

พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  กล่าวว่า แอลกอฮอล์ที่ใช้ได้กันจริงๆ เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล

ปกติจะไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง จะมีก็จะเป็นผลในแง่ของความชุ่มชื้นของผิวหนัง ทำให้ผิวแห้ง แต่ด้วยความจำเป็นก็ต้องใช้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค  แต่ปัจจุบันแอลกอฮออล์ล้างมือมีการพัฒนาเป็นรูปแบบเจล ซึ่งจะมีส่วนผสมที่ให้ความชุ่มชื้น ทำให้กระบวนการดึงน้ำของแอลกอฮอล์ที่สัมผัสกับผิวหนังช้าลงอย่างน้อย 20 วินาที โดยการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือควรนับ 1-20 ก็จะช่วยให้กระบวนการดึงน้ำได้ช้าลงและฆ่าเชื้อได้ทั่ว

สำหรับแอลกอฮอล์ที่มีการใช้ในปัจจุบัน จะเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1.แอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า  “ฟาร์มา เกรด” (Pharma Grade) หรือ  ฟู้ดเกรด เป็นแอลกอฮอล์กว่า 95% สามารถกินได้ที่องค์การค้าสุราเป็นผู้ผลิต  

2.  เป็นแอลกอฮอล์เกรดรองลงมา เป็นเอทิลเเอลกอฮอล์ 95% ใช้ในการผลิตเบียร์ เครื่องสำอาง หรือสเปรย์ต่างๆ ที่ฉีดพ่น  

3. เป็นแอลกอฮอล์ล้างแผล หรือไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol หรือ IPA)  เป็นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เป็นยาใช้ภายนอก จะมีกลิ่นฉุน มีการใส่สารแปลงอย่างพวกสารที่ทำให้เป็นสีฟ้า เพื่อให้แยกออกจากแอลกอฮอล์ที่เป็นฟาร์มาเกรด  โดยแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อสามารถใช้กับผิวหนังได้ แต่เมื่อใช้แล้วต้องระวังอย่าไปหยิบจับสิ่งของกิน เพราะเป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้ผลิตเพื่อวัตถุประสงค์เหมือน 2 ชนิดแรกข้างต้น

คอนเทนต์แนะนำ
อัปเดต สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 19 มี.ค.63
อัปเดตข่าว โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล ล่าสุด วันที่ 19 มี.ค. 63

กรมสรรพสามิต ให้สิทธิทางภาษีผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือป้องกันโควิด 19

อย่างไรก็ตาม สำหรับแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อนั้นต้องมีความเข้มข้นมากกว่า 70% จึงจะสามารถฆ่าเชื้อโรค เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือ  พ.ศ. 2562   และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัย สำหรับมือ ที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย พ.ศ.2563  ซึ่งกำหนดให้เจลล้างมือ ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เข้มข้นที่ 70% เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในการนำมาใช้ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19   

หากมีการผลิต จำหน่ายที่นอกเหนือกฎหมายจะมีโทษจำคุก และปรับ โดยผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ทั้งการผลิต และนำเข้า เจลแอลกอฮออล์ไม่ได้มาตรฐาน หรือ ต่ำกว่า 70% จะมีบทลงโทษฐานผิดกฎหมายเครื่องสำอาง  มีโทษจำคุก  2 ปี หรือปรับ 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนคนขายก็จะมีโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5 หมื่นบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแอลกอฮอล์ที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายจะเป็นแอลกอฮอล์ในรูปของเอทิลแอลกอฮอล์  ไม่ใช่เมทิลแอลกอฮอล์ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์ไม่สามารถทนำมาใช้จะเป็นอันตราย โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) เผยแพร่ข้อมูลข้อแตกต่างระหว่างเอทิลแอลกอฮอล์ และเมทิลเอลกอฮอล์

-เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) หรือ เอทานอล (Ethanol)   เป็นของเหลว ไม่มีสี ระเหยได้ ไวไฟสูง และละลายน้ำได้ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชผลทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด รับประทานได้ นิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสำหรับเช็ดทำความสะอาดแผล (แต่ห้ามรับประทานเพราะในน้ำยาล้างแผล จะใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน) ใช้ผลิตเครื่องสำอาง ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง  ส่วนผลข้างเคียง คือ หากเป็นสุรา ดื่มมากก่อให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบ

-เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) หรือ เมทานอล (methanol)  เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นทางปิโตรเคมี นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ     สำหรับผลข้างเคียง มีพิษมาก   สามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนังและลมหายใจ ผู้ที่สูดดมเข้าไปจะเกิดอาการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ หลอดคออักเสบ เยื่อบุตาระคายเคือง ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ หากหายใจเข้าไปมากๆ จะทำให้ปวดท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจถึงขั้นตาบอดได้ หากดื่มเข้าไป ทางเดินอาหารจะดูดซึมและกระจายเข้าสูกระแสเลือดทันที ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เห็นภาพไม่ชัด มีผลต่อประสาทตา และอาจทำให้ตาบอดได้ ที่สำคัญยังมีผลต่อระบบหายใจ ทำให้ไตอักเสบ กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ และอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต

อาการโควิด-19 ป่วยแบบไหน เสี่ยงระดับใดต้องรีบไปโรงพยาบาล

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ