ปล่อยกู้ดอกเบี้ยพิเศษ ช่วยลูกจ้างรายวัน ที่ต้องหยุดงาน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รัฐบาล ขอให้ประชาชนรออีก 2 วัน เพราะในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารนี้ จะทำการหารือถึงมาตรการเยียวยาผลกระทบให้ประชาชน พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดกิจการชั่วคราว ซึ่งจะมีมาตรการออกมาทันที เบื้องต้น จะมีเงินกู้รายย่อยคนละ 1 หมื่น ดอกเบี้ยเดือนละ 10 บาท

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 22มี.ค. 63

จากความตื่นตระหนกของประชาชนหลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลังจากมีการปิดหลายพื้นที่สำคัญ ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และบางจังหวัด จนส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย และการจับจ่ายของประชาชนเป็นอย่างมาก จนหลายฝ่ายถามถึงมาตรการดูแลช่วยเหลือจากรัฐบาล

ล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ชี้แจงว่า ในช่วงวันอังคารที่ 24 มีนาคมที่จะถึงนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี จะมีการหารือถึงมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ที่จะมีผลออกมาทันที โดยจะเสนอมาตรการชุดที่ 2 เพื่อดูแลภาคประชาชน เยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาการแพร่ระบาด ซึ่งทาง คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะทำการหารือกับอย่างใกล้ชิด รวบรวมปัญหามาเพื่อออกมาตรการ และจะมีมาตรการชุดต่อๆไปออกมาอีก ขอให้ประชาชนวางใจ

ทั้งนี้ มาตรการที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอ ครม.เป็นมาตรการที่จะเข้าไปดูแลลูกจ้างที่กระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และลูกจ้างในกิจการที่รัฐประกาศให้หยุดกิจการชั่วคราว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านนวด เป็นต้น โดยจะมีมาตรการทั้งด้านการเงิน และมาตรการเติมสภาพคล่องให้กลุ่มลูกจ้างดังกล่าวสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

โดยหนึ่งในมาตรการนั้น นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ยอมรับว่า จะนำเสนอมาตรการสินเชื่อส่วนบุคคลคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.1% ที่ปล่อยสินเชื่อผ่านธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แบงก์ละ 2 หมื่นล้านบาท เป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 4 หมื่นล้านบาท เพื่อเข้าไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มที่เป็นลูกจ้างรายวันที่ต้องหยุดงาน หรือถูกกักตัวจากการสั่งปิดสถานที่ต่างๆ ให้มีรายได้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปก่อน ซึ่งจะปล่อยกู้ให้รายละไม่เกิน 1 หมื่นบาท หากเฉลี่ยแล้ว ถือว่าผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพียงเดือนละ 10 บาท โดยคาดว่าจะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้กว่า 4 ล้านคน เชื่อว่าจะสามารถเข้าไปบรรเทาผลกระทบและไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน

เตือนรัฐ ต้องมีมาตรการช่วย ลูกจ้างรายวัน-ผู้ค้ารายย่อย

ด้านนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าระบบสถาบันการเงินไทยยังมีเสถียรภาพ มีสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง จึงเป็นคนละเรื่องกับวิกฤตปี 40 แต่เนื่องจากมีผลกระทบไปทั่วโลกจึงทำให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูง ราคาสินทรัพย์อาจจะผันผวนสูง สะท้อนถึงกลไกตลาดที่ไม่สอดคล้องกับภาวะปกติ ซึ่ง ธปท.ได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลกว่า 100,000 ล้านบาทในช่วงวันที่ 13 -20 มีนาคม 2563 ลดและยกเลิกการออกพันธบัตร รวมถึงได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.75% ต่อปี ซึ่งล่าสุดยังได้มีการออกมาตรการเพิ่มเติมอีก 3 มาตรการในการดูแลเสถียรภาพด้านการเงิน จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกหรือเร่งไปไถ่ถอนหน่วยลงทุนกองทุนรวมตราสารหนี้ ในภาวะที่ตลาดการเงินไม่ปกติ เพราะอาจส่งผลให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 188 ราย ยอดสะสม 599 ราย

ล่าสุด กระทรวงการคลัง ธปท. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ออกมาตรการดูแลเสถียรภาพตลาดการเงินไทย 3 ด้าน ประกอบด้วย ธปท.จัดตั้งกลไกพิเศษ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนรวมผ่านธนาคารพาณิชย์ ตราสารหนี้ภาคเอกชน สมาคมธนาคารไทย ธนาคารออมสิน ธุรกิจประกันภัย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ร่วมกันจัดตั้งกองทุนเสริมสภาพคล่องเพื่อลดความเสี่ยงของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ วงเงินเริ่มต้น 70,000 – 100,000 ล้านบาท และ ตราสารหนี้ภาครัฐ ธปท. เข้าดูแลกลไกตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก จะยังคงเปิดดำเนินงานและให้บริการที่สาขาของธนาคารที่อยู่ภายในห้างสรรพสินค้าและในพื้นที่อื่นตามปกติ ทั้งนี้ การเปิดให้บริการของสาขาธนาคาร จะเป็นไปตามประกาศของทางการ นโยบายและแนวทางปฏิบัติของห้างสรรพสินค้าและพื้นที่อื่นๆ ตามที่กำหนด

“อนุทิน” ชี้ สธ.ไม่มีอำนาจประกาศเคอร์ฟิว

 

 

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ