แบบจำลองคณิตศาสตร์การระบาด ‘โควิด-19’  ประเทศไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เปิดเผยแบบจำลองการระบาด ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย  หากล็อกดาวน์จะลดผู้ป่วยติดเชื้อเหลือ 24,269 ราย หากไม่ทำพุ่งถึง 351,948 ราย ใน 30 วัน

หลังจากรัฐบาลออกมาตรการต่างๆ เพื่อหยุดยั้งการระบาดของไวรัสโควิด-19  โดยเฉพาะการสั่งปิดสถานบันเทิง สนามมวย สนามม้า และสถานที่อื่นๆที่สุ่มเสี่ยงเกิดโรคระบาด เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของผู้คนจำนวนมาก (ยกเว้นร้านอาหารที่สั่งแล้วนำกลับบ้าน) ขณะเดียวกันขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลักในการแพร่เชื้อออกนอกพื้นที่ แต่ปรากฎว่ายังมีคนจำนวนมากเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานต่างด้าว หรือแม้แต่คนไทย

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 23 มี.ค.63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 23 มี.ค. 63

จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับมาตรการที่ภาครัฐออกมานั้นจะตอบโจทย์ แก้ปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน เพราะล่าสุดมีการเผยแพร่ผลการคาดการณ์การระบาดโรคไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประเมินสถานการณ์หากเกิดการระบาดเข้าระยะที่ 3

การคาดการณ์การระบาดในระยะที่ 3 ใช้เทคนิค compartmental model ซึ่งมีการใช้เทคนิคนี้ในการ คาดการณ์การระบาดจากหลายสถาบันทั้งในประเทศจีน แคนาดา ฮังการี สวีเดน และ WHO โดยพิจารณาจากปัจจัย ต่อไปนี้  - ความสามารถในการแพร่เชื้อจากผู้ติดเชื้อไปสู่คนอื่นๆ (R0)  - ความมีฤดูกาลของโรค - สัดส่วนของผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการ (ร้อยละ 45 อ้างอิงจากข้อมูล เรือไดมอนด์พรินเซส) โดยมีสมมติฐาน คือ หากการระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากจะระบาดแบบระลอกเดียวจบ แต่หากการ ระบาดชะลอลงได้ในระดับหนึ่งจะเห็นแนวโน้มการเกิดโรคเป็นฤดูกาล ผลการคาดการณ์ แสดงได้ใน 3 ฉากทัศน์ ดังนี้

ผู้ว่าฯ สุรินทร์โพสต์ “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”

สธ.ขอประชาชน ตาม 4 กลุ่มนี้ เข้าพบเจ้าหน้าที่ เพราะถือว่าเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

1.สถานการณ์ที่การควบคุมโรคไม่มีประสิทธิภาพ (รุนแรงที่สุด)  คือ หากปล่อยให้การระบาด เป็นไปโดยธรรมชาติของโรค มีความพยายามที่จะชะลอการระบาดบ้างแต่ไม่มากนักหรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ ผู้ติดเชื้อ 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น ได้อีก 2.2 คน

การระบาดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยมีจำนวน ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกสัปดาห์ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป จนพบผู้ป่วยต่อสัปดาห์สูงสุดในเดือนสิงหาคม จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้เพียง 1ต่อ 2.2  คน   รวม จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ 16.7 ล้านคนใน 1 ปี  อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้น่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น ในประเทศไทย เนื่องจากการดำเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยสามารถลด จำนวนผู้ป่วยลงกว่าที่คาดการณ์ได้ 3 – 4 เท่าแล้ว 

2.สถานการณ์ที่สามารถชะลอการระบาดได้พอสมควร หากมาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการมีความร่วมมือที่ดีจากภาคประชาชน ทำให้ประเทศไทยสามารถชะลอการแพร่ระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้เพียง 1 ต่อ 1.8 คน  รวม จำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ 9.9  ล้านคนใน 2 ปี  

3. สถานการณ์ที่สามารถควบคุมโรคได้ดี จนทำให้ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้เพียง 1.6 คน  รวมจำนวนผู้ป่วยรวมทั้งสิ้นประมาณ  4 แสนคนใน 2 ปี  เกิดการระบาดตามฤดูกาลในแต่ละปี และกลายเป็นโรคประจ าถิ่นคล้ายกับไข้หวัดใหญ่   

 การคาดการณ์นี้ เป็นเพียงการคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ บนพื้นฐานของข้อมูลธรรมชาติของ โรคและระบาดวิทยาที่มีในปัจจุบัน ยังไม่ได้พิจารณาปัจจัยการป้องกันควบคุมโรคและการรักษา เช่น การงดการจัด กิจกรรมรวมคนจำนวนมาก การใช้ยา  ซึ่งยังต้องรอข้อมูลประสิทธิผลของการรักษา และวัคซีนซึ่งอาจมีขึ้นในอนาคต   

เทียบกราฟอัตราการติดเชื้อในไทยกับต่างประเทศ

แต่หากมีมาตรการควบคุมต่างๆ โดยเฉพาะการปิดเมือง หรือการล็อกดาวน์ทันที ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยได้ โดยข้อมูลจากการประชุมด่วนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานหารือกับ คณบดีคณะแพทยศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข

ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นพ.ปิยสกล สกลสัตยาธร อดีตรมว.สาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา เป็นต้น

ทั้งนี้ กลุ่มคณะแพทย์ ได้มีการนำเสนอแนวทางการป้องกันการระบาดโรค ภายใต้ชื่อว่า "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" ให้ พล.อ.ประยุทธ์ รับทราบ โดยระบุว่า

ถ้าหากดำเนินมาตรการแบบเดิม ไปอีก 30 วัน คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วย จะสูงถึง 351,948 ราย นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 52,792 ราย อยู่ไอซียู 17,597 ราย เสียชีวิต 7,039 ราย แต่ถ้าหากใช้มาตรการ ล็อกดาวน์ ให้ประชาชนอยู่ในบ้าน ตัวเลขคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยจะอยู่แค่ 24,269 ราย นอนโรงพยาบาล 3,640 ราย ไอซียู 1,213 ราย ตาย 485 ราย

ปัญหาคือ มาตรการที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ได้มีการล็อกดาวน์มากน้อยแค่ไหน มีการเยียวยาที่ครบทุกมิติหรือไม่ เรื่องนี้ยังต้องจับตามอง

กทม.ออกประกาศล่าสุดฉบับที่ 4 ขอความร่วมมือ "อย่าออกนอกพื้นที่กรุงเทพฯ"

ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คอนเทนต์แนะนำ
อัปเดตข่าว โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล ล่าสุด วันที่ 23 มี.ค. 63

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ