เปิดความจำเป็นห้ามเดินทาง เหตุลูกหลานตัวนำเชื้อโควิด-19 แพร่พ่อแม่-ผู้สูงวัย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เผยความจำเป็นต้องจำกัดการเดินทาง หากแห่ออกพื้นที่กรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนา ไม่ระวังย่อมเสี่ยงกระจายเชื้อโควิด-19  ติดตามได้ในรายการเป็นเรื่องเป็นข่าววันนี้ (23 มี.ค.)

กลายเป็นข้อกังวลทันที หลังมีมาตรการปิดสถานที่ต่างๆในกรุงเทพ และปริมณฑล รวมไปถึงจังหวัดต่างๆที่มีความพร้อม แต่ที่เป็นปัญหาและเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์คือ ปรากฎว่าทันทีมีมาตรการดังกล่าวก็มีประชาชนกลุ่มหนึ่งเดินทางออกนอกพื้นที่กรุงเทพฯ จนต้องออกมาเตือนว่า การเดินทางจะส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อในบุคคลที่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ เพราะข้อมูลพบว่า คนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นวัยทำงาน วัยหนุ่มสาวติดเชื้อไม่แสดงอาการ แต่จะไปแพร่เชื้อยังครอบครัว ผู้สูงอายุ

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 23 มี.ค.63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 23 มี.ค. 63

รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว วันนี้ (23 มี.ค.) เกาะติดโควิด-19  ได้พูดคุยกับ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ถึงประเด็นคนเดินทางกลับภูมิลำเนา สถานการณ์แบบนี้ มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อหรือไม่

นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า น่าเป็นห่วง เพราะการที่ออกนโยบายดังกล่าวเพื่อจำกัดการเดินทาง ให้มีระยะห่าง เนื่องจากการติดต่อโรคมาจากการไอ จาม การใกล้ชิดกัน ซึ่งมีความเสี่ยงติดละอองฝอยจากน้ำลาย น้ำมูก และขณะนี้ยังมีตัวเลขที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่า มี 3 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.สิ่งแวดล้อม ยิ่งฝน ยิ่งอุณหภูมิเย็น ไวรัสยิ่งชอบ  2. พฤติกรรมส่วนบุคคล มีวินัยหรือไม่ อย่างต่างประเทศ ญี่ปุ่นจะมีวินัยมาก และ3. ระบบรองรับ ทั้งสาธารณสุข หรือระบบอื่นๆ

สธ.พบติด “โควิด-19” เพิ่ม 122 ราย รวมสะสม 721 ราย

นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า ต้องเรียนว่าในนามระบบสาธารณสุขถือว่าอยู่ในระบบนำของโลก แต่เราก็ไม่ประมาท อย่างมีคนติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 100 คน จะมี 80 คนอาการสบายๆ อาการน้อยมาก หรือไม่มีอาการ และหายเองได้  ส่วนอีก  20 คน จะมีประมาณ 10 กว่าคนที่อาการปานกลาง ต้องเข้ารพ. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยจะมี 5 คนในจำนวนนี้อาการหนักรุนแรง ดังนั้น หากเราดึงกราฟคนป่วยลงไม่ได้ หากมีผู้ติดเชื้อ 1 ล้านคน เวลาใกล้ๆกันจะมีคนอาการหนัก 50,000 คน  แต่หากปกติมี 10,000 คนก็จะมี 50 คนหรือ 500 คนไม่เกินนี้ที่อาการหนัก ซึ่ง รพ.รับไหว คนไข้หนักแบบนี้จะไม่เสียชีวิต แต่บางประเทศที่ติดเชื้อเป็นล้านๆคน จะมีคนไข้หนักเยอะมาก ซึ่งหากระบบรับไม่ไหวก็จะเกิดปัญหา ดังนั้น สิ่งสำคัญต้องขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชน ในเรื่องพฤติกรรม หากเรามีวินัยช่วยกันดูแลป้องกันตัวเองก็จะลดจำนวนคนป่วยได้

“สิ่งสำคัญวันนี้ไม่ใช่แค่ระบบสาธารณสุข แต่ต้องมีในเรื่องระบบอื่นๆด้วย ทั้งระเบียบวินัย เรื่องนี้มีปัญหา เพราะพูดให้เข้าใจก็ไม่ปฏิบัติตาม เช่น หากมีคนป่วยเป็นหวัดธรรม อย่างปกติมีคนเป็นหวัด 100,000 คนต่อวัน หากปฏิบัติตัวดีๆ สวมหน้ากากอนามัย อยู่บ้าน ก็จะมีคนป่วยเป็นไข้หวัดแค่ 10,000 คน แต่ความเป็นจริงคนป่วยไม่ยอมสวมหน้ากาก คนไม่ป่วยกลับใส่ป้องกันเอง จริงๆ มาตรการที่ออกมาไม่ได้ออกแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เรามีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันเยอะมาก แต่ปัญหาคือ ตอนนี้มีข่าวปลอมก็เยอะก็ทำให้ขาดความเชื่อมั่น” นพ.รุ่งเรือง กล่าว

คอนเทนต์แนะนำ
ผู้ว่าฯ สุรินทร์โพสต์ “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา”

  

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ