รองโฆษกฯ ย้ำใช้ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”  26 มี.ค.  ห้ามผู้สูงอายุออกจากบ้าน แต่ยังไม่เคอร์ฟิว!!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รองโฆษกสำนักนายกฯ ย้ำ 26 มี.ค.ใช้พ.รก.ฉุกเฉิน ไม่กระทบการดำเนินชีวิต เพราะเน้นขอความร่วมมือ ยังไม่เคอร์ฟิว แต่หากคุมไม่อยู่พร้อมใช้ยาแรงทุกเมื่อ ลั่น "คนสูงวัย เด็ก ผู้ป่วย"ห้ามออกจากบ้าน

หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มีอำนาจในการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน(พ.ร.ก.บริหารราชการฉุกเฉิน)  วันที่ 26 มี.ค.2563 เกิดคำถามว่า หากมีประกาศแล้วจะมีมาตรการ หรืออะไรที่ห้ามทำ หรือให้ทำบ้าง

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 24 มี.ค.63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 24 มี.ค. 63

วันนี้(24 มี.ค.) รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว วิเคราะห์ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” สู้! โควิด-19  ว่า หากประกาศใช้ 26 มี.ค.2563 แล้ว จะต้องเตรียมต้องอย่างไร

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฟนอินผ่านรายงานว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังไม่มีเคอร์ฟิว ยังไม่ปิดประเทศ ไม่ปิดกรุงเทพ ไม่ปิดจังหวัด ไม่ปิดบ้าน แต่ขอความร่วมมืออย่าออกนอกพื้นที่ อย่างหากจะเดินทางออกก็จะมีมาตรการในการควบคุม โดยเบื้องต้น 26 มี.ค. ยังไม่มีเคอร์ฟิวแน่ๆ แต่จะเป็นระยะแรก โดยจะย้ำขอความร่วมมือไม่ให้เข้าพื้นที่เสี่ยง ก็ดูว่ามีพื้นที่ไหนเสี่ยงในกทม. หรือในต่างจังหวัด

“บิ๊กตู่” เตรียมใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ 26 มี.ค.  คุมเชื้อระบาด โควิด-19

เริ่มพรุ่งนี้ !! ขึ้นรถไฟ-รถไฟฟ้า ต้องสวมหน้ากากอนามัย

“การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นการยกระดับว่า ปัญหาเป็นเรื่องฉุกเฉิน และให้อำนาจนายกฯ เป็นผู้สั่งการคนเดียวเท่านั้น โดยจะมีอำนาจว่า จะปิดประเทศ หรือปิดเมืองหรือไม่ เรียกว่าเป็นกฎหมายแม่นั่นเอง ส่วนประชาชนนั้น ขอความร่วมมืออย่ากักตุนสินค้า และหากมีประกาศออกมาก็จะไม่ให้กักตุนสินค้า เข้มงวดการนำเสนอข่าว อย่านำเสนอเฟคนิวส์ หากทำเรามีอำนาจในการจับกุม สำหรับประชาชนขอให้ความร่วมมือกับรัฐบาล อย่าหลั่งไหลออกไปต่างจังหวัด และอย่าออกไปชุมนุมในที่สาธารณะ เหมือนตามข่าวมีการไปกินดื่มในชายหาด และเราขอความร่วมมือให้มีการทำงานที่บ้าน ซึ่งหากสถานการณ์ควบคุมได้ก็ไม่ต้องออกมาตรการเข้ม แต่หากควบคุมไม่ได้ก็อาจต้องเคอร์ฟิว” รองโฆษกฯ กล่าว

ไตรศุลี กล่าวว่า การจะออกประกาศ 26 มี.ค. ก็ไม่ได้ห้ามเดินทาง แต่ขอความร่วมมือ แต่หากเดินทางก็ต้องดูแลตัวเองปฏิบัติตามคำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข โดยกลับแล้วก็ต้องกักตัว ซึ่งเราจะมีเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ แต่ยังไม่มีบทลงโทษ นอกจากนี้ จะมีมาตรการสำหรับบุคคลบางประเภท เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก กลุ่มเสี่ยง อย่างผู้ป่วยมีโรคเกี่ยวกับปอด จะห้ามออกจากบ้านทันที ยกเว้นต้องไปรพ. หรือเหตุจำเป็น แต่จะมีโทษหรือไม่ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน อยากให้รอฟังประกาศทางการวันที่ 26 มี.ค. อันนี้เป็นมาตรการบุคคลบางประเภท ทั้งนี้ จากการพิจารณาผู้ติดเชื้อทั้งหมดพิจารณาแล้วว่ายังไม่จำเป็นต้องเคอร์ฟิว

“อะไรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตยังทำได้อยู่ ทางอาชีพส่งอาหาร หรือแม้แต่คนไทยจะเข้าประเทศไทยก็ยังทำได้อยู่ เพียงแต่เราเน้นขอความร่วมมือประชาชน เราไม่อยากเห็นผู้ติดเชื้อมากขึ้น ไม่เช่นนั้นมาตรการยาแรงก็จะออกมา อย่างไรก็ตาม พ.ร.ก.นี้น่าจะใช้ประมาณ 1 เดือน แต่ตามกฎหมายทำได้ไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งนายกฯ สามารถประกาศเพิ่มเติมได้ และสามารถประกาศเคอร์ฟิวได้ตลอด โดยต้องจับตาแบบวันต่อวัน โดยจะมีศูนย์อำนวยการฉุกเฉินโควิด-19 หรือ ศอส. โควิด-19” รองโฆษกฯ กล่าว และว่า ทั้งนี้ หากมีเคอร์ฟิวก็จะมีการกำหนดเวลา แต่รายละเอียดยังไม่มี เพราะยังไม่ถึงตรงนั้น

ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ลูกจ้างทุกคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบ เราก็จะให้คนละ 5,000 บาท ทั้งพ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์ คนที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้หมด โดยละเอียดจะเป็นกระทรวงการคลังดูรายละเอียด

รวมมาตรการช่วยผู้มีรายได้น้อย กระทบ โควิด-19 หนึ่งในนั้น มีแจก 5,000 บาท

เปิดเนื้อหาสาระสำคัญ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุมแพร่ระบาด โควิด-19

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ภานุวัฒน์ ชุติวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ทางการแพทย์หากเป็นศพติดเชื้อก็ต้องมีการบริหารจัดการในเรื่องของศพที่มีความเฉพาะเหมาะสม ดังนั้น ในส่วนของพิธีกรรมทางศาสนาคงเลี่ยงไม่ได้ เพราะแนวทางไม่ชัดเจน  ส่วนโควิด-19 เป็นเชื้อใหม่ ข้อมูลทางการแพทย์ยังไม่ชัดว่าจะอยู่ในศพนานแค่ไหน แต่การบริหารจัดการก็จะทำในลักษณะศพติดเชื้อที่ควรต้องทำ และในกลุ่มนี้โดยปกติจะมีทีมจัดการโดยเฉพาะ เป็นกลุ่มที่ได้รับการอบรมมาหมด

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ