จุฬาฯชี้หากล็อกดาวน์ทั้งประเทศ เชื่อหยุดโรคได้ใน 6-9 เดือน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยรัฐบาลใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ช้าเกินไป คาดหยุดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ภายใน 6- 9 เดือน

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 25 มี.ค. 63

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 25 มี.ค.63

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ ป้องกันและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านรายการโชว์ข่าวเช้านี้ ช่อง 36 ระบุถึงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 หลังมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ว่า โรคโควิด-19 ที่กำลังระบาดค่อนข้างรุนแรงไปทั่วโลก มีประเทศ 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ควบคุมไม่ได้ เช่น จีน อิตาลี อิหร่าน ที่มีการเสียชีวิตจำนวนมาก และอีกกลุ่มที่ระบาดน้อย เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ซึ่งประเทศไทย มีการะระบาดมานาน 2 เดือน และมีแนวโน้มว่าจะเหมือนประเทศกลุ่มแรกที่มีการระบาดหนัก จึงทำให้รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากปล่อยไว้แ ละยังคงมาตรการเดิมแบบที่ผ่านมา จะไม่สามารถหยุดการระบาด

โดยในมุมมองของการแพทย์ต้องตัดวงจรการระบาดตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์ คือ 1 เดือน ไม่สามารถจะทำแบบเดิมได้ เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน หากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านตอนนี้ ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ใครจะติดเชื้อบ้าง และประเทศไทยประชากรเยอะ เพราะฉะนั้นมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการระบาดที่กว้างขวางและรวดเร็วในปัจจุบันที่รัฐบาลจะต้องทำ คือ มาตรการแรกป้องกันไม่ให้คนติดเชื้อข้างนอกประเทศเข้ามาเพิ่มเติม และคนติดเชื้อในประเทศต้องป้องกันไม่ให้ออกนอกประเทศ ส่วนมาตรการที่สอง รัฐบาลต้องให้ทุกคนอยู่กับบ้าน เพื่อลดโอกาสที่ผู้คนจะออกไปพบปะกับคนอื่น ๆ และแพร่เชื้ออีก

“บิ๊กตู่” เตรียมใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ 26 มี.ค.  คุมเชื้อระบาด โควิด-19

เปิดเนื้อหาสาระสำคัญ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุมแพร่ระบาด โควิด-19

รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า ถึงเวลาที่ต้องกระตุ้นทำให้ทุกคนเห็นว่าการะบาดรุนแรงจริง ๆ จะใช้ชีวิตอิสระแบบเดิมไม่ได้ แม้กลางวันแม้รัฐบาลจะให้ออกจากบ้านได้ แต่โอกาสติดเชื้อยังมีสูง เพราะฉะนั้นจึงต้องระมัดระวังออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น ออกไปในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และออกไปสถานที่ที่จำเป็น เช่น ที่ทำงาน แล้วรีบกลับบ้าน ส่วนใครทำงานที่บ้านได้ ก็ให้ทำที่บ้าน ถ้าออกไปข้างนอกแล้วเจอคนจำนวนมาก ก็ให้รักษาระยะห่างระหว่างกันไกล ๆ ใส่หน้ากากอนามัย ไม่เอามือไปจับหน้ากาก เพราะมีโอกาสปนเปื้อน ล้างมือเสมอด้วยแอลกอฮอล์ หรือล้างน้ำธรรมดานานไม่ต่ำกว่า 20 วินาที

ทั้งนี้แม้ว่าในกรุงเทพมหานครจะมีการติดเชื้อกว่าที่อื่น แต่ที่อื่นแนวโน้มก็กระจายไปทั่วประเทศแล้ว เพราะฉะนั้นในเวลานี้หลายประเทศนิยมใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ และลดการออกนอกพื้นที่ ซึ่งเราต้องช่วยกัน เพราะเป็นหน้าที่ต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัว รวมทั้งคนอื่น ๆ ในสังคม

“ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เราตัดสินใจทำทั้งประเทศ ตอนนี้เรามีช่วงเวลาทองของเราอยู่ ถามว่าตอนนี่เราเลยช่วงเวลาทองของเราไปแล้วหรือยัง จริงๆ เราควรจะตัดสินใจเมื่อ สักอาทิตย์ที่แล้ว แต่ว่า ณ ปัจจุบันก็ไม่ได้ช้าเกินไป ตัวเลขตัดที่ผมคิดว่า ดูได้คร่าว ๆ คือ ถ้าเราตัดสินใจทำกันทั้งประเทศพร้อมเพรียงกัน ก่อนเคสจะไปสะสมเกินพันเคส น่าจะยังพอมีหวังที่จะฉุดการเพิ่มของการติดเชื้อได้ และเราอาจจะสามารถหยุดตัวของโรคระบาดครั้งนี้ได้สัก 6 – 9 เดือน” รศ.นพ.ธีระ กล่าว

นครศรีฯ พบด.ญ.วัย 11 ปีติดเชื้อโควิด-19

กองทัพบก เตรียมใช้มาตรการสูงสุด สกัดโควิด-19

เลื่อนออกหวย 1 เม.ย.63ไปเป็น 2 พ.ค. 63 หนีเชื้อระบาดโควิด-19

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ