ผู้ประกันตน ‘ม.39- ม.40’ เข้าข่ายรับเงินเยียวยา ‘โควิด-19’  5,000 บ.


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สำนักงานประกันสังคมย้ำชัด! ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบม.39-ม.40 ถือเป็นแรงงานนอกระบบเข้าข่ายรับเงินเยียวยาผลกระทบโควิด-19 จากรัฐบาล “5,000 บาท”

วันที่ 25 มี.ค. 2563 ที่ศูนย์แถลงข่าวทำเนียบรัฐบาล ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง แถลงข่าว  มาตรการเยียวยาลูกจ้างผู้ประกันตน ว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน แต่ไม่เกิน 180 วัน กรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการชั่วคราว และลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้าง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 60 วัน ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม - 31 สิงหาคม 2563

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 25 มี.ค.63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 25 มี.ค. 63

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน  เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.)  กล่าวว่า กรณีเจ็บป่วยเป็นโควิด - 19สามารถรักษาฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ การลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนในส่วนของนายจ้าง จากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน  เหลือร้อยละ 4 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนจากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือร้อยละ 1 เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2563

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน

 “สำหรับผู้ประกันตนตามม.39 และม.40  นั้น เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ สามารถยื่นคำขอรับเงินทดแทนเยียวยาจากเหตุโควิด-19 จากกระทรวงการคลังจำนวน 5,000 บาทได้ โดยติดต่อที่ธนาคารและลงทะเบียน ซึ่งก็จะมีการตรวจสอบรายชื่อว่าอยู่ในข่ายผู้ประกันตนตามม.39 และม.40 หรือไม่ หากเข้าข่ายก็รับได้ โดยสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์    www.เราไม่ทิ้งกัน.com”  นายทศพล กล่าว

สธ.พบติดโควิด-19 เพิ่ม 107 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 934 ราย รวมหมอติดเชื้อ 2 ราย

  เริ่มแล้ว! ลงทะเบียนรับเงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงกรณีแรงงานนอกระบบจะมีการช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร  ว่า กรณีสถานประกอบการหยุดกิจการชั่วคราวนั้น ในข้อกฎหมายมีเหตุจำเป็นหยุดได้ แต่การจ่ายเงินให้กับลูกจ้างนั้น อาจจ่ายได้ไม่เต็มจำนวน แต่จ่ายได้ร้อยละ 75 ของลูกจ้างที่ทำงานอยู่ ดังนั้น ในส่วนนี้จึงเป็นความจำเป็นจนทำให้นายจ้างประกอบกิจการต่อไปได้ก็สามารถใช้สิทธิได้ ในขณะเดียวกันแต่ก็ทำให้ลูกจ้างเดือดร้อน ในข้อกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ให้ลูกจ้างรับสิทธิ์รับค่าจ้างร้อยละ 75 ของค่าจ้างอยู่

เลื่อนออกหวย 1 เม.ย.63ไปเป็น 2 พ.ค. 63 หนีเชื้อระบาดโควิด-19

นครศรีฯ พบด.ญ.วัย 11 ปีติดเชื้อโควิด-19

กองทัพบก เตรียมใช้มาตรการสูงสุด สกัดโควิด-19

บขส.หยุดเดินรถเส้นทางระหว่างประเทศ 15 เส้นทาง

คอนเทนต์แนะนำ
อัปเดตข่าว โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล ล่าสุด วันที่ 25 มี.ค. 63

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ