เปิด ‘ 3 ปัจจัย’ พิจารณาถึงขั้น “เคอร์ฟิว”  คุมเข้มการระบาดโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รายการเป็นเรื่องเป็นข่าววันนี้(26 มี.ค.) เปิดข้อมูลปัจจัยอะไรที่รัฐบาลจะประกาศเคอร์ฟิว คุมเข้มการระบาด หลังล่าสุดผู้ติดเชื้อยังพุ่งต่อเนื่องทะลุพันราย

วันนี้ (26 มี.ค.) เป็นวันแรกที่มีการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .ศ.2548 ฉบับที่ 1และเป็นวันแรกที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยทะลุพันราย โดยรวมสะสม 1,045 ราย อย่างไรก็ตาม หลายคนยังกังวลว่า ข้อปฏิบัติตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะมีการยกระดับมากกว่านี้ หรือจะมีการประกาศเคอร์ฟิวหรือไม่

รวมมาตรการ-บทลงโทษ จากหลายประเทศ กันไม่ให้คนออกจากบ้าน

“โฆษกสตช.” เผย เตรียมเพิ่มอีก 5 จุด คัดกรองโควิด-19 รอบกรุงเทพฯ

วันนี้(26 มี.ค.63) รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว เชิญ รศ.ปณิธาน วัฒนายากร ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง  มาให้ข้อมูล ในประเด็น “เปิดแผน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สู้ โควิด-19”

รศ.ปณิธาน กล่าวว่า  ฝ่ายความมั่นคงกำลังประเมินการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า เป็นอย่างไรในรอบวัน เบื้องต้นเรียบร้อยดี ซึ่งประชาชนร่วมมือดี โดยจะมีการประเมินอีกครั้งว่า หากได้รับความร่วมมือดีจะมีการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดอะไรเพิ่มเติมหรือไม่อีกครั้ง  สำหรับแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นั้น ในจุดตรวจต่างๆ ก็จะเป็นลักษณะไม่ให้เข้าพื้นที่เสี่ยง การตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจวัดไข้ และมีการถามคำถามมากขึ้น ฯลฯ

“เป้าหมายรัฐบาลต้องการให้ประชาชนไม่ควรเดินทาง หรือเดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ  ทั้งนี้ หลายประเทศจะเข้มงวดมาก  อินเดียปิดประเทศเต็มรูปแบบ ห้ามออกจากเคหะสถานเลยในช่วงเวลากำหนด ส่วนนิวซีแลนด์ใช้ทหารควบคุมพื้นที่ ยกระดับ 4 ปิดประเทศ 4 สัปดาห์ ขณะที่อียิปต์ไม่ให้ใช้รถส่วนบุคคล รถสาธารณะ สำหรับประเทศไทย หากตึงตัวแรกๆ ก็จะมีความเครียดสูงขึ้น แม้เราจะยังไม่วิกฤตหนักแต่ก็คับขันแล้ว” รศ.ปณิธาน กล่าว และว่า อย่างวัยทำงานก็ยากจะปรับเปลี่ยน เพราะยังต้องทำงาน ก็อาจใช้วิธีปรับทำงานครึ่งหนึ่ง สลับเวรกันทำ หรือบริษัทใหญ่ๆ ให้เจ้าหน้าที่เข้าออฟฟิสสัปดาห์ละ 1 วัน

ส่วนการพิจารณาว่าจะมีเคอร์ฟิวหรือไม่นั้น  

รศ.ปณิธาน ตอบว่า  หลายปัจจัย คร่าวๆ 1.อัตราการแพร่ขยายของเชื้อ 2.การตอบรับของประชาชน หากประชาชนร่วมมือดีก็จะช่วยได้มาก  3.การสนับสนุนทั้งการส่งเสบียง การส่งยา การดูแลคนที่อยู่ตามลำพังดีหรือไม่  3.ปัจจัยต้องประกอบกัน รวมทั้งการควบคุมชายแดน ซึ่งตอนนี้ควบคุมดี แต่ยังเข้าได้ เพียงแต่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งขณะนี้พรมแดนปิดหมดแล้ว ดังนั้น การจะไปสู่เคอร์ฟิว ก็อาจต้องมีผู้ติดเชื้อหลายพันคน แต่ในสัปดาห์หน้าอาจต้องพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

หากเคอร์ฟิวจะคุมเข้ม 24 ชั่วโมงหรือไม่

รศ.ปณิธาน กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ไทยอาจต้องดูกิจกรรมในการทำงาน แต่ก็ยังมีหลายกลุ่มต้องทำงานอยู่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ การสื่อสาร โทรคมนาคมขนส่ง  คนผลิตหน้ากาก ฯลฯ คนเหล่านี้อาจไม่มีเคอร์ฟิว

 

“พื้นที่ที่น่าเป็นห่วง  ก็กรุงเทพมหานคร เพราะเป็นพื้นที่ที่พบการติดเชื้อมากที่สุด พื้นที่ภาคใต้ก็ควบคุมอยู่ และอีกหลายจังหวัด ซึ่งตอนนี้เราควบคุมในเมืองใหญ่ๆเป็นหลัก โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนบขส.ขณะนี้ก็ให้หยุดวิ่งเท่าที่จำเป็น เพราะการลำเลียงคนจำนวนมากจะเกิดปัญหามาก  ตัวอย่างการเรียกผู้โดยสารสายการบินเมื่อวานก็พบผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ต้องมีการเตรียมกำลังคน โดยในหลายพื้นที่ก็มีกำลังคนก็ถูกเรียกประจำการ ซึ่งต้องมีการสลับกันเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ” ประธานที่ปรึกษานายกฯ กล่าว

ส่วนการยกระดับจะเป็นอย่างไรต้องอยู่ที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจ ต้องพิจารณาหลายๆด้าน ทั้งการลดการเคลื่อนที่ของประชาชน การตรวจเชื้อมากขึ้น หลายครั้งไม่รู้ว่ามีคนติดเชื้อ เพราะโรคนี้ยังไม่แสดงอาการในบางคนก็มี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ดูจากการควบคุมโรค หลายประเทศที่คิดว่าจะดีก็ค่อนข้างไม่ค่อยดีเหมือนกัน  อย่างไรก็ตาม วันนี้จะมีการสรุปตัวเลขว่ามีใครฝ่าฝืนข้อกำหนดหรือไม่ ในวันที่ 27 มี.ค.น่าจะแถลงได้  

หากจะมีเคอร์ฟิว ประเด็นหลักๆ ที่เข้มงวดขึ้น  คือ 1. การออกนอกเคหะสถาน ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากไม่ออกไปรับเชื้อ ก็จะไม่ติด และการอยู่ในบ้านก็ต้องรักษาระยะห่าง ป้องกันการติดชเอในครัวเรือน   2. การให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่บิดเบือน และการส่งข้อมูลด้วยสื่อบุคคลต้องระมัดระวัง เพราะบางข่าวน่าเชื่อถือ แต่จริงๆไม่ใช่ข้อเท็จจริง เรื่องนี้จะมีโทษรุนแรงมากต้องระวังให้ดี อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีโอกาสไม่ต้องใช้ ก็ภาวนาขอให้เป็นจริง  

รองโฆษกฯ ย้ำใช้ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”  26 มี.ค.  ห้ามผู้สูงอายุออกจากบ้าน แต่ยังไม่เคอร์ฟิว!!

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ