เมื่อมีปัญหา “ช่องปาก- ปวดฟัน”  ทำอย่างไรท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เพจ ใกล้หมอ “ฟัน” เผยข้อมูลหากเกิดทันตกรรมฉุกเฉิน หรือปัญหาช่องปากช่วงระบาดโควิด-19 แบบไหนไปพบแพทย์ แบบไหนรักษาเบื้องต้นได้

รัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อหยุดยั้ง หรือชะลอจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ให้เพิ่มมากจนยากจะควบบคุม โดยเฉพาะมาตรการจำกัดการเคลื่อนที่ โดยเน้นให้ทำงานที่บ้าน หรือ Work at Home แต่หลายคนสงสัยว่า หากมีอาการปวดฟันในช่วงสถานการณ์ระบาดเช่นนี้จะทำอย่างไร

ข้อมูล “หมอ-พยาบาล-บุคลากรสาธารณสุข” ป่วยโควิด-19 รวม 11 ราย

อดีตปลัดยธ. เสนอนักโทษความผิดเล็กน้อย พ้นโทษก่อนกำหนด ป้องโควิด-19 ระบาดในคุก

ล่าสุด เพจ ใกล้หมอ"ฟัน" โพสต์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับกรณีเกิดทันตกรรมฉุกเฉิน ว่า

 “ ช่วงนี้ หากใครอยู่บ้าน แล้วมีอาการเกี่ยวกับฟันและเหงือก อาจจะเป็นอุบัติเหตุ หรือ อาการปวดฟันแบบทรมาน ไม่ต้องกังวลครับ คุณสามารถไปพบทันตแพทย์ใกล้บ้านได้ ในช่วงโควิด-19 โดยไม่ต้องกังวลเรื่อง การทำให้ปราศจากเชื้อที่ห้องทันตกรรม หรือส่งผ่านเชื้อ เพราะห้องฟันที่เปิดรับบริการช่วงนี้ มีความมั่นใจได้และมีมาตรฐานเพียงพอ   เนื่องจากเป็นเรื่องของทันตกรรมฉุกเฉิน และ ทันตกรรมเร่งด่วน   บางคนอาจจะลำบากหรือ ไม่สะดวกที่จะไปพบทันตแพทย์ได้ ลองอ่านคำแนะนำในกรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน ว่าเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อความปลอดภัย และ เมื่อต้องพบทันตแพทย์ จะได้ไม่ลุกลามหรือเสียหายไปมากกว่าที่ควรจะเป็น”

 

- หากฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน หรือหลุดมาทั้งซี่

อย่างแรกคือพยายามให้ฟันอยู่ในความชื้นตลอดเวลา และให้จับที่ตัวฟันอย่าจับรากฟัน** ทำความสะอาดโดยผ่านนมจืดเบาๆหรือน้ำสะอาด 10 วินาที ให้ใส่กลับไปในเบ้าฟัน หากทำไม่ได้ ให้อมไว้ในกระพุ้งแก้ม หรือใส่ไว้ในน้ำนมจืดหรือน้ำเกลือล้างแผล อย่าปล่อยให้ฟันแห้ง และรีบไปหาหมอฟันให้เร็วที่สุด ฟันซี่นี้อาจจะใส่กลับไปเหมือนเดิมได้

 

- หากฟันแตกบางส่วน
ให้บ้วนน้ำอุ่นเบาๆเพื่อทำความสะอาดช่องปาก ให้ประคบเย็นที่นอกแก้มหรือริมฝีปากด้านนอก เพื่อลดบวมและปวด และรีบไปหาหมอฟันเพื่ออุดฟันหรือถ้าแตกทะลุประสาทฟันอาจต้องรักษาราก

 

- หากกัดปากหรือแก้ม
พยายามบ้วนปากเบาๆด้วยน้ำอุ่นเพื่อทำความสะอาด และประคบเย็นด้านนอก เพื่อลดบวม

 

- หากปวดฟัน
ลองทานยาพาราหรือยาแก้ปวด วิธีทานยาพาราเซตามอลให้ปลอดภัย (https://www.facebook.com/photo?fbid=2862195100514300&set=a.185157358218101 ) และให้บ้วนน้ำอุ่นเพื่อเอาสิ่งสกปรกออกหากพบว่าฟันเป็นรูผุ แปรงฟันเบาๆ หรือใช้ไหมขัดฟันเพื่อเอาเศษอาหารที่ติดออก ห้ามใช้ยาเหน็บไว้ข้างแก้มเพราะอาจจะแสบร้อน ไหม้กระพุ้งแก้มได้ ถ้าเป็นไปได้ให้รีบไปหาหมอฟันหรือเภสัชกรเพื่อรับยาแก้ปวดและยาฆ่าเชื้อ

 

-หากถูกต่อยที่คาง หรือได้รับการกระแทกอย่างแรงบริเวณขากรรไกร
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบริเวณขากรรไกร หรือถูกทุบ ต่อย บริเวณขากรรไกร ทำให้คุณมีอาการปวด บวม อ้าปากได้น้อย — (กรณีไม่มีฟันหัก) การดูแลตัวเองง่ายๆ ก่อนจะมาพบทันตแพทย์ ควรทานอาหารอ่อนๆ ในช่วงแรก ระวังการที่ต้องเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือกัดอะไรแข็งๆ เช่นกัดเล็บ ระงับอาการปวดด้วยการประคบเย็นบริเวณขากรรไกรในช่วงวันแรก และหลังจากนั้นประคบอุ่น อย่าการกัดกราม บดกราม ให้ผ่อนคลาย หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำพบทันตแพทย์เพื่อรับยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดการอักเสบ ยาลดความเครียด เป็นต้น หรือ อาจจะต้องตรวจ/เอ็กเรย์เพื่อดูการบาดเจ็บอื่นๆที่บริเวณขากรรไกร หรือรับการรักษาแล้วแต่ตามความเหมาะสมในแต่ละราย

“อย่าลืมว่านี่เป็นการดูแลตัวเองก่อนจะไปพบคุณหมอนะครับ ถ้ามีเหตุที่ฉุกเฉินหรือเร่งด่วน ควรไปพบทันตแพทย์ อย่ารอ”

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ