Work from Home อย่างไรไม่ให้เครียด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ แนะวิธีทำงานที่บ้าน (Work from Home) ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำอย่างไรให้งานมีประสิทธิภาพ พร้อมๆกับสุขภาพจิตดีง่ายๆด้วย “3 สร้าง 2 ใช้”

หลังจากมาตรการ social distancing หรือเว้นระยะห่างทางสังคม ออกมาเพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยหนึ่งในมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม คือ การจำกัดการเดินทาง การสลับเข้างานที่ออฟฟิส หรือการทำงานที่บ้าน ที่เรียกว่า Work from Home

วัยทำงานหวั่นโควิด-19 สั่งฟู้ดเดลิเวอรี่กระจาย

ผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รวม 9 ราย มีวิกฤตอีก 23 ราย

ด้วยเหตุนี้ หลายบริษัทมีคำสั่งให้พนักงานสามารถ Work from Home หรือทำงานอยู่บ้านได้จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนหรือทุกองค์กรจะปรับตัวได้ เนื่องจากเมื่อมาทำงานที่บ้าน คนส่วนหนึ่งมีความเครียด เนื่องจากต้องควบคุมตนเองในการทำงาน หลายคนทำงานที่บ้านจนลืมเวลา หลายคนเกิดความเครียด ส่งผลต่อสุขภาพจิตไม่มากก็น้อย

ล่าสุดวันที่ 30 มี.ค. 2563 นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แนะนำวิธีการทำงานที่บ้าน หรือ Work from Home อย่างไรให้ไม่เครียด ว่า โดยหลักการของการต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ที่ผ่านมาเป็นเน้นตัวบุคคลว่า ต้องทำอะไร ปฏิบัติตัวอย่างไรมากจนเกินไป แต่จริงๆเรื่องนี้ต้องเป็นในระดับสังคม ประกอบด้วย 1. ครอบครัว 2.สถานที่ทำงาน หรือ องค์กร และ3.ชุมชน  โดยการจะทำให้ทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เครียด คือ ต้องมี 3 สร้าง  และ 2 ใช้

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า  การดำเนินการให้ได้ 3 สร้าง 2 ใช้  โดยองค์กรต้องมีส่วนร่วม อย่างการทำ “3 สร้าง”  ประกอบด้วย 1.สร้างความรู้สึกปลอดภัย    2.สร้างความสงบ    และ 3.สร้างความหวัง  โดยองค์กรต้องสร้างสิ่งเหล่านี้ให้กับพนักงาน อย่างการทำงานที่บ้านก็ต้องให้เห็นว่า เพื่อความปลอดภัย ส่วนในเรื่องของความสงบเกี่ยวกับการรับข้อมูลข่าวสาร ไม่ให้ตื่นตกใจ ก็เป็นสิ่งที่ต้องย้ำเตือน ขณะที่ความหวัง หากใครทำงานที่บ้านแล้วให้ความร่วมมือในการทำงานดีก็ต้องมีการชื่นชม ส่วน 2 ใช้ คือ การใช้สัมพันธภาพที่ดี การให้กำลังใจซึ่งกันและกันจะผ่านพ้นวิกฤตโควิดไปได้ และการใช้พลัง ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย สิ่งสำคัญการทำงานที่บ้านต้องสื่อสารกันอย่างเข้าใจ หากพนักงานรู้สึกเหนื่อย หรือเครียดกับการทำงานมาก อย่างบางรายไม่ได้หยุด หรือทำงานเกินเวลาก็ต้องมีการสะท้อนออกไป และร่วมกันหาทางแก้ปัญหา  

“จริงๆการทำงานที่บ้าน เราจะมีเวลาเพิ่มมาประมาณ 2 ชั่วโมงจากการไม่ต้องเดินทาง ซึ่งตรงนี้ก็เป็นข้อดีทำให้มีเวลาเตรียมงานมากขึ้น แต่เมื่อถึงเวลาเลิกงานก็ต้องพัก เพื่อให้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แทนที่จะป้องกันโควิด-19 อย่างเดียว เราต้องคำนึงถึงสุขภาพจิต สุขภาพกายภาพรวมทั้งหมด  และหากพนักงานเริ่มไม่สบายใจ ต้องสะท้อนปัญหาให้ทางองค์กรเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดี และทางองค์กรควรรับฟัง เพื่อจะได้มีการปรับปรุงระบบงานให้สามารถทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญตอนนี้คือ เราต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน หาทางออกร่วมกันในการผ่านพ้นโรคโควิด-19ไปให้ได้” ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าว

   อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 30 มี.ค.63

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ