จุฬาฯ พัฒนาชุดตรวจโควิด-19 รู้ผลใน 15 นาที


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัย และพัฒนาชุดตรวจผลเลือด เพื่อคัดกรองในเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ซึ่งหากผ่านการตรวจสอบจากองค์การด้านสาธารณสุขในประเทศไทย จะถูกนำไปช่วยเหลือทางการแพทย์ได้จำนวนมาก

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 1 เม.ย. 63

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 1 เม.ย. 63

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชุดตรวจ ภูมิคุ้มกัน ใบยา แรปปิด โควิด-19 ใช้ในการตรวจหาแอนติบอดี หรือ ภูมิคุ้มกัน ชนิด G หรือ M ในเลือด เพื่อคัดกรองเชื้อโควิด – 19 จะใช้เวลาเพียง 10-15 นาที ด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว จึงทำให้ในการตรวจวินิจฉัยมีความปลอดภัย แพทย์ไม่ต้องใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ  

ชุดตรวจดังกล่าว พัฒนาขึ้นโดย คณะวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นจากการที่คณะวิจัย ผลิตชิ้นส่วนของเชื้อโคโรนาไวรัส ที่ร่างกายมนุษย์สามารถตรวจจับได้ ไปใส่ไว้ในต้นยาสูบ ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศออสเตรเลีย เป็นคนละชนิดกับยาสูบที่ใช้สูบในประเทศไทย หลังจากต้นยาสูบได้รับเชื้อ 3-5 วัน จะตัดต้นยาสูบไปสกัด นำชิ้นส่วนของเชื้อที่ผลิตได้ออกมา ตรวจสอบคุณภาพ และ นำไปประกอบกับชุดทดสอบ เพื่อเป็นตัวจับภูมิคุ้มกันในเลือด และทำให้เกิดแถบสีต่าง ๆ เมื่อใช้งาน

สำหรับชุดตรวจเชื้อโควิด-19 จะมีลักษณะคล้ายกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ การทำงานคือ ต้องใช้เลือดผู้ที่ต้องการตรวจ หยดลงไปในแท่นชุดตรวจประมาณ 1-2 หยด ตามด้วยสารละลายเฉพาะสำหรับการตรวจ จากนั้น แถบควบคุม จะปรากฎสีขึ้นมา เพื่อบ่งบอกว่า ผู้ตรวจมีเชื้อหรือไม่ หากแถบควบคุมขึ้นใน แถบ C นั่นหมายความว่า ไม่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือเป็นผลลบ แต่หากแถบควบคุมขึ้นใน แถบ C และ แถบ M หรือ แถบ G นั่นหมายความ ติดเชื้อโคโรนาไวรัส หรือ ผลเป็นบวก แต่มีภูมิคุ้มกัน ชนิด M หรือ G ด้วย หากแถบควบคุม ขึ้นครบทุกช่อง นั้นหมายความว่า ติดเชื้อโคโรนาไวรัส และ มีภูมิคุ้มกันทุกชนิดแล้ว เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การใช้ชุดตรวจชนิดนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย พัฒนา และการตรวจหาเชื้อว่าป่วยโรคโควิด-19 หรือไม่ ต้องตรวจในเวลาที่เหมาะสม เช่น กรณีที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อ รักษาหายแล้ว แต่พอนำชุดตรวจนี้มาวินิจฉัย ก็ยังอาจพบว่าเป็นผลบวกอยู่จากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ หากมีการตรวจในลักษณะนี้แล้ว จะต้องไปตรวจซ้ำอีกครั้งในระบบของ การตรวจสารคัดหลั่ง หรือ PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานทางการแพทย์

อย่างไรก็ตามชุดตรวจนี้ ทางโรงพยาบาลจุฬาฯ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าไปรับบริการการตรวจได้แล้ว เมื่อวานนี้เป็นวันแรก โดยผู้ที่ต้องการไปใช้บริการ จะต้องกรอกข้อมูลในแอพลิเคชั่น  http://covid19.thaitechstartup.org/ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ ประเมินความเสี่ยงเพื่อคัดกรอง แล้วเจ้าหน้าที่จะจัดลำดับ และนัดวันให้บริการ ส่วนถ้าใครมีผลเลือดเป็นบวก ก็จะมีการส่งไปตรวจแบบการใช้สารคัดหลั่ง หรือตรวจหาสารพันธุกรรม เพื่อยืนยันอีกครั้ง ที่โรงพยาบาลต่อไป

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ