อาสากู้ภัยขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน เตรียมงดออกระงับเหตุ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ของอาสากู้ภัยเริ่มส่งผลต่อการออกรถรับผู้ป่วยแล้ว เมื่ออุปกรณ์ป้องกันที่มีเริ่มหมดไปโดยไม่ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม ทำให้อาจต้องหยุดออกรถรับผู้ป่วยหากอุปกรณ์หมด

คอนเทนต์แนะนำ
อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 4 เม.ย. 63
อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 4 เม.ย. 63

ถุงมือ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แว่นตา และเฟซชิลด์ คืออุปกรณ์พื้นฐานที่อาสากู้ภัยต้องใส่ทุกครั้งเมื่อจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ อาสากู้ภัยคนนี้บอกว่า ปกติแล้วจะไม่ใส่ชุดป้องกันสารคัดหลั่ง เว้นแต่ว่าจะต้องรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เพราะมีราคามากกว่า 600 บาทและต้องใช้ครั้งเดียวทิ้ง นี่เป็นเหตุผลที่อาสากู้ภัยพยายามไม่รับผู้บาดเจ็บที่เข้าข่ายเสี่ยงโควิด-19 แต่จะประสานให้รถโรงพยาบาล หรือรถของศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กทม. มารับแทนเพราะมีควาพร้อมมากกว่า โดยเฉพาะอุปกรณ์ป้องกันการรับเชื้อ

นอกจากชุดป้องกันที่มีอยู่อย่างจำกัดแล้ว อาสากู้ภัยรายนี้บอกว่า หน้ากากอนามัยที่มีเหลือพอใช้ไม่ถึง 1 เดือน เพราะต้องใช้ครั้งเดียวทิ้ง และตนเองต้องหาซื้อเองด้วยงบประมาณส่วนตัว ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ หลังจากนี้ เมื่อหน้ากากอนามัยจำนวนนี้หมด ก็อาจต้องหยุดออกรถรับผู้ป่วยชั่วคราว

แหล่งข่าวด้านสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ สพฉ. เคยได้รับหน้ากากอนามัยในโควต้าของกระทรวงพาณิชย์ 18,500 ชิ้น ต่อวัน เป็นเวลาต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ รวมเป็น 129,500 ชิ้น แจกจ่ายให้ มูลนิธิอาสาสมัครกู้ภัยต่างๆ และ ให้กลุ่มอาสาสมัครในแต่ละพื้นที่ โดยแจกจ่าย ผ่านไปทางสาธารณสุขจังหวัด

แต่หลังจากที่บังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โควต้าหน้ากากอนามัย ถูกแบ่งออกเป็น กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงสาธารณสุข ทำให้ โควต้าของสพฉ.ถูกตัดทิ้ง เนื่องจาก มูลนิธิกู้ภัย ไม่ถูกจัดเป็นข้าราชการ หรือ บุคลากรด้านสาธารณสุข

การคาดการณ์โดยบุคลากรด้านสาธารณสุขคนนี้ว่า ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า อาสาสมัครกู้ภัยจะเริ่มขาดแคลนหน้ากากอนามัยอย่างจริงจัง และจะส่งผลต่อการไม่ออกออกรถไปรับผู้ป่วย เชื่อว่าจะกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั้งหมด เพราะจากสติถิที่ สพฉ. เคยรวบรวม พบว่า เมื่อประชาชนโทรเรียกรถ1669 พบว่า ด่านแรกที่ออกไปรับเคสผู้ป่วย คือ รถกู้ชีพกู้ภัย มากกว่า ร้อยละ 80  ส่วนอีก ร้อยละ 20  เป็นรถโรงพยาบาล  หากรถกู้ภัยไม่ออกไปรับผู้ป่วยเพราะไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน ในอนาคต โรงพยาบาลจะต้องรับภาระส่วนนี้เพิ่ม ท่ามกลางสถานการณ์ที่ ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ล้นมือแล้ว

 

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ