เตือนทุกรพ.อย่าใส่ face shield ทารก ส่งผลต่อระบบประสาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เตือน อย่าใส่ face shield กับทารกแรกเกิด เนื่องจากอาจทำให้เด็กขาดอากาศหายใจ จนเกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 10 เม.ย. 63

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 10 เม.ย. 63

เมื่อวันที่ (9 เม.ย.63) ชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย หน่วยงานทารกแรกเกิด ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ตามที่สถานพยาบาล หรือหน่วยงานหลายแห่งได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า (face shield) และหรือประยุกต์หน้ากากอนามัย มาสวมใส่ให้แก่ทารกแรกเกิดทั้งขณะอยู่ในโรงพยาบาล และจำหน่ายกลับบ้าน โดยมีการกระจายไปสู่สาธารณะอย่างแพร่หลายในช่วงระยะสถานการณ์โรคโควิด-19 นั้น ทางชมรมเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย ได้มีการหารือในคณะกรรมการของชมรมฯ แล้ว มีข้อแนะนำดังต่อไปนี้

ช่องทางการแพร่กระจายจากผู้ใหญ่สู่ทารก อ้างอิงจากมาตรฐานสากลทั้งองค์การอนามัยโลก และ Centers for Disease Control and Prevention ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ไปสู่ทารกแกรเกิด ที่สำคัญที่สุด คือ การกระจายจากผู้เลี้ยงดูทารก ซึ่งได้แก่ บิดามารดา ญาติ หรือ พี่เลี้ยง ผ่านทางละอองฝอยจากการจาม หรือ ไอ ทางสัมผัส จากมือผู้เลี้ยงดู หรืออุปกรณ์ สิ่งของที่มาสัมผัสทารก

 

การป้องกันที่ดีสุดในการป้องกันการแพร่เชื้อสู่ทารก

1.ล้างมือให้สะอาด ตามสุขอนามัยก่อนสัมผัสทารก และใส่หน้ากากอนามัยของผู้เลี้ยงดูหากไม่แน่ในในอาการตัวเอง

2.ผู้มีอาการไม่สบาย โดยเฉพาะมีอาการทางระบบหายใจ งดเข้าใกล้ทารก

3.งด การนำทารกแรกเกิดออกนอกบ้าน ยกเว้นการพาไปฉีดวัคซีนตามกำหนด หรือไปพบแพทย์เมื่อมีอาการไม่สบาย

4.หากจำเป็นต้องพาทารกไปอยู่ในที่ชุมชน ควรปฏิบัติตามนโยบายของ Physical distancing อย่างเคร่งครัด โดยห่างจากผู้อื่น ประมาณ 6 ฟุต (2เมตร)

5.งด การเยี่ยมทารก จากบุคคลภายนอกทั้งที่โรงพยาบาล และที่บ้าน ควรใช้สื่อทางสังคม (social media) แสดงความยินดีแก่ครอบครัวแทน

 

สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับทารกในการใส่ face shield หรือ face mask เนื่องจากทารกแรกเกิดหายใจทางจมูกเป็นหลัก ยังไม่มีความสามารถหายใจชดเชยด้วยการอ้าปากได้ เมื่อมีการขาดอากาศ หรือ ออกซิเจน ดังนั้นวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาผลิตเป็น surgical mask หรือ non-surgical mask หากมีคุณสมบัติ breathability (แรงต้านต่อการไหลของอากาศเข้า-ออก) สูงเกินไป อาจทำให้ทารกหายใจได้ไม่เพียงพอ และมีโอกาสเกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ เกิดอันตรายต่อระบบประสาทของทารก รวมถึงวัสดุพลาสติกที่ใช้บังหน้าทารกอาจมีความคมบาดใบหน้า ดวงตา ทารกได้

 

 

Photo : Hector RETAMAL / AFP 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ