นายกฯ ระดมสมองเอกชน รับวิกฤตโควิด-19 ประเมินหากยืดเยื้ออีก 2 เดือน ตกงาน 10 ล้านคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นายกฯ ตั้งคณะที่ปรึกษาภาคเอกชน เร่งแก้วิกฤตโควิด-19 เริ่มหารือนัดแรก 13 เมษายนนี้ ขณะที่เอกชนประเมินหากยังยืดเยื้ออีก 2-3 เดือนจะมีผู้ได้รับผลกระทบ ตกงานถึง 10 ล้านคน พร้อมเสนอชุดมาตรการฟื้นเศรษฐกิจ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. เชิญประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ การป้องกัน และแก้ปัญหาของภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และตัวแทนประกอบด้วย ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้แทนภาคเอกชน 8 ราย

เอกชน คาด พิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจถดถอยคนตกงาน 7 ล้านคน

โดยนายทศพร กล่าวว่า จะทำการประชุมกับภาคเอกชนทุกๆ 1-2 สัปดาห์ เพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและข้อเสนอจากภาคเอกชน แล้วทำการรวบรวมข้อเสนอ เพื่อสรุปให้นายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นเรื่องความคิดเห็นของภาคเอกชนเกี่ยวกับมาตรการที่ออกมา รวมถึงข้อเสนอการใช้วงเงินจากการออกพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงต่อไป

ขณะที่ภาคเอกชนก็ได้มีการประเมินว่า จำนวนผู้ตกงานที่ได้รับผลกระทบในช่วงนี้จะอยู่ที่ราว 7 ล้านคน หากยืดเยื้อได้อีก 2-3 เดือน ผลกระทบจะขยายวงกว้าง ทำให้มีผู้ตกงานเพิ่มขึ้นที่ราว 10 ล้านคน แต่เบื้องต้นทางผู้ประกอบการายใหญ่ เช่น ซีพี ห้างเซ็นทรัล หรือกลุ่มเอสซีจี ที่เป็นสมาชิกหอการค้าไทย ยืนยันจะไม่ปรับลดพนักงานหรือเอาพนักงานออก แม้สถานการณ์โควิด-19 จะลากยาวไปถึงปลายปี

ยูเอ็นชี้ โควิด-19 เป็นวิกฤตร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

พร้อมกันนี้ภาคเอกชน ได้เสนอมาตรการจำนวนมาก เช่น ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศและลดค่า ft ตามราคาน้ำมัน / ให้ภาคเอกชนสามารถนำค่าใช้จ่ายสำหรับป้องกันโควิด-19 มาหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า / ขอให้รัฐออกคำสั่งปิดกิจการโรงแรมเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม / ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปีภาษี 2562-2563 กรณี SMEs เหลือไม่เกิน 10% และกรณีผู้ประกอบการอื่น เหลือไม่เกิน 20% / รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงานและซื้อสินค้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ / ผ่อนปรบการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ / อนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมง ชม. ละ 40-41 บาท 4-8 ชม/วัน / ขอลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจาก 4% เหลือ 1%  ช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท รัฐจ่าย 50% บริษัทจ่าย 25% ของค่าจ้าง ไปจนถึงขอผ่อนปรนมาตรการเคอร์ฟิวสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าในเวลากลางคืน เป็นต้น

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ