คลายปม “ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ” ฆ่าโควิด-19 ได้จริงหรือ?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์หลังสมาคมโรคติดเชื้อฯ ออกแถลงการณ์ว่า การฉีดพ่นยาไม่ช่วยทำลายเชื้อได้ หาคำตอบได้ในรายการเป็นเรื่องเป็นข่าววันนี้(14 เม.ย.)

กลายเป็นประเด็นทันทีภายหลังสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อทำลายเชื้อโควิด-19  ขณะที่ สมาคมนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกแถลงการณ์ประณามสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย โดยระบุว่า เป็นการทำลายขวัญกำลังใจของผู้ทำงานที่ทุ่มเทเพื่อประชาชน ซึ่งการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ทั่วโลกก็ทำเช่นเดียวกัน สิ่งที่สมาคมโรคติดเชื้อฯแถลงเฉพาะทฤษฎีแต่ขัดกับหลักปฏิบัติโดยสิ้นเชิง

ผู้เชียวชาญออกซ์ฟอร์ด คาด วัคซีนต้านโควิด-19 พร้อมใช้ ก.ย.นี้

เปิดศักยภาพเตียงไอซียูรองรับกรณีผู้ป่วยวิกฤต ‘โควิด-19’

ล่าสุดวันที่ 14 เม.ย. รายการเป็นเรื่องเป็นข่าว วิเคราะห์เรื่องนี้ว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โดยได้เชิญ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม  นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อธิบายว่า การที่ออกคำแถลงดังกล่าวไม่ได้ต้องการกระทบกับใคร แต่ที่มาออกแถลงการณ์ เนื่องจากพบว่า เมื่อรพ.ไปรับคนไข้จากคอนโดฯที่อยู่อาศัย กลายเป็นว่า มีการพ่นฆ่าเชื้อ ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงมากหลายหมื่น จนทำให้เราคิดว่า จะเป็นภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ทั้งที่ไม่ได้ช่วย เพราะเชื้ออยู่ในร่างกายคน และเมื่อคนออกมา เชื้อก็ไม่อยู่แล้ว ส่วนที่ระบุว่า มีการปนเปื้อนตามพื้นผิวต่างๆ ก็จะเป็นเฉพาะคนไข้ไปสัมผัส หรือไอรด ไม่ได้ฟุ้งกระจายขนาดนั้น  ซึ่งวิธีการกำจัด คือ ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ตามปุ่มลิฟท์ ตามคอมพิวเตอร์ จุดที่เขาใช้ แต่ไม่ต้องไปฉีดในอากาศ เพราะเชื้อไม่ได้ฟุ้งในอากาศ

“ส่วนหากอยากจะทำก็ทำได้ ไม่ได้ว่าอะไร เพียงแต่เราอธิบายตามหลัก ว่า ไม่ต้องไปฉีดไปพ่น เพราะสิ่งที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ คือ การเว้นระยะห่าง การสวมใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ และเมื่อป่วยก็ให้ประวัติตรงไปตรงมา สิ่งนี้ต่างหากที่จะช่วย ไม่ใช่เรื่องการพ่น” ผศ.นพ.กำธร กล่าว

จริงๆก่อนจะมีการแพร่เชื้อที่สนามมวย พบว่า ก่อน 1 วันมีการฉีดพ่นฆ่าเชื้อ พอฉีดเสร็จวันรุ่งขึ้นมีคนไปดูมวย ก็ยังแพร่เชื้ออยู่ดี เพราะสุดท้ายคนไปรวมกันจำนวนมาก ไม่มีการเว้นระยะห่าง ก็ทำให้ติดเชื้อได้ ดังนั้น การฉีดพ่นไม่ได้ปลอดภัย เพราะไม่ได้ไปตัดที่เชื้อโดยตรง

“ส่วนการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของคน จริงๆ ไม่ได้อันตรายมาก  บางคนอาจมีการระคายเคืองผิวหนัง  สิ่งที่เรากังวลคือ เรากลัวว่าคนจะคิดว่าป้องกันได้ แต่จริงๆไม่ใช่ สิ่งสำคัญเราต้องมุ่งไปที่สุขอนามัยให้ถูกต้อง ไม่ต้องใช้เงินมากมายเลย” ผศ.นพ.กำธร กล่าว และ ว่า ส่วนเรื่องที่ว่าเป็นกำลังใจนั้น เราจะไม่ขอก้าวล่วง เราบอกแค่หลักวิชาการระดับสากล เพราะโดยปกตินานาประเทศไม่มีการแนะนำกัน แม้แต่จีน ก็เลิกทำแล้ว

มาตรการควบคุมเชื้อจริงๆ คือ ปิดเมือง รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นมาตรการที่ได้ผล และต้องทำสิ่งนั้น ซึ่งเชื้อขอยืนยันว่า ไม่ได้ฟุ้งขนาดนั้น  ดังนั้น การทำความสะอาดก็เน้นการเช็ดทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ส่วนอยากจะฉีดพ่นก็ทำได้ แต่ไม่จำเป็น เพราะเราใช้แค่น้ำยาฆ่าเชื้อไปเช็ดก็ใช้ได้แล้ว ราคาไม่แพงด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้  รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จริงๆเชื้อโรคอยู่ทั้งภายนอกและภายในร่างกาย  ซึ่งภายนอกร่างกายได้ผล โดยที่มีคนเป็นห่วง คือ การฉีดไปโดนเชื้อแล้วจะฟุ้ง แต่ฉีดจริงๆ จะฉีดตามแนวขนาน เอียงหงายขึ้นประมาณ 30 องศา เพื่อให้ละอองของน้ำยาฆ่าเชื้อค่อยๆร่วงลงไป อย่างไรก็ตาม การฉีดพ่นจะฉีดในเคหสถานเป็นหลัก เพราะหากฉีดภายนอกต้องขออนุญาตก่อน เพราะน้ำยาบางตัวอยู่ในสารอันตรายประเภทที่ 3

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ