8 สายการบิน ทวงมาตรการเยียวยาจากรัฐ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




8 สายการบินในประเทศ ทำหนังสือทวงรัฐ ขอความคืบหน้ามาตรการเยียวยา ผลกระทบ โควิด-19 ที่เคยเสนอช่วยหาแหล่งกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ต่อชีวิตสายการบิน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 16 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 16 เม.ย. 63

วันนี้ 16 เม.ย. 2563  สายการบินในประเทศทั้ง 8 แห่งได้ประชุมร่วมกัน และออกเอกสาร เรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สอบถามความคืบหน้ามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการสายการบินที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัส COVID -19 ต้องหยุดทำการบินเกือบ 100%

โดยเอกสารมีการสอบถามเป็นประเด็นระบุว่า ภายหลังจากสายการบินในประเทศไทยทั้ง 8 สายการบิน อันได้แก่ ไทยสมายด์ บางกอกแอร์เวย์ส นกแอร์ นกสกู๊ต แอร์เอเชีย แอร์เอเชียเอ็กซ์ ไลออนแอร์ และเวียดเจต ได้ยื่นหนังสือต่อกระทรงการคลัง ถึงการขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) วงเงินโดยรวมเกือบ 25,000 ล้านบาท เพื่อประคองธุรกิจและรักษาสภาพการจ้างงานให้มากที่สุดของสายการบินในประเทศไทย

1. ขอสอบถามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว อยู่ในขั้นตอนอย่างไรบ้าง

2. รัฐบาลจะพิจารณาเรื่องดังกล่าวในกรอบใด เพราะตามมาตรการการช่วยเหลือโดยมติ ครม ที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่จะเน้นการช่วยเหลือกลุ่ม SME เป็นหลัก ยังไม่มีการกล่าวถึงการช่วยเหลือหรือมาตารการที่เหมาะสมรองรับธุรกิจสายการบินแต่อย่างใด

3. รัฐบาลจะให้มีเงื่อนไขหรือรายละเอียดอย่างไรสำหรับวงเงินกู้ดังกล่าวแก่สายการบิน เช่นจะให้ธนาคารใดเป็นเจ้าภาพ และมีเงื่อนไขอย่างไรให้เข้าถึงวงเงินดังกล่าวได้จริง และเหมาะสมทันท่วงทีกับสถาณการ์ฉุกเฉินในปัจจุบัน (เช่นสายการบินไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน และระยะเวลาอนุมัติไม่นาน)

4. ธุรกิจสายการบินเป็นส่วนสำคัญโดยเฉพาะในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจหากวิกฤตโรคระบาดได้คลี่คลายลง เพราะเป็นส่วนที่จะนำพานักท่องเที่ยวและเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการรักษาให้ทุกสายการบินในประเทศไทยยังคงอยู่ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลมองเรื่องนี้อย่างไรต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอีกครั้ง

5. ในธุรกิจสายการบินในประเทศไทยมีพนักงาน 20,000 - 30,000 คน ซึ่งในช่วงเดือนมี.ค.และเม.ย.เกือบทุกสายการบินได้หยุดทำการบินทุกเส้นทาง หมายความว่าทุกสายการบินไม่มีรายได้เข้ามา แต่ยังคงจ้างงานพนักงานของตนไว้ให้มากที่สุด ดังนั้นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลจึงเป็นหัวใจสำคัญต่อธุรกิจสายการบินเป็นอย่างมาก

สำหรับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 24,150 ล้านบาท ที่ทั้ง 8 สายการบินต้องการกู้นั้น จัดสรรให้แต่ละสายการบิน ดังนี้

1.สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส วงเงิน 3,000 ล้านบาท

 2.สายการบินไทยแอร์เอเชีย วงเงิน 4,500 ล้านบาท

 3.สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท

 4.สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ วงเงิน 3,750 ล้านบาท

 5.สายการบินไทยเวียตเจ็ท วงเงิน 900 ล้านบาท

6.สายการบินไทยสมายล์ วงเงิน 1,500 ล้านบาท

 7.สายการบินนกสกู๊ต วงเงิน 3,500 ล้านบาท และ 8.สายการบินนกแอร์ วงเงิน 4,000 ล้านบาท

รพ.ตราด สั่งย้ายนักเทคนิคการแพทย์ ปมแฉขาดแคลนอุปกรณ์สู้โควิด

โดยการขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำนั้น ขอดอกเบี้ย 2% เป็นระยะเวลา 60 เดือน เริ่มชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในวันที่ 1 ม.ค. 2564 ขณะเดียวกัน เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ที่มีต่อสภาวะทางการเงินของสายการบินอย่างมหาศาล

ในขณะนี้ สายการบินมีความจำเป็นที่ต้องขอเบิกเงินงวดแรกเป็นจำนวน 25% ของวงเงินกู้ภายใน เม.ย. 2563 เพื่อใช้ประคองธุรกิจให้ดำเนินการได้ รวมถึงรักษาสภาพการจ้างงานของพนักงานบริษัทในแต่ละสายการบินได้อย่างทันท่วงที

คปภ.เตือนใช้ใบรับรองแพทย์ปลอมเคลมประกันโควิด โทษถึงจำคุก

ตัดสิทธิ์เยียวยา 5 ,000 บาท “เราไม่ทิ้งกัน”ไปแล้ว 12 ล้านคน

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 29 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวม 46 ราย

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ