เปิดรายนาม 20 ผู้สนับสนุน WHO สูงที่สุด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ประกาศไม่จ่ายเงินสนับสนุนองค์การอนามัยโลก ทำให้งบประมาณหายไปเกือบ 15% มาดูกันว่า ผู้สนับสนุนรายสำคัญขององค์การอนามัยโลกมีใครบ้าง

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ สั่งระงับการจ่ายเงินอุดหนุนองค์การอนามัยโลก (WHO) พร้อมให้เหตุผลว่าหน่วยงานดังกล่าวทำหน้าที่ล้มเหลวในการบริหารจัดการวิกฤตโควิด-19  โดยในปี 2019 สหรัฐฯ เป็นชาติผู้ให้การสนับสนุนรายใหญ่ที่สุดของ WHO คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 15% ของงบประมาณทั้งหมด

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 18 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 18 เม.ย. 63

“ทรัมป์” สั่งหยุดจ่ายเงินช่วย “WHO” 400 ล้านดอลลาร์

ขณะที่ มูลนิธิ “บิลและเมลินดา เกตส์” ของบิล เกตส์ มหาเศรษฐีผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์และภรรยา ตำหนิการกระทำของทรัมป์ พร้อมประกาศเพิ่มเงินช่วยเหลือ WHO อีก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมเป็นทั้งสิ้น 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 8,100 ล้านบาท สนับสนุนการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคจากเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงมาตรการด้านสาธารณสุขในการจัดการโรคระบาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

"บิล เกตส์" เพิ่มเงินสนับสนุนองค์การอนามัยโลก

ด้านเทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) อธิบดี WHO กล่าวว่า “เราเสียใจในการตัดสินใจของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา WHO กำลังตรวจสอบผลกระทบที่มีกับงานของเราจากการถอนเงินทุนของสหรัฐอเมริกา และจะทำงานร่วมกับพันธมิตรของเราคนอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มช่องว่างทางการเงินที่เราต้องเผชิญ เพื่อให้มั่นใจว่างานของเราจะดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง"

ในแต่ละปี WHO จะได้รับเงินบริจาคจากประเทศสมาชิก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เงินจากการประเมิน (Assessed) เช่น ค่าธรรมเนียมสมาชิก และเงินบริจาคโดยสมัครใจ (Voluntary)

เลขายูเอ็นฯ โต้ “ทรัมป์” ตัดงบช่วยอนามัยโลก

โดยเงินที่ได้รับจากการประเมินนั้นเป็นเหมือนกับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน แต่ละประเทศสมาชิกจะจ่ายค่าธรรมเนียมการประเมินตามความมั่งคั่งและประชากรของประเทศ และประเทศต่าง ๆ ยังให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมโดยสมัครใจ เช่นเดียวกับที่มอบให้ องค์การสหประชาชาติ มูลนิธิการกุศล และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่น ๆ

สำหรับ 20 อันกับประเทศ/องค์กรที่สนับสนุนเงินทุนให้กับ WHO ได้แก่

  1. สหรัฐอเมริกา (US) - 893 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.9 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 14.67%
  2. มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melianda Gates Foundation) - 531 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.72%
  3. สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ (UK and North Ireland) - 435 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.4 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 7.15%
  4. พันธมิตรเพื่อวัคซีนและการฉีดวัคซีน (GAVI Alliance) - 371 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 6.1%
  5. เยอรมนี (Germany) - 292 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 9.5 พันล้านบาท คิดเป็น 4.8%
  6. ญี่ปุ่น (Japan) - 214 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7 พันล้านบาท คิดเป็น 3.5%
  7. สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) - 192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 6.2 พันล้านบาท คิดเป็น 3.15%
  8. โรตารีสากล (Rotary International) - 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.6 พันล้านบาท คิดเป็น 2.35%
  9. ธนาคารโลก (World Bank) - 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.3 พันล้านบาท คิดเป็น 2.2%
  10. คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) - 131 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4.26 พันล้านบาท คิดเป็น 2.15%
  11. ทรัสต์เพื่อการกุศลแห่งชาติ (National Philanthropic Trust) - 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.5 พันล้านบาท คิดเป็น 1.77%
  12. แคนาดา (Canada) - 101 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.3 พันล้านบาท คิดเป็น 1.66%
  13. กองทุนกลางฉุกเฉินของสหประชาชาติ (CERF) - 87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.8 พันล้านบาท คิดเป็น 1.43%
  14. นอร์เวย์ (Norway) – 86.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.8 พันล้านบาท คิดเป็น 1.42%
  15. จีน (China) - 86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.79 พันล้านบาท คิดเป็น 1.41%
  16. สวีเดน (Sweden) - 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.5 พันล้านบาท คิดเป็น 1.27%
  17. ฝรั่งเศส (France) - 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.47 พันล้านบาท คิดเป็น 1.25%
  18. เกาหลีใต้ (South Korea) - 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.3 พันล้านบาท คิดเป็น 1.15%
  19. คูเวต (Kuwait) - 69.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.26 พันล้านบาท คิดเป็น 1.14%
  20. ออสเตรเลีย (Australia) - 67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.2 พันล้านบาท คิดเป็น 1.1%

WHO เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2491 ทำหน้าที่เป็น “ผู้มีอำนาจสั่งการและประสานงานด้านสุขภาพระหว่างประเทศในระบบของสหประชาชาติ” คอยประสานโครงการและให้คำแนะนำสำหรับ 194 ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบ 2 ประเทศ

โครงการของ WHO มีตั้งแต่การส่งเสริมการฉีดวัคซีนโปลิโอ การสนับสนุนโภชนาการสำหรับเด็ก ไปจนถึงเป็นผู้นำในกรณีฉุกเฉินด้านสุขภาพ

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกกำลังดำเนินงานอยู่ในรอบงบประมาณ 2 ปี สำหรับปี 2563 และ 2564 งบประมาณในการดำเนินการโครงการต่าง ๆ อยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.56 แสนล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนออกมาว่า เมื่อขาดเงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ แล้ว WHO จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

 

เรียบเรียงจาก WHO, NPR

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ