หาคำตอบ “วัคซีนโควิด-19” ไทยจะได้ร่วมทดสอบหรือไม่?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้เชี่ยวชาญการผลิตวัคซีนเผย ล่าสุดทั่วโลกมีวัคซีนต้นแบบต้านโควิด-19 แล้วกว่า 70 ต้นแบบ คาดอย่างเร็วที่สุดช่วงกลางปีหน้า 2564 อาจมีวัคซีนที่ทดสอบในจีนได้ผลดีมาทดสอบร่วมในไทย

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19  ทำให้หลายประเทศเร่งกำลังการคิดค้นวัคซีนป้องกัน โควิด-19  จนล่าสุดมีวัคซีนต้นแบบแล้วกว่า 70 ต้นแบบที่ได้รับการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 22 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 22 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวล่าสุด โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล วันที่ 22 เม.ย. 63

นิวมีเดีย พีพีทีวี ได้พูดคุยกับ ดร.ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์ รักษาการผู้อำนวยการกองผลิตวัคซีนจากไวรัส ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า ”ใน 70 ต้นแบบนี้ มีอยู่อย่างน้อย 3 ตัวซึ่งกำลังทดสอบอยู่ในมนุษย์ ประกอบไปด้วยวัคซีนต้นแบบจากจีน 1 ตัว จากอเมริกา 2 ตัว คิดว่าภายในปลายเดือน เม.ย. นี้ น่าจะมีไม่น้อยกว่า 6-7 วัคซีนต้นแบบที่จะอยู่ในขั้นของการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์ ซึ่งถ้าจะพูดเกี่ยวกับความคืบหน้าสูงสุด ก็ต้องตอบว่าวัคซีนที่มาจากจีน บริษัท แคนชิโน ไบโอโลจิกส์ (CanSino Biologics Inc.) สามารถเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกในมนุษย์ เฟส 2 มีการทดลองในกลุ่มตัวอย่างประมาณ 500 คน”

สื่อนอกเผย 5 หน่วยงาน เริ่มทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์

ปกติการคิดค้นวัคซีนให้สำเร็จ มี 5 ขั้นตอนหลัก

  1. สร้างวัคซีนต้นแบบ อย่างที่บริษัท/ความร่วมมือทั้ง 70 แห่งทำขึ้นมา
  2. ผลิตวัคซีนต้นแบบจำนวนหนึ่งเพื่อนำมาทดสอบกับสัตว์ทดลอง
  3. ทดสอบในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลอง เป็นขั้นบันไดแรกที่จะติดสินว่าวัคซีนนี้รอดหรือไม่รอด ถ้าไม่ผ่าน ต้องกลับไปเริ่มข้อ 1 ใหม่ ถ้าผ่าน สัตว์ทดลองไม่ตาย สามารถสร้างภูมิคุ้นกันได้ ก็ไปต่อ
  4. การทดสอบทางคลินิกในมนุษย์ ซึ่งมี 3 เฟส แบ่งตามจุดประสงค์ในการทดสอบ

    • เฟส 1 จะเน้นทดสอบเรื่องความปลอดภัย ต้องการอาสาสมัครหลักสิบ ประมาณ 50 คน
    • เฟส 2 เน้นทดสอบความปลอดภัย และภูมิคุ้มกันวิทยา อาสาสมัครขยายจำนวนเป็นหลักร้อย เช่น 500 คน และเริ่มคัดเลือกโดสที่เหมาะสมในมนุษย์ อาจจะตัดวัคซีนตัวที่ไม่จำเป็นออกไป
    • เฟส 3 ทดสอบในอาสาสมัครจำนวนหลักพัน คละเชื้อชาติ อายุ เน้นทดสอบความปลอดภัย ภูมิคุ้มกัน และประสิทธิผลของวัคซีน หากตัวใดตัวหนึ่งตอบโจทย์ทั้ง 3 ข้อ จะสามารถพัฒนาเพื่อขึ้นทะเบียนต่อไปได้

  5. ขึ้นทะเบียน นำข้อมูลการทดสอบมาประกอบร่าง นำเสนอขึ้นทะเบียนต่อไป

ไวรัสโคโรนา, โควิด-19, COVID19, วัคซีนโควิด

ดร.ภก.นรภัทร เผยว่า เมื่อประมาณวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา มีประกาศจากอธิบดีกรมควบคุมโรคของจีน ให้ความสำคัญกับการป้องกัน โควิด-19  โดยอนุมัติให้ใช้วัคซีนในขั้นตอนที่ 4 เฟส 3 กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ในกรณีฉุกเฉิน

“ประมาณปลายปีนี้วัคซีนที่อยู่ในเฟส 2 ปัจจุบัน คือ แคนสิโน น่าจะเริ่มเห็นผลอะไรบางอย่างปลายปีนี้แล้ว ก็จะมีการทดสอบในเฟส 3 ซึ่งในขณะเดียวกันต้องดึงเอาผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง มาทดสอบ” เขากล่าว

“โอลิมปิก” อาจแข่งไม่ได้หากไร้วัคซีนต้านโควิด

รักษาการฯ เสริมว่า “จีนกลัวว่าช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว อาจมีการระบาดระลอก 2 ระลอก 3 ได้ มีความจำเป็นจะต้องมีการอนุมติใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน มีความเป็นไปได้ว่า หากวัคซีนตัวใดตัวหนึ่งในประเทศจีนผ่านการทดสอบในเฟส 2 ก็ ‘อาจจะ’ สามารถเอาเข้าสู่การทดสอบในอาสาสมัคร ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เพราะในเฟส 3 มันเป็นลักษณะของการทดสอบในอาสาสมัครจำนวนหลักพันขึ้นไป ดังนั้น ก็เหมือนทดสอบวัคซีนในเวลาเดียวกันกับกลุ่มที่มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นหลักตามปกติของการทดสอบวัคซีน”

ดร.ภก.นรภัทร ระบุว่า ประกาศดังกล่าวเป็นเหตุไม่ปกติ เพราะไม่เคยมีการระบาดที่ต้องพัฒนาวัคซีนพร้อมกับประกาศใช้ในแทบจะเวลาเดียวกันมาก่อน

เขายังให้ความเห็นว่า การพัฒนา วัคซีนโควิด-19 นี้ นับเป็นวัคซีนที่พัฒนาได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

“โดยเฉลี่ยวัคซีน 1 ตัว เอาแบบที่เร็วที่สุดที่เคยเห็นคือหลัก 10 ปีขึ้นไป ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มวิจัย หรือบางตัวทำแล้วไม่เคยสำเร็จเลย เช่น วัคซีนป้องกัน HIV ใช้เวลา 30 ปีก็ยังไม่สำเร็จ หรือไวรัสตับอักเสบซี หรือเริม ก็เป็นไวรัสบางประเภทที่ยังไม่มีวัคซีนในปัจจุบัน”

คาดสหรัฐฯ ต้องเว้นระยะทางสังคมถึงปี 2022 หากไม่มีวัคซีน

ไวรัสโคโรนา, โควิด-19, COVID19, วัคซีนโควิด

กรณีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนหลักล้าน มีพื้นที่ได้รับผบกระทบมากกว่า 180 ประเทศ การระบาดเป็นวงกว้างนี้ทำให้ทุกประเทศตระหนัก และให้ความสำคัญกับวัคซีน จนการทดสอบและพัฒนาดำเนินไปอย่างรวดเร็ว

บิล เกตส์ (Bill Gates) มหาเศรษฐีชื่อดัง สปอนเซอร์รายหลักของวัคซีนหลายตัวในอเมริกา เคยกล่าวว่า การพัฒนาวัคซีนจนกลายเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Product) อาจจะใช้เวลาสั้นมาก ภายใน 12-18 เดือน

“ถ้าคิดตามไทม์ไลน์นี้ การทดสอบก็น่าจะไปสิ้นสุดประมาณกลางปีหน้า 2564 ถือว่า วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่พัฒนาได้เร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ก่อนหน้านี้วัคซันที่พัฒนาเร็วที่สุดน่าจะเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Flu) ใช้เวลา 17 ปี นั่นคือเร็วที่สุด”

ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนา วัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วนั้น มี 2 ปัจจัย

  1. เงินทุน ยิ่งเงินทุนมาก ยิ่งมีจำนวนวัคซีนต้นแบบมาก เมื่อขึ้น โอกาสพบวัคซีนที่สำเร็จก็ตามมา
  2. นโยบาย ปัจจุบันหลายประเทศมีนโยบายเร่งวัคซีนเข้าตลาดออกมา แต่ละประเทศให้นโยบายช่วยเหลือการทดสอบทางคลินิกในมนุษย์ในเฟสต่าง ๆ เร็วมาก

ผู้เชียวชาญออกซ์ฟอร์ด คาด วัคซีนต้านโควิด-19 พร้อมใช้ ก.ย.นี้

สำหรับ วัคซีนโควิด-19 ในไทยนั้น ดร.ภก.นรภัทรบอกว่า จากการประชุมหารือหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการวางกลยุทธ์หลัก ๆ ดังนี้

  1. นำเอาวัคซีนที่ดูมีประสิทธิภาพ มีข้อมูลที่ดีในต่างประเทศ เข้ามาทดสอบร่วมในประเทศไทย อาจมีเรื่องของโอกาสถ่ายทอดเทคโนโลยี นำมาใช้ในคนไทย
  2. การพึ่งพาตนเองโดยอาศัยภาคีนักวิจัยในไทยร่วมกันคิดค้นวัคซีน แต่ใช้เวลามากกว่ากลยุทธ์แรก

“สำหรับกลยุทธ์แรก ข่าวดีน่าจะเกิดเร็วที่สุดช่วงกลางปีหน้า อาจมีวัคซีนที่ทดสอบในจีนได้ผลดีมาทดสอบในไทยต่อ” ดร.ภก.นรภัทร กล่าว

ส่วนกลยุทธ์ที่ 2 ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทีมวิจัยวัคซีนหลายทีมรวมกันเป็นภาคี มีเครือข่าย 11 เครือข่าย เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.), กรมควบคุมโรค, มหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, องค์การเภสัชกรรม, สภากาชาดไทย เป็นต้น

“ในภาคีนี้มีเอกชน 1 แห่ง คือ Bionet Asia เป็นหนึ่งเดียวของไทยที่ชื่อปรากฏในวัคซีนต้นแบบของ WHO ยังอยู่ในขั้นของการทดลองในสัตว์ น่าจะต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยครึ่งปี”

สำหรับองค์การเภสัชกรรมเอง ก็มีทีมนักวิจัย วัคซีนโควิด-19 อยู่ 2 ทีม ร่วมกับ ม.มหิดล และจุฬาฯ โดยยังอยู่ในขั้นตอนที่ 1

สธ.เร่งพัฒนาวัคซีน โควิด-19 ตั้งเป้า 3 เดือนต้องมีความคืบหน้า

ไวรัสโคโรนา, โควิด-19, COVID19, วัคซีนโควิด

ดร.ภก.นรภัทร ให้ความเห็นว่า วัคซีนเป็นแนวทางรับมือ โควิด-19  ที่ยั่งยืน “ยามีจุดประสงค์เพื่อการรักษา ซึ่งต้องแลกด้วยการหยุดงาน ไปโรงพยาบาล เสียเงินเสียทอง ส่วนวัคซีนมีเพื่อป้องกัน คือไม่ให้เกิดแต่ต้น ถ้าพูดถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจ วัคซีนก็ดีกว่า แต่ให้ดีควรมีทั้ง 2 อย่าง”

หากมีวัคซีนในประเทศไทยจริง ไม่ว่าจะมาจากกลยุทธ์ใดก็ตาม คำถามสำคัญคือ “สุดท้ายใครจะได้รับ วัคซีนโควิด-19 ก่อน”

“คำตอบคือ คนที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อง่าย คือกลุ่มบุคลากรการแพทย์ ซึ่งมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย อีกกลุ่ม คือผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงเสียชีวิต ยิ่งอายุมากก็ยิ่งเสี่ยง รวมถึงกลุ่มที่มีโรคประจำตัว และกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

ขณะนี้ มีรายการกำลังถ่ายทอดสด คุณสนใจหรือไม่?

POP NEWS

POP NEWS

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ