“รสนา” ชี้ รัฐเอื้อเอกชน ปมทุ่มงบ 2.3 หมื่นล้านเยียวยาค่าไฟฟ้า


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“รสนา” อัดรัฐทุ่มงบ 2.3 หมื่นล้านบาทไม่ได้เยียวยาค่าไฟฟ้า กลับสงเสริมให้ประชาชนใช้ไฟมากขึ้น ชี้ เอื้อเอกชน เพราะกฟผ.ผลิตไฟได้แค่ 30 % เท่านั้น ที่เหลือซื้อจากเอกชน ขณะที่ ผู้ช่วยผู้ว่าฯกฟน. ย้ำมาตรการนี้ ประชาชน 22 ล้านรายได้ประโยชน์

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 22 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 22 เม.ย. 63

เป็นเรื่องเป็นข่าว 22 เม.ย.2563 คุยกับ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว. กทม. และเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ประเด็นมาตรการช่วยเหลือเรื่อง สนธิรัตน์ แจงชัด ลดค่าไฟ 3 เดือน งบ 2.3 หมื่นล้าน ">ค่าไฟฟ้าแพง ซึ่งกำลังถกเถียงกันร้อนแรงไม่แพ้อากาศอยู่ในขณะนี้

น.ส.รสนา ไม่เห็นด้วยกับมาตรการรัฐที่ออกมา เธอบอกว่า แทนที่จะใช้งบ 2.3 หมื่นล้านช่วยส่วนลดค่าไฟ กลับไปส่งเสริมให้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ตรงนี้ทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้าได้เงินจากส่วนนี้มากขึ้น

โซเชียลเดือด! ค่าไฟฟ้าแพงขึ้นเท่าตัว เพจดังเผยคิดแบบ “อัตราก้าวหน้า”

เธอยกตัวอย่างบ้านเธอใช้ไฟฟ้า 438 หน่วย 1,700 กว่าบาท ถ้ารัฐบาลลดให้ 1,000 บาท คิดกลมๆ ราคาไฟหน่วยละ 4 บาท เท่ากับได้ลดค่าไฟไป 250 หน่วย

คนที่ใช้ไฟ 5 แอมป์ได้ใช้ไฟฟ้าฟรี 150 หน่วย ตกประมาณ 600 บาท ถ้าให้คนที่ใช้ไฟในส่วนที่เป็นมิเตอร์ 15 แอมป์ได้ลด 1,000 บาท เท่ากับได้ลดไป 250 หน่วย แต่รัฐบาลไม่ทำแบบนี้

กระทรวงพลังงานเสนอซับซ้อนว่า เดือน ก.พ. สมมติใช้ไป 438 หน่วย เดือน มี.ค. สามารถใช้ไฟได้ 800 หน่วยโดยจ่ายราคาเท่าเดิม แต่จริง ๆ คงไม่ได้ต้องการใช้ไฟฟ้าไปมากกว่านี้

"เวลานี้ทุกคนตกงาน หรือรายได้น้อยลง ทุกคนต้องการมีเงินในกระเป๋ามากกว่า ใช้ไฟฟ้าเพิ่ม ถ้าหากรัฐลดให้ 1,000 บาทเท่ากับให้ใช้ไฟฟรี 250 หน่วยแบบนี้น่าจะดีกว่า เพราะ 1,000 บาทสามารถนำไปซื้ออาหาร ซื้อของใช้จำเป็นในบ้านในช่วงที่เรารายได้ลดลง ดังนั้นการลดรายจ่ายเท่ากับเพิ่มรายได้"  น.ส.รสนา กล่าว

รัฐมองมุมเดียวว่าทำงานที่บ้านต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น จริง ๆ แล้ว ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจาก หาคำตอบ “วัคซีนโควิด-19” ไทยจะได้ร่วมทดสอบหรือไม่? ">โควิด-19 บางคนขายของน้อยลง หรือปิดกิจการ คือใช้ไฟฟ้าน้อยลงก็ได้ แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลบอกว่า ต้องเอาราคาที่จ่ายเดือน ก.พ.มาจ่ายเท่ากับเดือน มี.ค.ทั้งที่เดือน มี.ค.อาจใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า

"รัฐบาลอยากให้การผลิตไฟฟ้าไม่ลดลงไปกว่าเดิม ที่นี้ปัญหาคือ 2.3 หมื่นล้านบาทที่จะเอามาใช้แทนที่จะช่วยประชาชนก็ไปช่วยซื้อไฟจากเอกชนมากกว่าเพราะตอนนี้เอกชนผลิตไฟ 70% ขณะที่ กฟผ.ผลิตแค่ 30% เท่านั้น มูลค่าที่เราจ่ายให้เอกชนมีถึง 80% ขณะที่ กฟผ.20%" น.ส.รสนา กล่าว

เธอยังบอกด้วยว่า คนที่ไม่เป็นเจ้าของบ้านแต่เช่าหอ อพาร์ตเมนต์ ลำบากมาก แต่ต้องเสียค่าไฟหน่วยละ 8 บาท 2 เท่า รัฐบาลต้องคิดถึงเรื่องนี้ด้วย

ขณะที่นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)  ชี้แจงว่า กฟน.เป็นผู้ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หารือกับคณะกรรมการกิจการพลังงานแล้วกำหนดอัตรานี้ขึ้นมา ซึ่งส่วนตัวตั้งแต่ทำงานมาปี 2530 เพิ่งเห็นมาตรการอย่างนี้เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน

อย่างไรก็ตามมีการคิดภาพรวมทั้งประเทศไว้แล้วพบผู้ได้รับประโยชน์ 22 ล้านราย วงเงินประมาณ 23,668 ล้านบาท เป็นวงเงินที่รัฐบาลเตรียมตัวเลขนี้ไว้แล้ว และพยายามช่วยเหลือเต็มที่

"สำหรับผู้ได้สิทธิใช้ไฟฟรีก็ดี คงต้องคำนึงถึงประโยชน์ประเทศชาติด้วย อยากให้ใช้ประหยัด อย่าไปเปิดไฟทิ้งไว้อย่างที่มีความเป็นห่วง" นายจาตุรงค์ กล่าว

น.ส.รสนา กล่าวในช่วงท้ายการสนทนาว่า คงไม่มีใครเปิดไฟทิ้งหรอก แนวคิดนี้เหมือนบอกว่าต้องขายของแพงเพื่อให้คนประหยัด ดังนั้นการได้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มนั้นมันไม่ได้ได้มาฟรี ๆ รัฐบาลต้องเอาเงิน 2.3 หมื่นล้านไปจ่ายให้ผู้ผลิตไฟซึ่งคือเอกชน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ