การดูแล “ผู้ป่วยภาวะโรคอ้วน” ลดความเสี่ยง “โควิด-19”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าผู้เสียชีวิตจากโรค โควิด-19 มีโรคประจำตัวร่วมด้วย และ 1 ในโรคประจำตัวที่ติดอันดับนอกเหนือจากโรคมะเร็ง หรือ เบาหวาน คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วน อดีตผู้ป่วยภาวะโรคอ้วน ซึ่งเคยมีน้ำหนักมากถึง 120 กิโลกรัม ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัดจนน้ำหนักลดลงมา การใช้ชีวิต การดูแลตัวเอง

คอนเทนต์แนะนำ
อัปเดตข่าว โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 23 เม.ย. 63
อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 23 เม.ย. 63

นาย อนันตชัย คงจันทร์  อดีตผู้ป่วยภาวะ โรคอ้วน บอกเล่าให้ทีมข่าวฟังว่าก่อนหน้านี้ ตัวเองป่วยด้วยภาวะ โรคอ้วน จากนั้น จะมีโรคอื่นๆ ตามมาที่เรียกว่า โรคชุดประกอบไปด้วย เบาหวาน ความดัน และ หัวใจ

ทางหมอเอง ได้รักษาและให้คำแนะนำว่า ควรจะผ่าตัดเย็บกระเพาะเพื่อลดความเสี่ยง จนกระทั่งสำเร็จ น้ำหนักลดลงเหลือ 75 กิโลกรัม จากเดิมอยู่ที่ 125 กิโลกรัม  แต่ก็ยังต้องดูแลตัวเองเรื่อยมา ทั้งออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มในร่างกายให้ ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่โรค โควิด-19 ระบาด จะต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษกว่าปกติ

เช่นเดียวกับข้อมูลของ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุเทพ อุดมแสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์โรคอ้วน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  บอกว่า ความเสี่ยงสูงของคนที่เป็นโรคอ้วน คือมักเป็นผู้มีโรคอื่นร่วมอยู่ด้วยอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ หากเมื่อใด ได้รับเชื้อ โควิด-19 ภูมิคุ้มกันจะตกลง ส่งผลให้เชื้อ ขยายตัวได้เร็วขึ้น ทำให้อาการแย่ลง หากวิกฤต ก็จะเสี่ยงเสียชีวิตได้ง่าย

ส่วนการตรวจว่าใครมีภาวะโรคอ้วน คนทั่วไปสามารถตรวจวัดได้เองจากดัชนีมวลกาย โดยเอาน้ำหนักตัวหารส่วนสูง จะต้องไม่เกิน 30 BMI แต่ถ้าหากต้องไปหาหมอ  วิธีการวินิจฉัยโรคอ้วนที่ดีที่สุด คือการวัดปริมาณไขมันในร่างกายโดยจะใช้ค่าร้อยละไขมันในร่างกายที่มากกว่า 20 ในเพศชาย หรือมากกว่า 30 ในเพศหญิง

นอกจากนี้ สาเหตุของการมีภาวะโรคอ้วน จะประกอบไปด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์ ฮอร์โมนในร่างกาย หรือ การใช้ยาบางชนิดส่งผลต่อฮอร์โมน ขณะที่ การรักษา แพทย์จะแนะนำให้คุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยาฉีด ยากิน หรือ ผ่าตัดเย็บกระเพาะให้เล็กลง

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ