วัคซีนออกซ์ฟอร์ด ต้านโควิด-19 เริ่มทดสอบในมนุษย์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อังกฤษเป็นเจ้าแรกของยุโรปที่เริ่มการทดสอบวัคซีนต้านโควิด-19 โดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

อังกฤษ เป็นหนึ่งในหลายประเทศทั่วโลกที่มีการศึกษาคิดค้นวัคซีนต้นแบบเพื่อสู้กับโรค โควิด-19 โดยล่าสุด วัคซีนต้นแบบจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเริ่มต้นทำการทดสอบในมนุษย์แล้ว

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 24 เม.ย. 63

อัปเดตข่าว โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 24 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวล่าสุด โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล วันที่ 24 เม.ย. 63

ก้าวแรกของการทดสอบเริ่มต้นในอาสาสมัคร 2 ราย จากอาสาสมัครกว่า 800 คนที่สมัครเข้ามา โดยอาสาสมัครครึ่งหนึ่งจะได้รับ วัคซีนโควิด-19 และอีกครึ่งหนึ่งเป็นวัคซีนควบคุมที่ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไม่ใช่ โควิด-19 เพื่อไม่ให้อาสาสมัครทราบว่าวัคซีนตัวใดที่พวกเขาได้รับ

เอลิซา เกรนาโต (Elisa Granato) 1 ใน 2 อาสาสมัครรายแรกที่ได้รับการฉีดวัคซีนบอกกับสื่อต่างประเทศ BBC ว่า “ฉันเป็นนักวิทยาศาสตร์เหมือนกัน ดังนั้นฉันจึงต้องการสนับสนุนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อรับมือโควิด-19”

วัคซีนดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า “ChAdOx1” ได้รับการพัฒนาขึ้นภายใน 3 เดือนโดยทีมวิจัยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด โดยมี ศ.ซาราห์ กิลเบิร์ต (Sarah Gilbert) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนที่สถาบันเจนเนอร์ (Jenner Institute) เป็นผู้นำการวิจัยในขั้นพรีคลินิก (Pre-Clinical)

เธอบอกว่า “โดยส่วนตัวแล้ว ฉันมีความมั่นใจในระดับสูงกับวัคซีนตัวนี้ แน่นอนว่าเราต้องทดสอบและเก็บข้อมูลจากมนุษย์ เราต้องแสดงให้เห็นว่ามันใช้งานได้จริง และหยุดการติดเชื้อ โควิด-19 ก่อนจะนำไปใช้ในประชากรที่กว้างขึ้น”

ก่อนหน้านี้ ศ.กิลเบิร์ตบอกว่าเธอมีความมั่นใจว่าวัคซีนจะได้ผลอยู่ 80% แต่ตอนนี้เธอไม่ขอบอกความมั่นใจเป็นตัวเลข โดยบอกว่าโอกาสสำเร็จน่าจะเป็นไปในทางที่ดี

เปิดรายละเอียด 70 วัคซีนต้นแบบต้านโควิด-19

ไวรัสโคโรนา, โควิด-19, COVID-19, วัคซีนโควิด, ทดลองวัคซีน, วัคซีนต้านโควิด, วัคซีนออกซ์ฟอร์ด

วัคซีนตัวนี้สร้างขึ้นมาจากไวรัสก่อโรคหวัดที่มีความอ่อนแอจากลิงชิมแปนซี โดยได้รับการดัดแปลงจนไม่สามารถเติบโตในมนุษย์ได้

ทีมออกซ์ฟอร์ดเคยพัฒนาวัคซีนต่อต้านโรคเมอร์ส (MERS) ไวรัสโคโรนาอีกชนิดหนึ่ง โดยครั้งนี้ก็ใช้วิธีการเดียวกันและมีผลลัพธ์ที่ดีในการทดสอบเบื้องต้น

วิธีเดียวที่ทีมจะรู้ได้ว่า วัคซีนโควิด-19 สำเร็จหรือไม่ ต้องเปรียบเทียบจำนวนคนที่ติดเชื้อ โควิด-19 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ภายหลังจากการทดสอบ

นักวิจัยวัคซีนเน้นสรรหาอาสาสมัครที่เป็นบุคลากรการแพทย์ เนื่องจากพวกเขามีโอกาสที่จะสัมผัสกับไวรัส โควิด-19 มากกว่าผู้อื่น

สำหรับอาสาสมัครที่ทดสอบใช้วัคซีนจะต้องถูกสังเกตการณ์อย่างรอบคอบ โดยบางคนอาจมีอาการขางเคียง เช่น เจ็บแขน ปวดหัว หรือเป็น ไข้ใน 2-3 วันแรกหลังฉีดวัคซีน

หาคำตอบ “วัคซีนโควิด-19” ไทยจะได้ร่วมทดสอบหรือไม่?

พวกเขายังบอกด้วยว่า มีความเสี่ยงในทางทฤษฎีว่า ไวรัสอาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงต่อ โควิด-19 ซึ่งเคยเกิดขึ้นในการศึกษาวัคซีนโรคซาร์ส แต่จากข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงของการผลิตวัคซีนแล้วทำให้โรครุนแรงขึ้นนั้นมีน้อยมาก

ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากการทดสอบในมนุษย์ในขั้นแรกนี้เป็นไปด้วยดี ก็จะขยายการทดสอบซึ่งจะมีอาสาสมัครประมาณ 5,000 คน

ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังวางแผนว่า จะผลิตวัคซีนต้นแบบปริมาณ 1 ล้านโดส ให้พร้อมในเดือนกันยายน และจะเตรียมขยายการผลิตหลังจากนั้น หากวัคซีนพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพจริง

 

เรียบเรียงจาก BBC

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ