เบื้องหลังโรงงานผลิตยารักษาโควิด-19 องค์การเภสัชกรรม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ไปดูเบื้องหลังการผลิตยาขององค์การเภสัชกรรม ซึ่งผลิตยากว่า 200 รายการ รวมไปถึงยารักษาโรคโควิด-19 ที่มีความต้องการในขณะนี้ด้วยเช่นกัน

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 27 เม.ย. 63

อัปเดตข่าว โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 27 เม.ย. 63

ปัจจุบันยารักษาโรค โควิด-19 ที่อยู่ในการบริหารจัดการขององค์การเภสัชกรรม ประกอบด้วย ยากลุ่มต่อต้านโรคมาลาเรีย ได้แก่ ยาเม็ดคลอโรควิน (CHLOROQUINE) และ ยากลุ่มต้านเอชไอวี (HIV) ได้แก่ ยาเม็ดสูตรผสม ระหว่าง โลปินาเวีย (LOPINAVIR) กับ ริโทนาเวีย (RITONAVIR), ยาเม็ด ดารุนาเวีย (DARUNAVIR), ยาเม็ดริโทนาเวีย (RITONAVIR) และยารักษาโรคทางเดินหายใจ เช่น ยาเม็ดอะซิโธรมัยซิน (AZITHROMYCIN)

นอกจากนี้ มียา 2 ชนิด ที่ต้องนำเข้ามา คือ ยาเม็ด ไฮดร็อกซี่คลอโรควิน(HYDROXYCHLOROQUINE) และยาที่ได้รับการรับรองจากจีน ว่าใช้รักษา โควิด-19 ได้ คือ ยาเม็ด ฟาวิพิราเวียร์ (FAVIPIRAVIR)

ทั้งนี้แต่อีกไม่นานยาฟาวิพิราเวียร์ ไทยจะสามารถผลิตได้เอง เพราะขณะนี้องค์การเภสัชกรรมมีการเจรจากับบริษัทผลิตวัตถุดิบ หรือ สารตั้งต้น ยาฟาวิพิราเวียร์ ไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อมีการนำเข้ามา จะมีการวิจัยก่อนจะผลิตยาและทดลองประสิทธิภาพ ก่อนนำไปใช้รักษาคนป่วย ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี   สำหรับสารตั้งต้นที่ได้มา จะถูกนำมาไว้ในคลังเก็บวัตถุดิบ

ขณะที่ การผลิตยา จะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือการผลิตยาเม็ด และแคปซูล แต่นอกจากการผลิตยารักษาโรค โควิด-19 แล้ว องค์การเภสัชกรรม ยังเจองานที่ยาก เมื่อต้องเร่งผลิตยาโรคเรื้อรัง ได้แก่ ยารักษาโรคเอดส์ ยาลดความดัน และยารักษาโรคเบาหวาน เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลต้องกระจายให้ผู้ป่วยระยะ 6 เดือน ลดการมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ขณะที่โรงงานผลิตยาก็ยากที่จะหาสารตั้งต้นในห้วงที่ประเทศต้นทางวัตถุดิบประสบปัญหาโรคโควิดไปทั่วโลก

โดยจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค โควิด-19 ต้องยอมรับว่า ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะยุติ หรือเบาบางลงเมื่อไหร่  องค์การเภสัชกรรมจึงต้องวางแผน ผลิตยารักษาผู้ป่วยให้เพียงพอต่อความต้องการได้มากที่สุด

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ