หญิงท้องแก่ จำยอมรับค่าชดเชยครึ่งเดียว หลังถูกเลิกจ้าง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เพจ อยากดังเดี๋ยวจัดให้ V.Plus+ โพสต์ข้อความว่าได้รับแจ้งจากลูกเพจ ว่า มีโรงงานย่านสมุทรปราการจ้างพนักงานออกจำนวนมาก หนึ่งในนั้นเป็นหญิงท้องแก่ 8 เดือน โดยการจ้างออกไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้ ทันทีที่โพสต์ไป มีคนเข้ามาแสดงความเห็นหลากหลาย จนล่าสุดเช้าวันนี้ บริษัท ยื่นข้อเสนอจ่ายเงินชดเชยให้เพียงครึ่งหนึ่ง

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 27 เม.ย. 63

อัปเดตข่าว โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 27 เม.ย. 63

หนังสือเลิกจ้างที่นายจ้างได้เรียกหญิงท้องแก่ 8 เดือน อดีตพนักงานในโรงงานซึ่งทำงานมานานเกือบ 10 ปี เนื้อหาหนังสือระบุเหตุผลการเลิกจ้างว่า เป็นเพราะ เศรษฐกิจตกต่ำ บริษัทขาดทุน แม้จะพยายามหาตำแหน่งอื่นที่เหมาะสมให้กับพนักงานแล้ว แต่พบว่าไม่มีตำแหน่งใดว่างอยู่ จึงขอให้ออกจากงานมีผลตั้งแต่วันที่ 28เม.ย. 2563 เป็นต้นไป  โดยบริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามที่ตกลงกัน

ทีมข่าวพีพีทีวี ลงพื้นที่ พูดคุยกับหญิงคนนี้ ผ่านกรงเหล็กหน้าโรงงาน หลังเธอได้เซ็นเอกสารยินยอมรับสภาพการเลิกจ้าง ซึ่งจะได้รับรับเงินชดเชย 40,000 บาท ซึ่งเป็นเงินครึ่งหนึ่ง จากจำนวนเต็มที่เธอต้องได้รับ 80,000 บาท เนื่องจากตกลงกันแล้ว นายจ้างระบุว่า สามารถจ่ายให้เธอได้เพียงเท่านี้

สาเหตุที่ต้องยอมรับเงินเพียงครึ่งเดียว เนื่องจาก จำเป็นต้องใช้เงินในการคลอดบุตรเดือนหน้า โดยทางโรงงานจะแบ่งจ่ายให้ 2 งวด งวดแรก 20,000 บาท จะจ่ายให้ในเดือนพ.ค. และงวดที่สองอีก 20,000 บาท จะจ่ายให้สิ้นเดือนมิ.ย.

ผู้หญิงคนนี้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ปีนี้บริษัทจ้างพนักงานออกไปแล้วอย่างน้อย 8 คน เกือบทั้งหมด เป็นพนักงานที่มีอายุมากแล้ว พนักงานที่เป็นแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย และ เธอซึ่งเป็นคนท้อง ซึ่งเธอสงสัยว่าเหตุผลที่โดนเลิกจ้างเป็นเพราะบริษัทไม่อยากจ่ายเงินค่าคลอดบุตรให้หรือไม่ แม้ก่อนหน้านี้จะพยายามถามคำถามนี้กับผู้จัดการแต่ก็ถูกบ่ายเบี่ยงไม่ต้องคำถาม

นอกจากนี้เธอยังไม่เชื่อว่าสาเหตุการเลิกจ้างเป็นเพราะ โรงงานประสบปัญหาเศรษฐกิจ เพราะ ที่ผ่านมามีออเดอร์สินค้าเข้ามาตามปกติ

ทนาย เผย เลิกจ้างจ่ายค่าชดเชยต่ำกว่ากม.ไม่ได้

ด้าน นายเดชา กิตติวิทยานันท์ ทนายความเจ้าของเพจทนายคลายทุกข์ ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า นายจ้างจะบังคับหรือให้ลูกจ้างทำข้อตกลงต่าง ๆ ที่ลูกจ้างได้ประโยชน์น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดไม่ได้ อย่างกรณีนี้ การจ่ายเงินชดเชยจะจ่ายเพียงครึ่งเดียวไม่ได้แม้ว่าลูกจ้างจะเซ็นยินยอมไปแล้วก็ตาม

ในกรณีดังกล่าวถือว่ามีความผิดตามกฏหมายแรงงาน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 41 ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 41 ตามอายุงาน หากไม่ยอมจ่ายหรือจ่ายไม่ครบมีโทษจำคุกตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนหนังสือเลิกจ้างหรือเอกสารยินยอมต่าง ๆ ไม่มีผลตามกฏหมายถือเป็นโมฆะ

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ