หญิงท้องแก่ร้องถูกโรงงานเลิกจ้างไม่เป็นธรรม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หญิงท้องแก่ 8 เดือน ออกมาร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม จ่ายเงินชดเชยเพียงครึ่งเดียว แถมนายจ้างยังขาดส่งประกันสังคมนานกว่า 6 เดือน ทั้งที่หักเงินเดือนไปทุกเดือน ทำให้เสียสิทธิทั้งเงินเยียายาตกงานและค่าคลอดบุตร รวมถึงรักษาพยาบาล

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 28 เม.ย. 63

อัปเดตข่าว โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 28 เม.ย. 63

ผู้หญิงท้องแก่วัย 8 เดือน เปิดเผยเรื่องราวว่า  เธอเพิ่งถูกโรงงานแห่งหนึ่งที่เธอทำงานอยู่ใน จังหวัดสมุทรปราการ บอกเลิกจ้างเมื่อวานนี้  โรงงานเรียกเข้าไปเซ็นสัญญาเลิกจ้างโดยไม่บอกล่วงหน้า แม้ในสัญญาจะระบุว่าได้เงินชดเชยแค่เพียงครึ่งเดียว แต่ด้วยความตกใจและกลัวจะไม่ได้เงินเลย จึงยอมเซ็นสัญญา

สิ่งที่เธอกังวลมากที่สุดขณะนี้ คือกลัวว่าทางโรงงานจะผ่อนผันการจ่ายเงินเดือนของเดือนเมษายนออกไป และกังวลว่าจะไม่ได้รับเงินชดเชยตามสัญญาที่ระบุไว้ ถึงแม้จะเป็นเงินแค่ครึ่งเดียวแต่เธอจำเป็นต้องใช้เงินในการคลอดบุตร  นอกจากค่าชดเชยที่จะได้เพียงครึ่งเดียว เธอยังมาทราบภายหลังว่า ทางโรงงานขาดส่งประกันสังคมมานานกว่า 6 เดือนแล้ว ทั้งที่หักเงินทุกเดือน ทำให้เสียสิทธิการว่างงานและเงินคุ้มครองคลอดบุตร

บันทึกข้อตกลงการจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างของโรงงานที่เธอเซ็นสัญญาไป ระบุว่า เหตุที่โรงงานเลิกจ้างเพราะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจและขาดทุน จึงขอจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้างเป็นจำนวนเงิน 42,840 บาท ครึ่งหนึ่งจากจำนวนเต็มประมาณ 80,000 บาท กับอายุงานเกือบ 10 ปี และระบุข้อตกลงด้วยว่าหากลูกจ้างยินยอมรับเงินชดเชยดังกล่าว ลูกจ้างจะไม่มีเรียกร้องเงินอื่นใดจากนายจ้างจากการเลิกจ้างในครั้งนี้

นางสาวจันทนา ศิริมธุรส นักวิชาการแรงงานชำนาญการ รักษาราชการแทนสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ  ในข้อมูลว่า ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ตามอายุงาน หากไม่ยอมจ่ายหรือจ่ายไม่ครบมีโทษจำคุกตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายจ้างจะบังคับหรือให้ลูกจ้างทำข้อตกลงต่าง ๆ ที่ลูกจ้างได้ประโยชน์น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดไม่ได้ อย่างกรณีนี้การจ่ายเงินชดเชยจะจ่ายเพียงครึ่งเดียวไม่ได้แม้ว่าลูกจ้างจะเซ็นยินยอมไปแล้วก็ตาม และมาตรา 43 ยังระบุว่า ห้ามนายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างหญิงเนื่องจากเหตุมีครรภ์ แต่ถ้าเป็นการเลิกจ้างปกติยังสามารถเลิกจ้างได้ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการจ่ายค่าชดเชยและจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับพนักงาน

ตามกฎหมายแรงงานการเลิกจ้างพนักงาน มีการบอกกล่าวล่วงหน้า 2 ประเภท ประเภทแรก คือการแจ้ง มีผลให้ออกทันที ถือว่าผิดกฎหมาย นายจ้างต้องจ่ายเป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าค่าตกใจ ซึ่งจะได้เพิ่มนอกเหนือจากค่าชดเชย และประเภทที่สอง คือการบอกล่วงหน้า แต่ยังให้ทำงานอยู่ ในกรณีนี้ต้องบอกไม่น้อยกว่า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง ถ้าจ่ายค่าจ้าง 2 ครั้ง/เดือน ต้องแจ้งลูกจ้างก่อน 15 วัน

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ