นักวิชาการ เตือน ต้นเหตุปชช.ทวง เงินเยียวยา 5,000 บาท เพราะ หลักคิดผิดแต่แรก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปรากฎการณ์ที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยเดินทางไปที่กระทรวงการคลังเพื่อขอความชัดเจนเรื่อง เงินเยียวยา 5,000 บาท โดยเฉพาะกลุ่มคนที่พยายามก่อเหตุฆ่าตัวตาย สะท้อนว่า ปัญหาเศรษฐกิจระดับล่างเข้าขั้นวิกฤตสวนทางกับการควบคุมโรคโควิด19 ซึ่งรองศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่า ปัญหาทั้งหมดเกิดจากวิธีคิดที่ผิดของกระทรวงการคลัง หลังเลือกใช้วิธีให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์ เงินเยียวยา 5,000 บาท

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 29 เม.ย. 63

ก.คลัง เผย ผู้ผ่านเกณฑ์ รับ เงินเยียวยา 5,000 บ. 10.6 ล้านคน จ่ายครบสัปดาห์แรกเดือนพ.ค.

รองศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่า การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ควรใช้หลักคิดว่า ประชาชนทุกคนต้องได้รับสิทธิ์ถ้วนหน้า จากนั้น จึงนำฐานข้อมูลที่ภาครัฐมีอยู่ ตัดกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19  หรือ มีได้รับการเยียวยารูปแบบอื่นอยู่แล้ว เช่น กลุ่มข้าราชการ  กลุ่มผู้มีสิทธิ์ประกันสังคม ตามมาตรา 33  กลุ่มนักศึกษา และ กลุ่มเกษตรกร

สาเหตุที่คิดว่าแนวทางนี้ดีกว่า เพราะ รองศาสตราจารย์สมชาย มองว่า ปัจจุบันภาครัฐมีข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนน้อยมาก การให้ประชาชนลงทะเบียน ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com และ คัดเลือกผู้มีสิทธิ์ได้รับการ เงินเยียวยา 5,000 บาท  มีช่องโหว่หลายอย่าง ทั้งประชาชนจำนวนไม่น้อยอาจเข้าไม่ถึงระบบการลงทะเบียน  การคัดเลือกของรัฐอาจไม่ละเอียดมากพอที่จะทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับการ เงินเยียวยา 5,000 บาท รวมถึงการคัดเลือกแบบนี้ล่าช้า  แต่ก็มองว่า หากจะมาแก้ไขตอนนี้อาจไม่ทันการแล้ว จึงควรเก็บบทเรียนครั้งนี้ไว้แก้ไขในอนาคต

ก่อนหน้านี้ รองศาสตราจารย์สมชาย ยังร่วมกับนักวิชาการอีกจำนวนหนึ่ง เผยแพร่ผลการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตและคนที่ “ฆ่าตัวตาย” จากโควิด-19 พบว่า 1-21 เมษายนที่ผ่านมา จำนวนคนที่ฆ่าตัวตาย สูงกว่า คนที่เสียชีวิตจากการติด โควิด-19 คือ มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น 38 คน ในจำนวนนี้ มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 28 คน ส่วนคนที่เสียชีวิตจากการติด โควิด-19 ข้อมูลในวันที่ 21 เมษายน พบว่า มีตัวเลขสะสมอยู่ที่ 37 คน

ในจำนวนกลุ่มคนที่ฆ่าตัวตาย มีจำนวนไม่น้อยที่ก่อเหตุเพราะ ไม่ได้รับ เงินเยียวยา 5,000 บาท ประเด็นนี้ รองศาสตราจารย์สมชาย ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนจนเมือง ซึ่งเป็นคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามปกติจะไม่มีเงินสำรองใช้จ่ายมากนัก เพราะ เงินที่มีจะเป็นเงินที่ต้องหมุนใช้จ่ายในแต่ละวัน หรือ หากมีเงินสำรอง ก็จะเพียงพอแค่ 7-10 วันเท่านั้น  แต่หลังมี มาตรการเยียวยาเงิน 5,000 บาท พบว่าจนถึงขณะนี้ ผ่านมากว่า 1 เดือน ยังมีคนที่ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท  รวมถึง คนที่ไม่รู้ว่าจะได้รับ เงินเยียวยา 5,000 บาท หรือไม่อีกจำนวนไม่น้อย

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ