โควิด-19 อาจสร้าง New Normal ความต้องการใช้พลังงานของโลก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โควิด-19 มาแค่ไม่กี่เดือนลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกได้มากกว่าช่วงหลายทศวรรษรวมกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การกำหนดนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป

“ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1850 อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากกว่า 1 องศาเซลเซียส และมันจะเพิ่มขึ้น 3-4 องศาเซลเซียสภายใน 100 ปี นับจากนี้ หากไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง”

มลพิษทั่วโลกลดฮวบช่วงโควิด-19 ระบาด

“ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไป 800 ล้านตัน”

“ช่วงต้นทศวรรษ 1980 หลังวิกฤตการณ์น้ำมันในช่วงปลายทศวรรษ 1970 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไปประมาณ 1,000 ล้านตัน”

“ในช่วงปี 2008-2009 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไป 450 ล้านตัน”

แต่การลดลงในช่วงหลายทศวรรษที่กล่าวมา เทียบไม่ได้กับการลดลงของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในช่วงที่ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 แพร่ระบาด นำไปสู่ การล็อกดาวน์ หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขนส่ง การกักตัวอยู่บ้าน ซึ่งเกิดขึ้นภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งอาจส่งสัญญาณถึงการสร้าง New Normal หรือความปกติดใหม่เรื่องการใช้พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

7 New Normal ที่อาจได้เห็นในสังคมไทยในวันที่ โควิด-19 หายไป

climate change , โลกร้อน , โควิด-19  , ไวรัสโคโรนา  , มลภาวะ  , COVID-19  , คาร์บอนไดออกไซด์ , ชีวิตวิถีใหม่ , ความปกติใหม่ , New Normal , พลังงาน  , ราคาน้ำมัน  , การใช้ไฟฟ้า

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) บอกว่า โลกจะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง 6% ในปีนี้ เป็นการลดลงมากที่สุด หมายความว่า อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีนี้จะลดลง 4-8% หรือคิดเป็น 2,000-3,000  พันล้านตัน ลดลงมากกว่า 6-10 เท่าของการลดลงในช่วงหลายทศวรรษที่กล่าวมาข้างต้น

สาเหตุหลักมาจาก “การเดินทางน้อยลง”

ด้วย มาตรการล็อกดาวน์ สร้าง New Normal ให้กับหลายกิจกรรม นำมาซึ่งการใช้พลังงานและความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกลดลง 30% หรือมากกว่านั้น มากที่สุดในช่วง 90 ปีที่ผ่านมา ดร. Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหาร IEA บอกว่า เป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจในประวัติศาสตร์ของโลกพลังงาน ซึ่งจะส่งผลไปถึงความต้องการใช้ถ่านหินทั่วโลก ที่คาดว่าจะลดลง 8% ในปีนี้ โดยเฉพาะกับประเทศจีน ประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด โควิด-19

ขณะที่  “การลดกิจกรรมขนส่งทางถนน” คือสิ่งที่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงมากที่สุด

ศึกโควิด-19

climate change , โลกร้อน , โควิด-19  , ไวรัสโคโรนา  , มลภาวะ  , COVID-19  , คาร์บอนไดออกไซด์ , ชีวิตวิถีใหม่ , ความปกติใหม่ , New Normal , พลังงาน  , ราคาน้ำมัน  , การใช้ไฟฟ้า

ข้อมูลของ IEA พบว่า กิจกรรมการขนส่งทางถนนโดยเฉลี่ยทั่วโลก ลดลงเหลือ 50% ช่วง 3 เดือนแรกของปี และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ซึ่งส่งผลให้การใช้น้ำมันลดลงตามไปด้วย

"ย้อนกลับไปในช่วงเศรษฐกิจถดถอย วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ปี 2009 ความต้องการน้ำมันเฉลี่ยลดลง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับปี 2008 และขณะนี้ในปี 2020 ความต้องการน้ำมันเฉลี่ยลดลง 10 ล้านบาร์เรลต่อวันน้อยกว่าปี 2019" Erik Holm Reiso จาก Rystad Energy ระบุ

ขณะที่การโดยสารโดยเครื่องบินก็ลดลงอย่างมากๆ เช่นกัน อย่างในยุโรปจำนวนเที่ยวบินลดลงประมาณ 90% ขณะที่สหรัฐฯ มีเหลือเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทำให้ความต้องการน้ำมันสำหรับเครื่องบินลดลง 65% จนถึงเดือนเมษายน ส่งผลไปยังการปล่อยมลพิษทางอากาศมีเพียงประมาณ 3%

climate change , โลกร้อน , โควิด-19  , ไวรัสโคโรนา  , มลภาวะ  , COVID-19  , คาร์บอนไดออกไซด์ , ชีวิตวิถีใหม่ , ความปกติใหม่ , New Normal , พลังงาน  , ราคาน้ำมัน  , การใช้ไฟฟ้า

เมื่อไปดูตามมหานครต่างๆ ของโลกที่มี มาตรการล็อกดาวน์ อย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 72% ขณะที่มหานครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 10% ในช่วงเวลาเดียวกันคือเดือนมีนาคม

นักวิชาการ ชี้ ราคาน้ำมันดิ่ง ไม่กระทบไทย ชนวนใหญ่จากโควิด19 ทำ "น้ำมันล้นโลก" ไม่มีที่เก็บ

climate change , โลกร้อน , โควิด-19  , ไวรัสโคโรนา  , มลภาวะ  , COVID-19  , คาร์บอนไดออกไซด์ , ชีวิตวิถีใหม่ , ความปกติใหม่ , New Normal , พลังงาน  , ราคาน้ำมัน  , การใช้ไฟฟ้า

climate change , โลกร้อน , โควิด-19  , ไวรัสโคโรนา  , มลภาวะ  , COVID-19  , คาร์บอนไดออกไซด์ , ชีวิตวิถีใหม่ , ความปกติใหม่ , New Normal , พลังงาน  , ราคาน้ำมัน  , การใช้ไฟฟ้า

พวกเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางมลภาวะที่เต็มไปด้วยมลภาวะช่วงก่อนหน้านี้เป็นเวลานับทศวรรษ โควิด-19 มาเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่มันกลับทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดน้อยลง

ดังนั้น หากเป็นไปตามที่คาดการณ์ว่า โควิด-19 มีผลทำให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกลดลงเฉลี่ย 5% และยังคงลดลงแบบนี้ทุกๆ ปี โดยไม่ใช่จากการแพร่ระบาดของโรคแต่มาจากการใช้พลังงานสะอาด หรือเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ภายในปี 2050 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็อาจจะเหลือ 0

ให้ภาพเล่าเรื่อง "กรุงปารีส" ในสถานการณ์โควิด-19

จากความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นักวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศหวังว่าจะนำไปสู่การ New Normal ของการทำนโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

นักวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศหลายคนมองโลกในแง่ดีว่าโรคระบาดร้ายแรงครั้งนี้ได้สอนบทเรียนสำคัญ ๆ ที่รัฐบาลจะสามารถนำไปใช้กับปัญหาโลกร้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นความความท้าทายที่ยิ่งใหญ่”

เรียบเรียงจาก BBC / สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ