ทอ.ผลิตอุปกรณ์ป้องกัน โควิด-19 มอบให้แท็กซี่ สร้างความมั่นใจให้ผู้โดยสาร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กองทัพอากาศ มอบอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด-19 ในรถแท็กซี่ให้สหกรณ์และอู่แท็กซี่" สร้างความมั่นใจให้ผู้โดยสาร

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 7 พ.ค. 63

อัปเดตข่าว โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 7 พ.ค. 63 พบผู้ป่วยเพิ่ม 3 ราย

จากกรณีที่มีการตรวจพบคนขับรถแท็กซี่ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 จากการสัมผัสกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจในการใช้บริการรถแท็กซี่ ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ลดลง คนขับรถแท็กซี่มีรายได้ลดลง จนอาจทำให้สหกรณ์หรืออู่ที่ให้บริการเช่าแท็กซี่อาจต้องปิดกิจการไป 

อาจารย์ ม.เกษตร แนะใช้สบู่ล้างมือแทนแอลกอฮอลล์ได้ ป้องกันโควิด-19

วันนี้ 7 พ.ค. 2563 พล.อ.ต. กิจสม  พันธุ์โกศล รองเจ้ากรมช่างอากาศ เป็นผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ มอบอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ โควิด-19 ในรถแท็กซี่ หรือ Taxi Bulkhead Barrier ให้แก่ สหกรณ์แท็กซี่ทองคำสุวรรณภูมิ, อู่แท็กซี่บางซ่อน, อู่แท็กซี่ประดิพัทธ์, อู่เจ๊อร พระราม 5 และบริษัท เอกราช ทรานสปอร์ต จำกัด ซึ่งกองทัพอากาศได้จัดสร้างเป็นต้นแบบเพื่อนำไปผลิตเองในต้นทุนต่ำและติดตั้งใช้งานในรถแท็กซี่ ซึ่งสามารถติดตั้งและถอดได้ง่าย รวดเร็ว (Quick De-Assembly) โดยไม่ต้องดัดแปลงตัวถังรถและอุปกรณ์เดิมของรถ ลดโอกาสในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการแท็กซี่และคนขับแท็กซี่ ในโอกาสนี้ทีมวิศวกรกรมช่างอากาศได้มอบแบบพิมพ์เขียวให้สหกรณ์หรืออู่แท็กซี่ เพื่อนำไปผลิตใช้งานและพัฒนาต่อยอดในอนาคตด้วย

ขสมก.หวั่นรักษาระยะห่างยาก หากคนกลับมาทำงาน

 สำหรับอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ โควิด-19 ในรถแท็กซี่ หรือ Taxi Bulkhead Barrier ที่จัดสร้างโดยกรมช่างอากาศใช้โมเดลรถ Toyota Altis 2017-2018 เป็นแม่แบบการผลิต โครงสร้างหลักทำจากแผ่นโพลิคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความโปร่งใส แข็งแรง ต้านทานการขีดข่วนได้ดี ติดตั้งพัดลมดูดอากาศไปและกลับ รวม 6 ตัว ทำให้มีการหมุนเวียนของอากาศระหว่างห้องคนขับกับห้องผู้โดยสารเป็นอย่างดีและไม่มีเสียงรบกวน

พร้อมติดตั้งชุดกรองอากาศ HEPA (High Efficiency Particulate Air Filter : HEPA) ซึ่งสามารถกรองฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน เชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย จากละอองฝอยสารคัดหลั่งทางน้ำลายที่ล่องลอยอยู่บนอากาศ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุจากภายในประเทศที่หาซื้อได้ทั่วไป มีต้นทุนการผลิตประมาณ 2,700 บาทเศษต่อชุด

ไวรัสโคโรนา : สธ.ย้ำอย่าวิตก “คนขับแท็กซี่” เมื่อป่วยหยุดขับรถทันที ตัดวงจรแพร่ระบาด

ทั้งนี้กองทัพอากาศมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ขีดความสามารถของบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ของกองทัพอากาศ ในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ตลอดจนช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย

ผู้ว่าฯ ตั้งคกก. สอบ อบจ.สระบุรี ซื้ออุปกรณ์ป้องกัน โควิด-19 แพง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ