อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี อธิบายชัด การฟื้นฟูกิจการ กับ การล้มละลาย เป็นถนนคนละเส้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบายชัด “การฟื้นฟูกิจการ” (Reorganization) ตามกฎหมายล้มละลาย  ไม่ใช่การล้มละลายหรือการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หลังคนสับสน “การฟื้นฟูกิจการ” ตามกฎหมายล้มละลาย กับการล้มละลาย

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งเคยเป็นอดีตอธิบดีกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ช่วง ก.ค. 2557 – เม.ย.2562 ได้อธิบายเรื่องของ “การฟื้นฟูกิจการ” (Reorganization) ตามกฎหมายล้มละลาย จากกรณีของ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า

"คนร."ไฟเขียวการบินไทยเข้าแผนฟื้นฟูตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 19 พ.ค. 63

“การฟื้นฟูกิจการไม่ใช่การล้มละลาย หรือการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์” แต่อาจเป็นเพราะบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย จึงอาจทำให้บางคนเข้าใจว่า การยื่นขอฟื้นฟูกิจการคือการยื่นขอล้มละลาย และคงเป็นเพราะในประเทศสหรัฐอเมริกา บางคนได้ยินคำว่า Chapter 11 การฟื้นฟูกิจการก็บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลายเช่นเดียวกัน ดังนั้น การฟื้นฟูกิจการกับการล้มละลาย จึงเป็นถนนคนละเส้นคนละสายอย่างแน่นอน

ขั้นตอน "การฟื้นฟูกิจการ" หลังยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง

สหภาพบินไทย ค้าน ก.คลัง ลดสัดส่วนถือหุ้นลง 2%

ความต่างที่ชัดเจน...

การฟื้นฟูกิจการถือเป็นการรักษาให้กิจการยังคงสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ หรือพูดง่าย ๆ ว่า ผู้ยื่นขอให้มีการฟื้นฟูกิจการต้องการรักษาความเป็นกิจการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง (going concern) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ทั้งหลายทั้งเจ้าหนี้ภายในและต่างประเทศ และที่ขาดไม่ได้คือ จะเปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำงาน และแผนธุรกิจ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาจมีผู้บริหารมืออาชีพจากภายนอกบริษัทมาร่วมดำเนินการ

นายกฯ รอตัดสินใจรับข้อเสนอล้มละลาย "การบินไทย"

ในขณะที่การล้มละลาย หรือการถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น จะไม่ได้เป็นการทำให้ธุรกิจดำเนินการได้ต่อเนื่อง แต่เป็นการมุ่งไปสู่กระบวนการค้นหาและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำมาแบ่งให้กับเจ้าหนี้ โดยการยึดหรืออายัดและนำมาขายทอดตลาด และในขณะที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี จะเป็นผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

ทางสองแพร่ง “การบินไทย”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ