"กระแสเงินสด" เส้นเลือดสำคัญธุรกิจ เอสเอ็มอี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เศรษฐกิจในช่วงนี้ทำเอาผู้ประกอบการหลายคนเริ่มมีปัญหาอย่างหนัก วันนี้จะพาไปดูวิธีการบริหารจัดการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกันบ้าง อะไรคือสิ่งสำคัญที่จะพาธุรกิจอยู่รอดไปได้ และเขาปรับตัวกันอย่างไรบ้าง

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 19 พ.ค. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 19 พ.ค. 63

หนึ่งในผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างผู้ผลิตหลังคาและโครงสร้างเหล็กคุณภาพสูง ได้รับผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 ต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการเก็บเงินค่าจ้างและงานที่ต้องเลื่อนออกไป จากปกติที่ใช้เวลาราว 30 วัน ถูกเลื่อนเป็น 60-90 วัน ส่งผลให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ในกาดูแลพนักงานกว่า 150 ชีวิต โดยไม่มีลดคนหรือปลดพนักงาน ซึ่งย้ำว่า สิ่งที่ต้องในธุรกิจบริหารจัดการไม่ใช่กำไร-ขาดทุน แต่เป็นกระแสเงินสด ที่ต้องบริหารจัดการไว้ให้มีเงินหมุนเวียนได้อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 3 เดือน

อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการศึกษา โรงเรียนเอกชนหลายแห่งได้รับผลกระทบจากการเลื่อนเปิดเทอม การเลื่อนจัดเก็บค่าเทอมจากผู้ปกครอง ล้วนส่งผลให้โรงเรียนขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทั้งการดูแลว่าจ้างครูผู้สอนและบุคคลากรของโรงเรียนที่มีค่าใช้จ่ายหลัก 10 ล้านต่อเดือน 

ทั้ง 2 ธุรกิจนี้  จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากธนาคารกรุงเทพ ผ่านสินเชื่อพิเศษจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เปิดให้ผู้ประกอบการ SMEs ยื่นขอกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดคงค้างสินเชื่อของลูกค้าผู้ประกอบการ ณ สิ้นเดือนธ.ค. 2562 อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% เป็นเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ยให้ในช่วง 6 เดือนแรก

นอกจากนี้ ทางธนาคารฯยังมีมาตรการเลื่อนกำหนดหรือพักชำระหนี้ให้ผู้ประกอบการอีกด้วย เมื่อทั้ง 2 ธุรกิจ ได้รับกระแสเงินสดไปหมุนเวียนธุรกิจ ก็สามารถเดินหน้าต่อ ปรับตัวได้อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะโรงเรียนแห่งนี้ที่จัดโครงการ MIS Teacher delivery ส่งคุณครู 2 ท่านไปดูแลพิเศษที่บ้าน พร้อมกับการสอนออนไลน์ที่มีครูชาวต่างชาติเป็นผู้สอนหลัก ควบคู่ไปกับคุณครูผู้ช่วยที่คอยอธิบายเพิ่มเติมในช่องสนทนา เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ปกครองที่มีปัญหาสามารถรับมือกับลูกๆได้ และเด็กๆก็พร้อมกลับมาเรียนในห้องเรียนได้ทันที เมื่อเปิดการเรียนการสอนตามปกติ

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ