เปิดขั้นตอนการพัฒนาต้นแบบวัคซีน โควิด-19 ฝีมือนักวิจัยไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การวิจัยพัฒนาต้นแบบวัคซีน โควิด-19 จากทีมวิจัยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความคืบหน้าการทดลองมากที่สุดในขณะนี้ มีขั้นตอนและวิธีการพัฒนาวัคซีนอย่างไร

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 21 พ.ค. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 21 พ.ค. 63

การผลิตวัคซีน โควิด-19 ภายใต้การดูแลของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีทั้งหมด 7 ต้นแบบ ใน 3 เทคโนโลยี ประกอบด้วย DNA วัคซีน คือ การนำ DNA ที่มีความสามารถในการผลิตแอนติเจนเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อ โควิด-19

mRNA เป็นชิ้นส่วนหนึ่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ฉีดเข้าไปในร่างกายให้เซลล์ดูดซึม แล้วผลิตแอนติเจน กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน การใช้โปรตีนสกัดจากต้นยาสูบที่มีชิ้นส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ฉีดเข้าไปร่างกายเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

เมื่อได้ต้นแบบวัคซีนแล้ว จะถูกนำไปฉีดในสัตว์ทดลอง คือ หนูขาว หากอุณหภูมิได้เป็นที่น่าพอใจ ก็จะนำไปทดสอบกับลิง จากนั้นรอประมาณ 2-3 เดือน คณะวิจัยจะตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือดของสัตว์ทดลอง

เมื่อได้วัคซีนที่ดีที่สุด จะเข้าสู่กระบวนการผลิตวัคซีนต้นแบบ ในลอตแรกจำนวน 10,000 โดส โดยจ้างโรงงานในประเทศสหรัฐอเมริกาผลิต แล้วจะนำมาทดสอบในอาสาสมัคร 3 เฟส

เฟส 1 ทดสอบในอาสาสมัคร 15 คน ต่อกลุ่ม ด้วยโดสต่ำ ขนาดกลาง หรือ โดสสูง รวมอาสาสมัครหลายกลุ่มไม่เกิน 100 คน ใช้ระยะเวลา 2-3 เดือน

เฟส 2 ทดสอบในอาสาสมัคร 500 คน ใช้ระยะเวลา 4-5 เดือน

เฟส 3 ทดสอบในอาสาสมัคร 3000-5000 คน ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน

เมื่อผลในมนุษย์เป็นที่น่าพอใจ เตรียมการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทต่างประเทศ มาเร่งการผลิตในโรงงานผลิตวัคซีนในไทย เพื่อใช้กับกลุ่มบุคคลทั่วไปได้เร็วสุดภายในเดือนต.ค.2564 รวมทั้งสิ้นกว่า 1 ปี

การพัฒนาวัคซีนจาก ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์ คาดหวังว่าจะได้วัคซีนที่มีราคาไม่เกิน 1,000 บาทต่อโดส เพื่อการเข้าถึงได้ทุกภาคส่วน เมื่อคาดการณ์ต้นทุนพบว่า ผลิตจำนวน 2 ล้านโดส ค่าวัคซีนจะอยู่ที่ไม่เกิน 700 บาทต่อเข็ม และถ้าต้องผลิตให้ครบจำนวนประชากร 60 ล้านโดส ราคาจะถูกลง

ปัจจุบันนี้มีรายงานการผลิตวัคซีน โควิด-19 ต้นแบบ 115 ชนิด ถ้ารวมวัคซีนต้นแบบที่กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหิดล ศิริราชพยาบาล และหน่วยงานอื่น จะมีมากกว่า 120 ชนิด ส่วนประเทศที่พัฒนาวัคซีนระยะ 2 แล้วมี 5 ประเทศ ได้แก่ จีน, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, เยอรมนี และแคนาดา

สำหรับวัคซีนตัวนี้ ล่าสุดได้ผลการทดลองจากหนู เป็นที่น่าพึงพอใจ และได้รับการเปิดเผยจาก นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.วานนี้ ด้วยว่า สัปดาห์หน้าจะเริ่มมีการทดลองกับ ลิง

ศบค. เผยเตรียมทดลองวัคซีน โควิด-19 ในลิงสัปดาห์หน้า

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ