โควิด-19 กลายพันธุ์ ไม่กระทบวัคซีน ยัน มีเทคโนโลยีใหม่ ช่วยนักวิจัยรู้ทัน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์โควิด-19 กับมุมความหวัง และความกังวล เป็นเรื่องเป็นข่าว เริ่มที่ความหวัง เป็นความหวังด้านการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ว่าจะเข้ามาช่วยคลี่คลายสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 22 พ.ค. 63

อิสราเอลพัฒนาวัคซีนแอนติบอดีต้าน โควิด-19 สำเร็จ

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ต้นสัปดาห์หน้าเราจะเริ่มทดสอบวัคซีนต้นแบบในลิง นี่เป็นหนึ่งในห้าแบบวัคซีนที่ทีมนักวิจัยไทยกำลังพัฒนา ซึ่งแต่ละแบบมีขั้นตอนการดำเนินการต่างกัน

สำหรับวัคซีนต้นแบบที่มีความคืบหน้าในการทดลองนั้นมี 2 แบบ คือ ดีเอ็นเอวัคซีน และเอ็มอาร์เอ็นเอวัคซีน ซึ่งตอนนี้ผ่านการทดสอบในหนูแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงเดินหน้าทดสอบในลิง คาดว่าใช้เวลาอีก 3 เดือนจะประเมินผลว่ามีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน

สำหรับการทดสอบในคนนั้นมีด้วยกัน 3 ระยะ เริ่มจากคนหลักสิบเพื่อประเมินความเป็นพิษ หรือผลข้างเคียง ระยะที่สอง ใช้คนหลักร้อย เพื่อดูภูมิคุ้มกัน ถ้าได้ผลดีก็จะเข้าระยะสาม ใช้คนจำนวนหลักพัน เพื่อดูการป้องกันโรคว่าป้องกันได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากเป็นไปตามแผนคาดว่าประมาณกลางปีหน้าจะเห็นผลว่าเป็นอย่างไร แต่ก็ต้องเผื่อใจไว้ด้วยถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น

วัคซีนออกซ์ฟอร์ด ต้านโควิด-19 เริ่มทดสอบในมนุษย์

เมื่อถามว่าหากไวรัสโคโรนา 2019 มีการกลายพันธุ์แล้ววัคซีนจะใช้ได้หรือไม่ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ บอกว่า ข้อดีของเทคโนโลยีผลิตวัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้คือเราทำ 2 อย่าง คือ 1.โครงสร้างวัคซีน 2.ชนิดของไวรัสที่ใช้ ก็หวังว่าหากไวรัสกลายพันธุ์ก็สามารถพัฒนาวัคซีนตามไป หรือทำล่วงหน้าไวรัสที่กลายพันธุ์ไว้ได้

"โอกาศกลายพันธุ์มันมี ประเทศไทยก็ติดตามเรื่องนี้อยู่ หากมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไวรัสเราก็สามารถติดตามเพื่อเตรียมการล่วงหน้าได้ แต่ในขณะนี้เชื้อไวรัสตัวนี้ทั้งของไทยและทั่วโลกมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนักจึงยังไม่ห่วงมากนักในเรื่องนี้แต่ก็ต้องติดตามต่อไปเพราะโอกาสเกิดขึ้นมันมี"

นักวิทยาศาสตร์จีนพบโควิด-19 กลายพันธุ์ไป 33 สายพันธุ์

ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคในระลอก 2 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ ระบุว่า ทุกประเทศที่คลายล็อกต้องเจอกับการระบาดระลอก 2 แน่นอนเพียงแต่จะช้าจะเร็ว จะน้อยหรือมากเท่านั้น ซึ่งปัจจัยสำคัญคือ ความมีวินัย ความพร้อมเพรียงในการป้องกันของประชาชน ซึ่งก็คือ หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระบบของห้างฯ ร้าน ระบบขนส่ง ถ้าจัดการได้ดีก็ช่วยได้

รศ.นพ.ธีระ บอกว่า ตอนนี้การ์ดของเราดูเหมือนจะอ่อนลงก็เหมือนช่วงชิงจังหวะระหว่างเรากับไวรัสว่าใครจะได้จังหวะก่อนกันดังนั้นต้องระวังอย่างยิ่ง

"จิ๊กซอว์ที่ขาดหายไปตอนนี้สำหรับเมืองไทยคือการทำงาน ทำอย่างไรให้ธุรกิจปรับการทำงานโดยลดจำนวนคนลง ไม่ได้หมายเลย์ออฟ แต่หมายถึงจัดระบบงานเตรียมพร้อมรับมือ เช่น แบ่งทีมสลับกันทำงาน หรือทำงานที่บ้านได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ในงานที่จำเป็นและทำได้"

โลกจะเป็นอย่างไร หากพัฒนาวัคซีน โควิด-19 ไม่สำเร็จ?

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ