คุยกับจิตแพทย์ "ปฐมพยาบาลใจ ก้าวผ่านโรคซึมเศร้า" จากโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ช่วงที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวการ ฆ่าตัวตาย บ่อยขึ้น แต่จะฟันธงว่าเป็นเพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 เสียทีเดียวคงไม่ได้ แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า โควิด-19 มีผลกระทบบางอย่างต่อชีวิตความเป็นอยู่ของหลายๆคนด้วยเหมือนกัน หนึ่งในนั้น คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การถูกเลิกจ้าง โรงงานปิด การลดเงินเดือน เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดเริ่มต้น ของความเครียด เมื่อความเครียดยืดเยื้อ ยาวนาน ก็นำมาสู่โรคซึมเศร้า และสุดท้ายอาจนำมาสู่เรื่องเศร้าของการตัดสินใจ จบชีวิตตัวเอง

นิวมีเดีย พีพีทีวี  มีโอกาสพูดคุยกับ พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์เด็ก และวัยรุ่น หรือ คุณหมอเอ๋ ผู้เขียนหนังสือ จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้ หนังสือที่พูดถึง สัญญาณของอาการ “ซึมเศร้า”? แบบเข้าใจง่าย ๆ พร้อมเคสตัวอย่าง รวมอยู่ใน 10 บท ซึ่งจะทำให้เรามองเห็นก้อนภูเขาน้ำแข็งในจิตใจของตัวเองและเข้าใจมัน

ศบค. รับ "ฆ่าตัวตาย" เป็นปัญหาใหญ่ ชี้ต้องแก้ให้ตรงจุด

คุณหมอเอ๋ เริ่มต้นบทสนทนาด้วยข้อมูลที่น่าสนใจว่า อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ช่วงเดือนมกราคม - เมษายน เมื่อเทียบกันระหว่างปี 2562 กับ ปี 2563 พบว่า ปี 2562 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ 2.1 ต่อ ประชากร 1 แสนคน ขณะที่ในปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มขึ้นมาเป็น 2.9  ต่อประชากร 1 แสนคน

“โรคซึมเศร้า” เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด

และถ้ามีดู 4 สาเหตุหลักทำให้ “คนตัดสินใจฆ่าตัวตาย” คือ

- ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

- สุรา ยาเสพติด

- โรคประจำตัว

- ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

แต่....ช่วงที่ผ่านมา “ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ” เข้ามามีนัยยะสำคัญเมื่อค่าออกมาเป็น “ลบ” ขณะที่ ความสัมพันธ์ก็ดี สุรายาเสพติดก็ดี ผลออกมามีค่าเป็น "บวก" ในทางการแพทย์ คุณหมอเอ๋อธิบายว่า :

โรคซึมเศร้า! มหันตภัยร้าย คร่าชีวิต

“การฆ่าตัวตายมีหลายสาเหตุ สาเหตุหลักคือ ความผิดหวังของสัมพันธภาพ อย่างการทะเลาะกัน สูญเสียคนรัก คนที่เราอยู่ใกล้ชิดจากไป หรือทะเลาะกัน หย่าร้างกัน ปัญหาสัมพันธภาพเป็นปัญหาหนึ่งของเหตุที่จะทำให้คนเราฆ่าตัวตาย สองคือปัญหาการติดสุรา สารเสพติดถ้าเราใช้สารเสพติด มันจะไปเปลี่ยนสารสื่อประสาทอย่าง แล้วคนที่เสพหนักก็จะส่งผลให้มีความก้าวร้าว ถ้ามีความก้าวร้าวกับตัวเองก็ฆ่าตัวตาย ถ้าก้าวร้าวกับคนอื่นก็ทำร้ายคนอื่น  สามโรคประจำตัว โรคร้ายเป็นมะเร็ง ติดเอดส์ เป็นโรคร้ายบางอย่าง หรือการป่วยจิตเวชที่มีอยู่แล้ว ก็ทำให้เขาตัดสินใจฆ่าตัวตาย สุดท้าย “เศรษฐกิจซึ่งช่วงนี้มีผล TOP UP ขึ้นมา มองได้ว่าช่วงที่ Work From Home คนไม่ออกจากบ้าน มีโอกาสได้อยู่ใกล้ชิดคนในครอบครัวมากขึ้น ความสัมพันธ์ที่มันเป็นปัจจัยลบ ก่อนหน้านี้กลับเป็นปัจจัยบวก ถ้อยทีถ้อยอาศัย เข้าใจกันดีขึ้น ส่วนการใช้สุรา มีการงดการขายสุรา ไม่ให้ขายสุรา ปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ ก็ลดปัญหาจากการดื่มสุราไปเยอะ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น”

แท็กซี่ปีนสะพานพุทธ “เลิกคิดฆ่าตัวตาย”ขอสู้เพื่อครอบครัว

เปิดใจแท็กซี่ ปีนสะพานพุทธฯ พบ โทรหาก.คลัง กว่า 100 สาย แต่ไม่ติด

แต่ยังมีข้อมูลบางอย่างที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกคือ “บุคลากรทางการแพทย์” กลับเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงและต้องเฝ้าระวังอันเป็นผลพวงมาจาก “ความเครียด”

“บุคลากรทางการแพทย์ ก็จะเสี่ยงกับภาวะหมดไฟ มีความเครียด ถ้าเขาดูแลคนไข้เขาต้องกักตัวเอง 14 วันเพราะเขาจะนำเชื้อโรคกลับไปสู่ที่บ้าน เพราะฉะนั้นมี 4 กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง  ที่ผ่านมา บุคคลากรทางการแพทย์ เป็นกลุ่มใหม่ในช่วงระบาดเพราะต้องผลัดเวรกันมาทำงานอย่างต่อเนื่อง เหมือนถ้าง่ายๆ คือ มัวแต่ดูแลคนอื่นจนลืมดูแลตัวเอง”

และจากการสำรวจระดับความเครียดที่ปกติค่าจะอยู่ที่ 7% ในเดือนมีนาคมพบว่า ระดับความเครียด บุคลากรทางการแพทย์ อยู่ที่ 6% แต่ เดือนเมษายนอยู่ที่ 10%

แนวหน้าสาหัส! โควิด-19 คร่าชีวิตบุคลากรการแพทย์ทั่วโลก

แพทย์ฉุกเฉิน รักษาผู้ป่วยหลังตัวเองหายจาก โควิด-19 ฆ่าตัวตาย

ในภาพรวม คุณหมอเอ๋ มองว่าทุกคนมีความเสี่ยงหมด เพียงแต่จะมีกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังช่วงนี้ ซึ่งนอกจากบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังต้องเฝ้าระวัง “กลุ่มที่ติดเชื้อ หรือกลุ่มที่ต้องโดนกักตัว ไม่ว่าจะเป็นที่กักกันของราชการ ท้องถิ่น หรือ กักกันที่บ้าน” กลุ่มที่ 2 ประชาชนทั่วไป จากการเสพข่าว หรือกังวลว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจจะติดเชื้อเอง  3.คือ กลุ่มเปราะบาง  เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง เด็ก ผู้ป่วยทางจิต ผู้ป่วยเรื้อรังทางกายซึ่งมีความเปราะบางอยู่แล้ว

ทางออกของการ “ปฐมพยาบาลทางใจ” ให้ไม่ว่าจะ ซึม จะ เศร้า เราต้องผ่านได้

“โควิด-19” ต้นเหตุ ทำคนคิดฆ่าตัวตาย หนีวิกฤต

เพราะความ เครียดถ้าไม่ได้บริหารความเครียด อาจจะต่อยอดเป็นอารมณ์เศร้าต่อเนื่องเป็นภาวะซึมเศร้า มันมีหลายระดับ ระดับเล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง ถ้ารุนแรงอาจส่งผลให้เขาคิดสั้นไม่อยากอยู่ คุณหมอเอ๋ แนะนำให้ทำแบบประเมิน อาการของโรคซึมเศร้า 9 ข้อ  เพื่อเช็กการเปลี่ยนแปลงอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อทอ สิ้นหวัง กับอารมณ์เบื่อหน่าย ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรเลย ไม่อยากลุกขึ้นมารับประทานข้าว ไม่อยากลุกออกจากที่นอน ส่งผลทำให้ร่างกาย รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง  ทำอะไรเชื่องช้า ส่งผลกับสมาธิ ลืมง่าย ได้หน้าลืมหลัง ไม่จำ ส่งผลร่างกาย กิน นอน เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่กินน้อยลง น้ำหนักลดมาก บางรายรับประทานมากกว่าปกติ นอนหลับๆ ตื่นๆ นอนไม่หลับ ส่วนน้อยที่จะหลับมาก กระทบความคิดที่เปลี่ยนแปลงไป ทุกอย่างโทษตัวเอง เป็นความผิดของตัวเอง ไม่มีค่า ไม่มีความสำคัญไม่มีใครสนใจ สุดท้ายคิดร้ายต่อตัวเอง คิดทำร้ายตัวเองถึงขั้นฆ่าตัวตาย

ดังนั้น อันดับแรกจัดการกับความเครียด ด้วย 5 อ.

1. “อาหาร”รับประทานให้ครบ 5 หมู่ แม้จะรู้สึกว่าไม่อยากรับประทานก็ต้องทาน เพราะมันเป็นหน้าที่เติมความสมบูรณ์ให้ร่างกาย

2. สูด “อากาศที่บริสุทธิ์” อย่าหมกหมุ่นหรือกักตัวอยู่ในบ้าน ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์บ้าง ในที่นี่รวม อ.ที่ 3 คือ การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สดชื่น

4. “อารมณ์” ความเครียดเป็นอารมณ์อย่างหนึ่ง เราต้องบริหารความเครียด หลายๆ อย่างที่เคยทำแล้วสดชื่น สบายใจ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ทำอาหาร เย็บปักถักร้อย หรือกิจกรรมที่เราไม่มีเวลทำก่อนหน้านี้

5.การที่เราขับถ่ายที่ปกติ “อุจจาระ” อย่าปล่อยในท้องผูก เพราะมันจะสะสมสารพิษในระบบลำไส้ จะส่งผลต่อหลายๆ เรื่อง บางคนปวดท้องไม่ถ่ายอาจจะส่งผลต่ออารมณ์ได้ สรุปคือ ทุกๆ อย่างมันเกี่ยวข้องกัน “ใจเป็นนายร่างกายเป็นบ่าว บางอย่างใจไม่สบายส่งผลทางร่างกาย”

อีกมุมมองหนึ่งคือ “คนใกล้ชิด” มีคำถามเกินขึ้นว่า ถ้าเราต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้า วิธีสังเกต หรือ การให้กำลังก็ดี ควรทำอย่างไร คุณหมอเอ๋ แนะนำว่า “ไปอยู่ข้างๆ เขา”  

4 เดือนปชช.ฆ่าตัวตาย หนีพิษศก.กว่า 10 ครั้ง “สมคิด” ชี้ อย่าเสพข่าวโซเชียลมากไป

“เขาอาจจะเหมือนอยากอยู่ตัวคนเดียว คิดเอง เออเอง ก็เหมือนกับโดดเดี่ยว ไม่มีใครสนใจ จะยิ่งไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้น เคล็ดลับเล็กๆ คือเหมือนไปจีบ ไปนั่งใกล้ๆ ก่อน ชวนพูด ชวนคุย แรกๆ เขาก็อาจจะยังไม่พูด เราก็อาจจะบอก มีอะไรบอกเล่าได้นะ เราอยู่ตรงนี้แล้วกัน บางคนผลักไส เราอยู่ได้ ปากกับใจไม่ตรงกัน จริงๆ บอกไปเถอะๆ แต่ลึกๆ ในใจบอกว่า “อยู่ด้วย ฉันต้องการผู้ช่วย ฉันต้องการทีม”

นอกจากนั้นแล้ว “การใส่ใจรับฟัง” คือวิธีที่ดีที่สุด แต่ “เพื่อนจะไม่สั่งไม่สอนเพื่อน ไม่ต้องแนะนำ” แต่เสนอตัวช่วยเหลือได้

ให้เขาได้ระบายความทุกข์ที่อยู่ในใจออกมา คุณหมอเอ๋ เปรียบเทียบว่า ใจก็เหมือนถังน้ำ มีความทุกข์ มีหนองอยู่ ถ้าได้เทออกมาด้วยการระบายให้ใครสักคนฟัง โดยคนคนนั้นรับฟังด้วยใจ ไม่ตัดสิน เหมือนเป็นเพื่อนร่วมทีม เพื่อนจะไม่สั่งไม่สอนเพื่อน ไม่ต้องแนะนำ เหมือนเขามีน้ำดำอยู่ เขาเทออกมา ก็จะมีช่องว่าง  จากนั้นเสนอตัวช่วยเหลือ หรือ ส่งต่อเชื่อมโยง ในกับ กรมสุขภาพจิต เช่น สายฮอตไลน์ 1323 แต่ถ้าในระดับปานกลาง เช่น เริ่มมีผลกระทบด้านร่างกาย น้ำหนักลด การกินนอนผิดปกติ ความคิด ความรับผิดชอบลดลง อันนี้อาจจะต้องส่งต่อหรือหาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนรุนแรงที่เสี่ยงคิดสั้น คือเริ่มสังเกตว่า เพื่อนมีความคิดลบที่มีกับตัวเอง ความผิดทุกอย่างเป็นของฉัน ถ้าฉันไม่อยู่สักคนโลกใบนี้น่าจะดีขึ้น อยู่ไปทำไม โลกใบนี้คงจะดีขึ้น อยู่ไปทำไม ความหมายของชีวิตคืออะไร ถ้าเริ่มมีความคิดผิดปกติ เป็นสัญญษณว่าน่ากลัวแล้ว เพราะถ้าเขาคิดว่าไม่มีค่ามีความสำคัญกับโลกใบนี้ มีความเสี่ยงว่าเขาจะคิดสั้นได้

สังเกตจากโซเชียลมีเดีย และใช้ I MASSAGE ซึ่งช่วยได้มาก

คุณหมอเอ๋ แนะนำว่า สังเกตการโพสต์หรือการแชร์ที่เปลี่ยนไป บางคนอาจจะเริ่มที่รูปโปรไฟล์ หรือโพสต์ที่น่าสงสัย เช่น โพสต์ขอบคุณ ขอโทษ หรือว่าบอกว่าเป็นความผิดของเขา มันทุกข์ทรมานเหลือเกิน ทนอยู่ไม่ได้แล้ว อันนี้เป็นสัญญาณทุกคนต้องเฝ้าระวัง และต้องไปเชื่อมโยงกับเขาให้เร็วที่สุด เช่น ไลน์กลับไป ส่งข้อความทักไป ตรงนี้คุณหมอเอ๋ เรียกว่า I MASSAGE “เราคิดว่า...”   เช่น เราอยู่ตรงนี้นะ มีอะไรหรือเปล่า อาจจะพูดว่า เราคิดว่าเธอน่าจะมีบางอย่างที่ไม่สบายใจ เราเป็นห่วง เรากลัวเธอเป็นโรคซึมเศร้า “คนที่รับสารจะรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องของอีกคน แต่เขาส่งความห่วงใยมา เขาอยากจะเปิดเหมือนอยากจะเปิดเผยหรือระบายให้ฟัง อันนี้จะช่วยได้มาก”

เป็นไปได้อย่าพูด “สู้ๆ นะ”  คุณหมอเอ๋ อธิบายว่า คำนี้หากมองดีๆ จะมี 2 นัยยะ คือ

นัยยะของคนที่ไม่เหลืออะไรแล้ว จะรู้สึกว่า เป็นไปไม่ได้หรอก แต่ในขณะที่ คนที่เริ่มดีขึ้น ก็เหมือนได้พลังเพิ่ม เพราะฉะนั้น เราไม่รู้ว่า คนที่รับสารเราเป็นประเภทไหน

ดังนั้น I MASSAGE ไปข้างหน้าว่า เราคิดว่าเธอน่าจะสู้ได้นะ เขาจะรู้สึกว่าเป็นความคิดเธอเหรอ จากที่ไม่รู้จะยึดอะไรแล้วเหมือนมีเพื่อนส่งเชือกมา เฮ้ยเรายังมีค่าเหรอ ถ้าเติม I MASSAGE  ข้างหน้า เราคิดว่าเธอน่าจะสู้ได้นะ แบบนั้นได้ผลทั้ง 2 พวก คือพวกที่ดีขึ้นแล้วได้กำลังใจตรงนี้ จะดีมากๆ

สุดท้าย “จะซึม จะเศร้า ก้าวผ่านได้” คุณหมอเอ๋ แนะนะให้เช็กความสุข เช็กจิตใจของตัวเอง เพราะคนเรามีทุกๆ อารมณ์ ในแต่ละวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น บางวันอาจมีเรื่องที่ไม่สบายใจ มีความกังวล ความตื่นเต้น ความดีใจ ซึ่งอารมณ์ไม่ควรกินเนื้อที่ชีวิตประจำวันเราเยอะ โดยเฉพาะอารมณ์เศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง ถ้ามันกินพื้นที่มากกว่าปกติ ต่อเนื่องยาวนาน อาจจะส่งเสียผลตามมา ดังนั้น “ถ้าเรารู้สึกเศร้า ก็ยอมรับว่าเศร้าและเราก็ทำอย่างอื่น”   เพราะอารมณ์เกิดที่จิตใจ แต่มันส่งผลถึงร่างกายที่ขับเคลื่อนไปด้วยกัน ดีที่สุดคือตามแผนตารางชีวิตประจำวันของเราให้เป็นปกติ แรกๆ อาจจะฝืนใจแต่ถ้าทำได้มันจะกลายเป็นความสำเร็จเล็กๆ ที่ให้กำลังใจตัวเอง

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ