ย้อนรอยนโยบาย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ หลังหวนนั่งบอร์ดการบินไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เส้นทางการบริหาร "การบินไทย" ของ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ พลิกฟื้นการบินไทยให้ทำกำไร มากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อปี 2553

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เคยสมัครคัดเลือกเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนที่ 15 ของการบินไทย

การบินไทย ตั้งบอร์ดใหม่ ปิยสวัสดิ์ คัมแบคอีกครั้ง ร่วมกู้วิกฤต!

ซึ่งในช่วงนั้น การบินไทยกำลังประสบปัญหาการขาดทุน โดยในปี 2551 การบินไทยขาดทุน 21,314 ล้านบาท มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ก่อนที่ ดร.ปิยสวัสดิ์ จะเข้ามานั่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) พร้อมกับดำเนินนโยบายหลายอย่าง เช่น ลดค่าใช้จ่าย ปรับลดเงินเดือนพนักงาน ปลดพนักงาน ตัดงบประมาณส่วนที่ไม่จำเป็นของบริษัทออก และปรับปรุงภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดีขึ้น ซึ่งในตอนนั้นมี ดร.บรรยง พงษ์พานิช เป็นกรรมการการบินไทยร่วมด้วย

เปิดรายชื่อ ซูเปอร์บอร์ด กู้วิกฤตการบินไทย "วิษณุ" นั่งประธาน

จนทำให้ในปี พ.ศ. 2552 การบินไทยพลิกกลับมามีกำไรได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทำกำไรได้สูงถึง 7,344 ล้านบาท ปี 2553 กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 15,350 ล้านบาท ต่อเนื่องจนถึงปี 2554 การบินไทยได้รับการจัดอันดับจากสกายแทรกซ์ ให้เป็นสายการบินอันดับ 5 ของโลก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่การบินไทยติด 1 ใน 5 สายการบินที่ดีที่สุด”

แต่การมานั่งตำแหน่งดีดีการบินไทยของ ดร.ปิยสวัสดิ์ เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น คือ 2 ปี 8 เดือน ก่อนที่ ในปี พ.ศ. 2555 บอร์ดการบินไทยได้มีมติ เลิกจ้าง ดร.ปิยสวัสดิ์ จากการเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ซึ่งการจากการเลิกจ้างครั้งนี้ การบินไทยต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับ ดร.ปิยสวัสดิ์ เป็นจำนวนเงินกว่า 5.4 ล้านบาท และลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่การบินไทยในเวลาต่อมา

ศาลล้มละลายกลาง รับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ การบินไทย

อย่างไรก็ตาม ก่อนลาออกจากตำแหน่งครั้งนั้น ดร.ปิยสวัสดิ์ เคยเขียนอีเมล์ถึงพนักงานการบินไทย ตอนหนึ่งว่า

“ เป็นเวลาที่มีความสุข และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมงานกับพนักงานการบินไทยเก่งๆ และที่เป็นคนดีจำนวนมาก แม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยพอสมควร แต่ก็รู้สึกภูมิใจที่ได้บริหารงานให้การบินไทยกลับมามีผลประกอบการที่ดี มีการบริหารแบบธรรมาภิบาล และที่สำคัญคือ พนักงานการบินไทยได้ให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย”

ขณะเดียวกัน ในช่วงที่ ดร.ปิยสวัสดิ์ นั่งตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ จัดหาเครื่องบินใหม่ 52 ลำ ทั้งการซื้อและการเช่าระยะยาว และยังมีการเช่าระยะสั้นอีก 6 ลำ ซึ่งทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ของบินไทยดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด เมื่อรวมกับเครื่องบินที่มีการสั่งซื้อก่อนหน้านี้อีก 6 ลำ คือ A380 จะทำให้มีเครื่องบินใหม่เข้ามาในฝูงบินของการบินไทยในช่วง 2555 – 2560 ถึง 58 ลำ

อย่างไรก็ตาม  มติคณะกรรมการบอร์ด ล่าสุด วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 นับเป็นการกลับมาสู่การบินไทยอีกครั้งของ ดร.ปิยสวัสดิ์ ซึ่งต้องติดตามดูว่าเขาจะใช้แนวทางใดเข้ามาร่วมกอบกู้วิกฤตสายการบินแห่งชาติในครั้งนี้ให้กลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

สำหรับประวัติส่วนตัว ดร.ปิยสวัสดิ์ ชื่อเล่น ป๊อก เป็นบุตรชายคนโตของปรก อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ กับหม่อมราชวงศ์ปิ่มสาย อัมระนันทน์ (สกุลเดิม สวัสดิวัตน์)

2 แนวทางที่แตกต่างของ 2 สายการบินระดับชาติดิ้นหนีวิกฤตขาดทุน

หลังจากสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปศึกษาต่อระดับไฮสกูลที่ โรงเรียน Bryanston Public School ประเทศอังกฤษ โดยเรียน 4 ปี ได้ระดับเกรด A ในปี พ.ศ. 2515 สอบเข้า Brasenose College มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ระดับปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ London School of Economics มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ (ได้รับทุนรัฐบาลอังกฤษ)

กัปตันการบินไทย ไม่มั่นใจอนาคต ผันตัวขายไก่ย่าง

ดร.ปิยสวัสดิ์ เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ / รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ / เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ / ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี / อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ก่อนลาออกจากราชการไปนั่งประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ตามลำดับ

สหภาพฯ เผย เป็นพนักงานการบินไทย ไม่ได้สุขสบายอย่างที่คิด

งานด้านการเมือง ดร.ปิยสวัสดิ์  ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และในปีพ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ