เปิดเทอม 1 ก.ค.63! สธ.แนะ โรงเรียน 6 มาตรการ รับมือโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระทรวงสาธารณสุข แนะ โรงเรียนก่อนเปิดเทอม 1 ก.ค. นี้ ให้จัดเตรียมจุดล้างมือเพิ่ม เด็กนักเรียนต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา ห้องเรียนต้องเว้นระยะห่าง ให้นักเรียนสลับกันมาโรงเรียน งดจัดกิจกรรมกีฬาสี

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 29 พ.ค. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 29 พ.ค. 63

วันนี้ 29 พ.ค. 2563 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงการเตรียมความพร้อม เปิดเทอม 1 ก.ค. นี้ ว่า ขณะนี้ได้จัดทำคู่มือสำหรับสถานศึกษา ซึ่งเป็นการจัดทำร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงศึกษาธิการ โดยจะใช้คู่มือนี้เป็นคู่มือหลัก ส่วนข้อแนะนำจากภาคหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็นำมาสนับสนุนเพื่อเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น

ในประเทศยุโรปอย่าง สวิตเซอร์แลนด์ รัฐบาลจะประกาศล่วงหน้าให้ มีการ เปิดเทอม มีการแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ ทำความสะอาดมือบ่อยๆ รักษาระยะห่าง ระบบสุขอนามัยถูกทบทวนทั้งหมดและดำเนินการ โดยเฉพาะเด็กที่ป่วยจากทางเดินหายใจ เวลาพักก็จะต้องเหลื่อมเวลากัน เพื่อให้สามารถเว้นระยะห่างได้ ผู้ปกครองต้องหลีกเลี่ยงการรวมตัว จะไปรวมตัวกันที่โรงเรียนไม่ได้ และต้องรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม

ส่วนในประเทศเดนมาร์ก ก็มีความคล้ายคลึงกัน จะค่อยๆเปิดโรงเรียน ระยะแรกจะให้เด็กเล็ก เปิดเทอม ก่อน เน้นการรักษาระยะห่าง จำกัดจำนวนนักเรียน มีการให้ความรู้ และติดตาม

ประเทศจีน แต่ละมณฑลจะเปิดเรียนไม่พร้อมกัน โดยจะให้เด็กโต เปิดเทอม ก่อน เน้นกาคัดกรองก่อนเข้าโรงเรียน การสวมหน้ากาก การแยกนักเรียนโดยรัฐต้องติดตามประเมินผล

ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น จะ เปิดเทอม ตามสถานการณ์เน้นเปิดชั้นเรียนที่มีการสอบเพื่อเลื่อนชั้นเรียน จัดการเรียนแบบกลุ่มเล็กๆ ใช้หลายห้อง คัดกรองก่อนเข้าโรงเรียนสวมหน้ากาก  หลีกเลี่ยงการอยู่เป็นกลุ่ม

ส่วนประเทศฝรั่งเศส และ เกาหลีใต้ เป็นบทเรียนให้แต่ละประเทศนำไปแก้ปัญหา เนื่องจากเด็กนักเรียนมีการติดเชื้อ โควิด- 19 หลังจากมีการ เปิดเทอม

สธ. จับมือ ศธ. เตรียม 6 แนวทาง เปิดเรียนอย่างปลอดภัย

ส่วนประเทศไทย รัฐบาลได้มีการประกาศให้ เปิดเทอม วันที่ 1 ก.ค. 2563 โดยมีการเตรียมความพร้อม 6 มิติด้วยกัน

มิติที่ 1.ความปลอดภัยลดการแพร่ระบาด โดยใช้มาตรการของสาธารณสุขเป็นหลัก จะใช้ 6 มาตรการ ประกอบด้วย 

(1.) คัดกรองตรวจวัดไข้ก่อนเข้าสถานศึกษา คุณครูจะต้องทำอย่างไรให้เด็กนักเรียน เว้นระยะห่าง

(2.) สวมหน้ากาก จะต้องให้ให้เด็กๆสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งจากการลงพื้นที่ไปดูโรงเรียนชั้นระดับประถมเด็กๆก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่เด็กๆก็รู้สึกอึดอัดที่ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลา และ คุณครูก็มีส่วนสำคัญที่จัดการเรื่องนี้ได้

(3.) การล้างมือ ซึ่งเมื่อก่อนเด็กจะมีล้างมือก่อนที่จะรับประทานอาหารกลางวัน แต่ตอนนี้ต้องล้างมือก่อนเข้าโรงเรียน ล้างมือก่อนเข้าชั้นเรียน ถ้ามีการเปลี่ยนชั้นเรียนหรือเปลี่ยนพื้นที่จะต้องไปล้างมือ ก่อนแปรงฟัน หลังแปรงฟันก็ต้องล้างมือ ทางโรงเรียนจะต้องมีการจัดระบบการล้างมือสำหรับเด็กๆทุกคน รวมไปถึงต้องจัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์

(4.) การเว้นระยะห่าง จะเห็นโรงเรียนจะมีอยู่ 3 พื้นที่หลักคือ 1.ห้องเรียน 2.นอกห้องเรียน 3. โรงอาหาร โดยทั่วไปแล้วห้องเรียนแต่ละโรงเรียน จะมีทั้งห้องเรียนที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ และ มีเครื่องปรับอากาศ แต่ละห้องจากเดิมมีจำนวนเด็กอยู่ประมาณ 40 คน เมื่อจัดระเบียบการเว้นระยะห่าง 1 เมตร จะเหลือเด็กนักเรียนประมาณ 20-25 คน จะเห็นได้ว่าเด็กประมาณครึ่งหนึ่งไม่สามารถใช้ห้องเรียนในเวลาเดียวกันกับเพื่อนได้ ทางโรงเรียนจำเป็นต้องมีการจัดรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ โดยมีทางเลือกหลายรูปแบบ เช่น ทำพื้นที่ชั่วคราวในโรงเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนแบบคู่ขนานกัน หรือ นักเรียนอีกจำนวนหนึ่งต้องเรียนแบบออนไลน์อยู่ที่บ้าน หรือ จะต้องใช้วิธีผลัดกันมาเรียน ส่วนโรงอาหารจัดจัดโต๊ะให้เว้นระยะห่าง ให้เด็กสลับเปลี่ยนกันเข้าโรงอาหารซึ่งตรงนี้ทางโรงเรียนจะต้องออกแบบเพื่อรักษาหลักการการเว้นระยะห่างให้ได้

นร.ประถมจีนสวม “หมวก 1 เมตร” ป้องกัน โควิด-19 ต้อนรับเทอมใหม่

(5.) การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสที่มีการใช้ร่วมกันบ่อย ปกติแล้วโรงเรียนก็มีการจัดการเรื่องความสะอาดอยู่แล้ว ตอนนี้ ต้องเน้นมากขึ้นในจุดพื้นผิวสัมผัสทั้งหมด และ พื้นที่ที่เด็กต้องไปใช้ร่วมกัน

(6.) ลดความแออัด ไม่จัดกิจกรรมที่มีการสัมผัส ร่วมกัน ซึ่งทางโรงเรียนอาจจะต้องยกเลิกกิจกรรม จะต้องไม่ให้มีการแออัดมากเกินไป  เช่น การจัดกีฬาสี หรือการจัดการแข่งขันบางอย่างที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อาจต้องงด หรือ ต้องยกเลิกไป

พญ.พรรณพิมล กล่าวอีกว่า มิติที่  2.การเรียนรู้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดการเรียนแบบผสมผสาน อาจจะต้องจัดทำการเรียนให้กับเด็ก เช่นการเรียนรู้ในห้องเรียน การเรียนรู้ผ่านออนไลน์ รวมทั้งจะมีการฝึกให้เด็กๆ เรียนรู้ในช่วงที่เกิดภาวะ โควิด -19  เช่นการแปรงฟัน การสวมหน้ากาก การเข้าแถว

มิติที่ 3.ต้องคำนึกถึงเด็กทุกคน ซึ่งทางโรงเรียนมีระบบช่วยเหลือนักเรียน และมีประวัติของนัดเรียนทุกคน ครู้ต้องออกแบบกับทางโรงเรียนว่าเด็กที่มีความต้องการอะไรเป็นพิเศษเด็กที่มีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนช่วยเหลือต่งจากเด็กอื่น เช่น เด็กๆที่ไม่มีหน้ากากใช้ทางโรงเรียนต้องจัดทำให้เด็ก เพื่อเขาได้มีโอกาสมาโรงเรียนได้ตามปกติด้วย

มิติที่ 4.การคุ้มครองเด็ก และ สวัสดิภาพของเด็ก หากเด็ก เกิดอาการเจ็บป่วยโดยเฉพาะการป่วย โควิด-19 หรือ ครอบครัวของเด็กมีผู้ป่วย  ซึ่งจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เด็กได้รับความดูแล และเข้าใจจากเด็กคนอื่นๆ จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เด็กถูกรังเกียจ จากกลุ่มเพื่อนๆ ซึ่งจะต้องเตรียมการเพราะสถานการณ์อาจเกิดขึ้นได้

มิติที่ 5. นโยบาย ซึ่งได้มีการทำนโยบายร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงสาธารณสุข โดยนโยบายนี้จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงในระดับพื้นที่ กระบวนการนี้ไม่ได้ทำพาะในกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่จะทำทุกๆโรงเรียน ทุกๆจังหวัด ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการ เช่น มีการจัดชั้นเรียนใหม่ มีการเติมอุปกรณ์การเรียนให้เด็ก มีความจำเป็นที่จะต้องล้างมือบ่อยๆ โรงเรียนต้องจัดจุดล้างมือเพิ่มขึ้นจากเดิม โรงอาหารต้องไปทำฉากกั้น เพื่อให้เด็กเข้าไปใช้โรงอาการ อย่างไรก็ตาม การจัดชั้นเรียนเพิ่มขึ้นก็ต้องใช้ทรัพยากรครูเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งตรงนี้ฝ่ายนโยบายต้องวางแผนก่อนที่จะ เปิดเทอม

มิติที่ 6.การบริหารการเงิน

"เรียนออนไลน์" สะท้อนเหลื่อมล้ำ? กับทางออก “การศึกษาไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ