เปิด กม.อาญา พบเอาผิด “คุกคามทางเพศ” ไม่ได้ เว้น อนาจาร-ข่มขืน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปัญหาการคุกคามทางเพศ โดยที่กฎหมายไม่ครอบคลุมดูแล เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ให้ข้อมูลกับทีมข่าวพีพีทีวี ว่า เคยได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะนี้บ่อยครั้ง โดยล่าสุด เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีผู้หญิงคนหนึ่งถูกลวนลาม แต่เมื่อแจ้งตำรวจ กลับถูกต่อว่า ว่ายังไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

"หมู่อาร์ม"เปิดคลิปเสียงร้องทุจริตบนเวทีเสวนาโต้ ทบ.

"บุ๋ม ปนัดดา" เตรียมฟ้อง "ปารีณา" ฐานหมิ่นประมาท

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ไซด์งานแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพฯ มีผู้หญิงที่เป็นคนงานก่อสร้าง อายุ 47 ปี ถูกชายคนงานก่อสร้าง ที่อยู่ในอาการมึนเมา พยายามเดินเข้ามาลวนลาม จนทำให้เธอต้องเข้าไปหลบอยู่ในห้องเก็บอุปกรณ์ เนื่องจากช่วงเวลาเกิดเหตุเป็นช่วงเช้า ไม่มีคนเห็นเหตุการณ์

จากนั้นเธอโทรศัพท์เรียกตำรวจ เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อตำรวจมาถึงเธอถูกตำรวจต่อว่า ว่ายังไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นเลย พร้อมถามว่า โทรศัพท์แจ้งตำรวจทำไม

จากนั้นเมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไป ผู้หญิงคนนี้ ถูกหัวหน้างานต่อว่า ว่าทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ ผู้หญิงคนนี้ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดระแวง เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก

น.ส.อังคณา บอกอีกว่า ที่มูลนิธิได้รับเรื่องร้องเรียนลักษณะนี้หลายครั้ง เช่น ถูกคนในครอบครัวมองหน้าอก ลูบต้นขาซ้ำ ๆ ในจำนวนนี้มีหลายคนไม่ดำเนินคดี ส่วนที่ตัดสินใจดำเนินคดี ข้อกฎหมายในปัจจุบันก็ทำได้เพียงปรับเป็นเงินเท่านั้น ไม่ได้มีกลไกในการปรับพฤติกรรม ทำให้ผู้กระทำกลับมาทำผิดแบบเดิมซ้ำอีก

ด้าน น.ส.บุณย์ธิดา สมชัย ประธานอนุกรรมาธิการศึกษากระบวนการยุติธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการข่มขืนกระทำชำเรา และการล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งเป็น กรรมาธิการชุดเดียวกับที่บุ๋ม ปนัดดา เป็นอยู่ เปิดเผยว่า สิ่งที่ บุ๋ม ปนัดดา ให้ข้อมูลเรื่องข้อเสนอให้เพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายสำหรับการคุกคามทางเพศ เป็น การร่วมกันผลักดันของคณะอนุกรรมาธิการฯ

น.ส.บุณย์ธิดา มองว่า ไม่เพียงแต่ น.ส.ปารีณา ที่คิดว่า การคุกคามทางเพศคือการอนาจาร แต่ยังมีคนในสังคมอีกจำนวนมากที่เข้าใจผิดแบบนี้  ซึ่งเมื่อไปดูนิยามทางกฎหมายแล้ว พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การส่งข้อความมาเป็นร้อย ๆ ข้อความ กลับไม่เข้าข่ายอนาจาร ทำให้ผู้เสียหายทำได้เพียงไปลงบันทึกประจำวันไว้เท่านั้น ทั้งที่จริง ๆ แล้วควรมีบทลงโทษที่ชัดเจน

ทั้งนี้ หากย้อนดูกฎหมายอื่นๆ พบว่า จริงๆแล้วมีกฎหมายหลายฉบับที่พูดถึงการคุกคามทางเพศ และ ให้นิยามไว้ครอบคลุมเรื่องการถูกลวนลามทั้งทางวาจา สายตา หรือ แม้แต่ทางกาย แต่ในประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้กำหนดไว้

ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีนิยามเรื่องการคุกคามทางเพศ ที่ชัดเจน ทั้งการระบุว่า การจูม การจับอวัยวะ การวิจารณ์ร่างกายของคนอื่น หรือการใช้สายตาลวนลาม ถือเป็นการคุกคามทางเพศ

ส่วนในพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีบทบัญญัติระบุชัดเจนว่า ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน หรือ ผู้ควบคุมงาน ล่วงเกิน คุกคาม หรือก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ ต่อลูกจ้าง

ขณะที่ในประมวลกฎหมายอาญา ไม่มีรายละเอียดเรื่องเหล่านี้ เพราะ กำหนดความผิดทางเพศไว้  แค่ สถานเบา คือ อนาจาร กับ ขั้นรุนแรง คือ ข่มขืน กระทำชำเรา 

 

 

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ