ไทยได้อันดับ 47 ผลวิเคราะห์ความปลอดภัยช่วงโควิด-19 ใน 200 ประเทศ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รายงานดังกล่าวใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่และตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เพื่อจัดอันดับการประเมินความปลอดภัยและความเสี่ยงจากโควิด-19 ใน 200 ประเทศ ภูมิภาค และดินแดน

Deep Knowledge Group กลุ่มบริษัทและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดย Deep Knowledge Ventures บริษัทด้านการลงทุนที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 ในฮ่องกง ออกรายงานวิเคราะห์ฉบับพิเศษ จำแนก วิเคราะห์ และจัดอันดับความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของภูมิภาค ประเทศ และดินแดน 200 แห่งทั่วโลก

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 11 มิ.ย. 63

สถานการณ์รอบโลก 11 มิ.ย.2563

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 11 มิ.ย. 63

การจัดอันดับจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับ

ระดับ Tier 1 อันดับ 1-20 เป็นภูมิภาคที่มีคะแนนความปลอดภัยในระดับภูมิภาคดีมาก

ระดับ Tier 2 มี อันดับ 21-40 ประกอบด้วยดินแดนที่ทำคะแนนได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยคาดหวัง โดยคุณภาพทั่วไปของระบบการดูแลสุขภาพ การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และการจัดการของรัฐบาล อยู่ในเกณฑ์ดี

ระดับ Tier 3 อันดับ 41-100 ประกอบด้วยภูมิภาคซึ่งควรได้รับคะแนนดี เนื่องจากมีทรัพยากรการดูแลสุขภาพของรัฐและการจัดการวิกฤตที่เหมาะสม แต่ในทางปฏิบัติแล้วได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าที่คาดไว้มาก

ระดับ Tier 4 อันดับที่ 101 ลงมา เป็นภูมิภาคที่ได้คะแนนด้านต่าง ๆ น้อยที่สุด และอาจเกิดจากข้อมูลบางด้านไม่พร้อมใช้งานหรือไม่น่าเชื่อถือ

จากการจัดอันดับ พบว่าประเทศที่ปลอดภัย และมีความมั่นคงมากที่สุดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คือ สวิตเซอร์แลนด์ (752 คะแนน) อันดับ 2 คือ เยอรมนี (749 คะแนน) อันดับ 3 คือ อิสราเอล (748 คะแนน) อันดับ 4 คือ สิงคโปร์ (744 คะแนน) อันดับ 5 คือ ญี่ปุ่น (738 คะแนน) ส่วนประเทศที่อันตรายหรือมีความเสี่ยงมากที่สุดในรายงานดังกล่าว คือ ซูดาน (300 คะแนน)

สำหรับประเทศไทย อยู่ในระดับ Tier 3 อันดับ 47 ของโลก เป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (541 คะแนน) รองจาก สิงคโปร์ (อันดับ 4 โลก) เวียดนาม (อันดับ 20 โลก) และมาเลเซีย (อันดับ 30 โลก)

การวิเคราะห์ในรายงานนี้ ใช้พารามิเตอร์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ 130 ตัว แบ่งออกเป็น 30 ตัวชี้วัด และ 6 หมวดหมู่ ดังนี้

ประสิทธิภาพการกักกัน พิจารณาจาก ขนาดของการกักตัว, ความเร็วในการเริ่มใช้มาตรการกักตัว, โทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรการ, การสนับสนุนทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ที่ต้องกักตัว และการออกมาตรการข้อจำกัดการเดินทาง

ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของรัฐบาล พิจารณาจาก ระดับความปลอดภัยและการป้องกัน, การเคลื่อนย้ายฉุกเฉินอย่างรวดเร็ว, ประสิทธิภาพของโครงสร้างภาครัฐ, ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ, ความพร้อมในการรับมือการแพร่ระบาด และประสิทธิภาพของโครงสร้างทางนิติบัญญัติ

การติดตามและตรวจหาเชื้อ พิจารณาจาก ระบบการตรวจสอบและการจัดการภัยพิบัติ, ขอบเขตของวิธีการวินิจฉัยโรค, ประสิทธิภาพการทดสอบหาเชื้อโควิด-19, ระดับ AI สำหรับการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรค, เทคโนโลยีการเฝ้าระวังของรัฐบาลเพื่อการเฝ้าติดตาม และความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของข้อมูล

ความพร้อมด้านการดูแลสุขภาพ พิจารณาจาก ความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์, การระดมทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพ, ปริมาณและคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์, ระดับความก้าวหน้าด้านการดูแลสุขภาพ, ระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และระดับการพัฒนาระบบด้านระบาดวิทยา

ความยืดหยุ่นในภูมิภาค พิจารณาจาก ความเสี่ยงในการติดโควิด-19, ระดับการรักษาสุขอนามัย, โรคเรื้อรังในประเทศ, ข้อมูลจำเพาะทางวัฒนธรรมและระเบียบวินัยทางสังคม, ประชากรศาสตร์ และช่องโหว่ทางภูมิรัฐศาสตร์

การเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน พิจารณาจาก ความยืดหยุ่นในกรณีฉุกเฉินทางสังคม, ประสบการณ์การระดมกำลังพลฉุกเฉิน, ความสามารถในการเฝ้าระวัง และประสบการณ์รับมือสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติในอดีต

สำหรับคะแนนแต่ละด้านของประเทศไทย เป็นดังนี้

ประสิทธิภาพการกักกัน - 90 คะแนน

ประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของรัฐบาล - 144 คะแนน

การติดตามและตรวจหาเชื้อ - 95 คะแนน

ความพร้อมด้านการดูแลสุขภาพ - 67 คะแนน

ความยืดหยุ่นในภูมิภาค - 85 คะแนน

การเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน - 60 คะแนน

รวม - 541 คะแนน

เป้าหมายของการจัดทำรายงานวิเคราะห์ดังกล่าว เพื่อทำให้รัฐบาลที่มีความรับผิดชอบในการบริหารประเทศ สามารถเรียนรู้จากจุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศอื่น ๆ และหาคำตอบและข้อมูลเชิงลึกเพื่อพิจารณากระบวนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ระดับชาติ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในช่วงการระบาดของโควิด-19 รวมถึงลดผลกระทบและผลพวงด้านลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งสวิตเซอร์แลนด์ (อันดับ 1 โลก) และเยอรมนี (อันดับ 2 โลก) ล้วนมีพื้นที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางสำคัญของการแพร่กระจายโควิด-19 ในยุโรป และมีการแพร่กระจายของเชื้อและการเสียชีวิตค่อนข้างมากในช่วงต้นของการระบาด

อย่างไรก็ตาม เมื่ออัตราการเสียชีวิตและผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ ก็เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาสามารถเอาชนะบททดสอบนี้ไปได้

ประเทศที่สามารถรับมือกับโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วและมีระดับการเตรียมพร้อมที่สูงจะได้รับคะแนนสูง ส่วนขณะนี้ ประเทศที่กำลังฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างปลอดภัยก็จะได้รับคะแนนสูงขึ้นเช่นกัน

สวิตเซอร์แลนด์ กับเยอรมนีได้คะแนนสูงเพราะว่าพวกเขากำลังผ่อนคลายมาตรการและฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยความระมัดระวัง และยึดเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์เป็นหลัก โดยไม่นำชีวิตผู้คนมาเสี่ยง

จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในระดับภูมิภาคไม่เพียงแต่พิจารณาที่ความสามารถทางทฤษฎีของแต่ละประเทศในการรับมือและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนโยบายเฉพาะ กลยุทธ์การจัดการวิกฤต และยุทธวิธีที่แต่ละประเทศใช้ในการปฏิบัติจริง

ภูมิภาคที่เริ่มช้ากว่า ในการปิดพรมแดน การออกคำสั่งล็อกดาวน์ ในช่วงการระบาดใหญ่ โดยรวมจะมีคะแนนต่ำกว่าเสมอ

คะแนนที่ต่ำยังปรากฏในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน ไม่มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ครอบคลุม หรือไม่สร้างสะพานความร่วมมือเชิงรุกระหว่างสถาบันของรัฐและภาคเอกชน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ