ปั้นโอกาส ผ่านดินเผา ไม่ท้อแม้เจอโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 แพร่ระบาด ส่งผลกระทบกับหลายธุรกิจในประเทศ แต่มีธุรกิจหนึ่งที่สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างสวยงาม จากโอกาสที่มาพร้อม New Normal ของผู้คน

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สถานการณ์ธุรกิจในหลายประเภทได้รับผลกระทบจนย่ำแย่กันไปตาม ๆ กัน แต่กระนั้น เมื่อ New Normal บางอย่างเกิดขึ้นในสังคมไทย ก็พลอยทำให้ธุรกิจบางอย่างฟื้นคืนกลับมาอยู่รอดได้ตามไปด้วย หนึ่งในนั้นคือ “ธุริกจเครื่องปั้นดินเผา”

ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ทะลุ 8 ล้าน ขณะที่ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงเสียชีวิตกว่าปกติถึง 12 เท่า

คุณทศพล ศรีนุช หรือ “คุณนพ” จากร้าน 88 ดินเผา อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เล่าให้ฟังว่า ในช่วงแรก “เครื่องปั้นดินเผา” เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 เดิมทางร้านเน้นผลิตหม้อจิ้มจุ่ม เตาดินเผา และกระถางต้นไม้ขนาดเล็กขายส่งตลาดนัดจตุจักร แต่เมื่อร้านอาหารต้องปิด ตลาดนัดจตุจักรไม่สามารถเปิดได้ ทำให้ทางร้านสูญเสียรายได้ไปมหาศาล ออเดอร์หลักแสนกลายเป็นหลักศูนย์ภายในพริบตา

“ไม่มีออเดอร์เลย จากเคยมีออเดอร์เดือนหนึ่งสั่งเป็นแสนใบ กลายเป็นไม่มีออเดอร์เลยในระยะเวลาเป็นเดือน คือเราโดนผลกระทบเต็ม ๆ” คุณนพบอก

อย่างไรก็ตาม โชคร้ายอยู่กับร้านไม่นาน เพราะแต่เดิมทางร้านก็เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์อยู่แล้ว เมื่อประเทศไทยประกาศมาตรการล็อกประเทศ ทำให้ผู้คนต้องอยู่บ้าน Work From Home และสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ จนเกิด New Normal ใหม่ ซึ่งสร้างพลพลอยได้มาถึงธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาของคุณนพ

เมื่อผู้คนต้องอยู่บ้านในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิด New Normal พฤติกรรมใหม่ ผู้คนหันมาใส่ใจบ้านและสภาพแวดล้อมของบ้านมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ "ต้นไม้" เติบโต "กระถางต้นไม้" จึงกลายเป็นสินค้าที่ฟื้นคืนชีวิตให้กับอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้ง เพราะมียอดสั่งจองมากกว่าช่วงก่อนโรคโควิด-19 ระบาด และมีราคาที่สูงขึ้น

“เราก็พยายามเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับสถานการณ์ ให้เข้ากับเศรษฐกิจ อย่างตอนนี้จะเป็นกระถางที่เป็นกระแสแรงมาก คือคนหันมาปลูกต้นไม้กันเยอะ คนอยู่บ้านกันเยอะ หันมาดูแลเอาใจใส่ชีวิตตัวเอง บ้าน ดูง่าย ๆ คือ เราปลูกต้นไม้ทั่วไปจะปลูกอยู่นอกบ้าน ข้างบ้าน หน้าบ้าน แต่ตอนนี้คนรักสุขภาพปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ กระถางต้นไม้เข้าไปอยู่ในบ้าน ต้นไม้เข้าไปอยู่ในบ้านในห้องนอนของทุกคน เราก็เลยปรับตัว เปลี่ยนรูปแบบจากเราเคยผลิตหม้อ ผลิตกระถางใบเล็ก ตอนนี้เรามาปรับให้รับกับสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นแบบนี้”

โดยคุณนพปรับเปลี่ยนการผลิตมาทำกระถางหลากขนาดขึ้น เนื่องจากตลาดต้นไม้มีกลุ่มที่ปลูกต้นไม้พันธุ์เล็กใหญ่หลากหลายอยู่แล้ว กระถางที่ร้าน 88 ดินเผาผลิตจึงสอดรับกับลูกค้าที่ปลูกต้นไม้แทบจะทุกกลุ่ม โดยทรงที่เป็นกระแสคือทรงไข่ รวมถึงมีการทาสีที่นอกจากจะมีกระถางดินเปลือยตามปกติแล้ว ยังมีสีดำ สีน้ำตาล ไปจนถึงสีพาสเทลต่าง ๆ เพื่อให้เป็นที่ถูกใจของลูกค้า

New normal ตรวจโควิด-19 พร้อมเช็กประวัติอาชญากรรม

เมื่อประกอบกับกระแสการซื้อสินค้าออนไลน์ ก็ยิ่งทำให้การปรับตัวของคุณนพนั้น “เวิร์ก” เป็นอย่างยิ่ง “เราอิงจากคนอยู่บ้าน คนเกิดการสั่งซื้อ เขาออกจากบ้านไม่ได้ เขาก็สั่งซื้อออนไลน์ เราได้ช่องทางตรงนี้ ที่รู้ค้ารู้จักเรามากขึ้น แล้วมาหาเราได้มากขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น มันเป็นช่องทางการซื้อขายที่เร็ว ทำให้ผู้คนหาเราเจอมากขึ้น”

คุณนพบอกว่า ช่วงนี้วงการต้นไม้และดินเผาเกิดการเปลี่ยนแปลง 3 อย่าง คือกระแสเปลี่ยน ออเดอร์เปลี่ยน และราคาเปลี่ยน

“วินาทีนี้ ถือว่าธุรกิจดินเผา ต้นไม้ และแวดวงที่เกี่ยวกับต้นไม้และดินเผาเติบโตไปในทิศทางที่ดีมาก ๆ อาจจะเปลี่ยนรูปทรง แฟชั่น ด้วยกระแส หัวใจหลักผมคิดว่า คนเริ่มเอาใจใส่ตัวเอง มีเวลาหันกลับมาอยู่บ้าน มีเวลาแต่งบ้าน มีเวลาสร้างบ้านใหม่ มีเวลาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน ผมว่าบ้านคือปัจจัยและคือส่วนสำคัญของชีวิตเรา แต่ก่อนทำงาน ทุกคนอาจจะเป็นคนทำงานที่ต้องไปทำงานตอนเช้าเลิกงานตอนเย็นกลับมาก็นอนอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้ บ้านมันคือชีวิต การปรับเปลี่ยนของทุกคนก็คือ อาจจะเคยทำงานออฟฟิศ ต้องมาทำงานที่บ้าน Work From Home คนมาทำงานอยู่บ้าน พอบ้านไม่สวยก็แต่งบ้าน ธุรกิจพวกนี้ก็คือผลพลอยได้”

อย่างไรก็ตาม ฐานลูกค้าหลักของร้านยังคงมาจากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่จะนำกระถางไปใส่ต้นไม้แล้วขายต่อเป็นหลัก ช่วงนี้ลูกค้าต่อวันของร้าน 88 ดินเผาอยู่ที่ประมาณ 30-50 ราย จากเดิมที่เป็น 0 ในช่วงปิดประเทศ โดยมากเป็นลูกค้าที่ซื้อไปแต่งบ้านเองประมาณ 30% ส่วนอีก 70% เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่รับไปขายต่อตามตลาดต่าง ๆ เช่น ตลาดบางใหญ่ สนามหลวง 2 สวนจตุจักร 2 และสวนจตุจักร ซึ่งเป็นตลาดหลัก ๆ ในประเทศไทย

“ตอนนี้ตลาดต้นไม้ถือว่าพีคที่สุดในรอบปีก็ว่าได้ หรือในรอบหลาย ๆ ปีก็ว่าได้ เพราะว่า หนึ่ง ตอนนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า แต่ก่อนทุกคนจะเคยชินกับการเข้าสวนจตุจักร ไปสวนจตุจักร แต่เดี๋ยวนี้ ร้านต้นไม้มันได้แตกสาขาออกไป อยู่ตามหัวเมือง จังหวัดต่าง ๆ อำเภอต่าง ๆ แล้ว ซึ่งผู้บริโภคก็ค้นหาได้ง่าย ซื้อขายง่าย”

อุทยานฯ พร้อมเปิด 1 กรกฎาคม นีี้ ในแบบ New normal

เมื่อปัจจุบันดีขึ้นมากแล้ว คุณนพก็เริ่มวางแผนการสำหรับอนาคต โดยสร้างพื้นที่ทำเป็นสตูดิโอดินเผา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “โชว์รูมดินเผา” เพื่อเป็นศูนย์กลางรับออกแบบ ผลิต สั่งทำ ชิ้นงานดินเผาทุกประเภท

“คุณอยากได้งานแบบไหน คุณมาออกแบบที่เราได้ เราไม่คิดค่าออกแบบ ... และลูกค้าที่อยากได้แบบของตัวเอง สามารถสลักชื่อลงไป หรือตีเป็นแพ็กเกจจิ้งแบรนด์ของตัวเองได้ โดยเราเป็นผู้ผลิตให้”

คุณนพบอกว่า แนวคิดหลักคือ ต้องการยกโรงผลิตดินเผาไปไว้หน้าบ้านของลูกค้า เพราะคนจะเคยชินกับวิถีชีวิตคนขายดินเผาแบบเดิม ๆ ที่จะมีร้าน แล้วต้องไปเลือกซื้อตามแบบที่เขามี แต่คุณนพซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่มองว่า อยากให้ลูกค้ามีทางเลือก มีสิทธิ์เลือกมากขึ้น ดีกว่าไปซื้อสิ่งที่ไม่อยากได้

“เราก็เลยเกิดความคิดว่า ลูกค้ามา ก็อยากได้แบบของลูกค้า อยากได้แบบของตัวเอง อยากได้แพ็กเกจจิ้งตัวเอง เราเจอตรงนี้มาเป็นเวลาหลายปี เราก็เลยเกิดไอเดียว่า วันนี้เราจะสร้างสตูดิโอเพื่อรับรองสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ ตอบโจทย์ ให้มันตรงจุดกับลูกค้า”

นอกจากนี้ คุณนพยังแบ่งปันความรู้สึกในช่วงที่ธุรกิจประสบปัญหาว่า “ถามว่าทุกคนมีท้อมั้ย ทุกคนต้องมีท้อ มันปฏิเสธตรงนี้ไม่ได้ แต่ถามว่าเราจะกลับมาลุกได้เมื่อไหร่แค่นั้นเอง ก็ต้องสู้กัน ถ้าท้อแล้วไม่ได้อะไรก็เลิกท้อ กลับมายืนสู้ดีกว่า เราทำสิ่งที่เรามี ปรับเปลี่ยนสิ่งที่เรามีให้ตอบรับกับตลาดดีกว่า ดีกว่าราจะยอมแพ้ เพราะไม่ฉะนั้น เรามีทั้งลูก มีทั้งครอบครัว มีญาติพี่น้อง ที่ต้องดูแล เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่สู้ใครจะสู้”

คุณนพยังแนะนำว่า ท่านใดที่สนใจ ต้องการประกอบอาชีพเสริม สามารถติดต่อเพจของร้าน 88 ดินเผา ได้ คุณนพพร้อมให้คำแนะนำโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย “ทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เราค้าขายออนไลน์ได้ อยากให้ลองมองอาชีพดินเผาเป็นอาชีพเสริมสักอาชีพหนึ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 แบบนี้”

ริวิว ต่อใบขับขี่ แบบ New Normal ปลอดโควิด-19

ฟิตเนสเปิดหลังคลายล็อกระยะ 3 พร้อม “New Normal” ยุคโควิด-19

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ