ปัญหาแรงงานไทยยุค 4.0 หลังโควิด-19


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ที่ผ่านมาแรงงานไทย ต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 และยังมีเรื่องการเข้ามาของเทคโนโลยี แต่ต้นตอของปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้น แท้จริงแล้วจะเป็นอย่างไร หรืออาจเป็นเพราะทักษะแรงงานที่ไม่ตรงจุด

GEN Z กำลังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 มากที่สุด

พิษ โควิด-19 ทำอัตราว่างงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็น 2.64 ล้านคน

โควิด-19 ถือเป็นตัวเร่งให้หลายอุตสาหกรรมต้องปรับตัวรับวิถีใหม่ หรือ “New Normal” ที่ส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากต้องล้มหาย ตายจาก  หลายธุรกิจต้องลดคนเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ แต่การเดินหน้าต่อในครั้งนี้ก็ต้องมาพร้อมกับการเปลี่ยนครั้งใหญ่ เช่น การเวิร์คฟอร์มโฮมที่หลายบริษัทเริ่มเห็นเป็นโอกาส สามารถลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายได้  ปรับให้เป็นฟรีแลนส์ หรือเอ้าท์ซอจลดสวัสดิการ ไปจนถึงการใช้ระบบหุ่นยนต์ เอไอ ระบบออโต้เมชัน และเทคโนโลยีในแพลตฟอร์มใหม่ ที่จะเข้ามาทดแทนอีกหลายอาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ซึ่งหลังจากวิกฤตโควิด-19 เกิดขึ้นมาแล้ว ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมลดลงอย่างมาก อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่จะมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องอยู่ 400-500 โรงงาน มีพนักงานในอุตสาหกรรมกว่า 1 ล้านคน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการรถยนต์-ชิ้นส่วนยานยนต์ ลดลงอย่างมาก ทำให้อาจมีการลดคนสูงถึง 7 แสนคน

ฉะนั้น ทางออกของปัญหานี้ รศ.ดร.ชิต ย้ำว่า ต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ตอบโจทย์กับอุตสาหกรรม 4.0 มากขึ้น เพราะปัจจุบันความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีของแรงงานไทยยังอยู่ในระดับต่ำ หากทักษะของแรงงานถูกยกระดับ ประสิทธิภาพการผลิตก็จะเพิ่มขึ้น พร้อมต้นทุนที่ลดลง ก็เชื่อว่าจะทำให้อุตสาหกรรมไทยแข่งขันในตลาดโลกได้

อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่า การพัฒนาทักษะแรงงานไทย ยังมีอุปสรรคปัญหาอยู่อีกมาก โดยมุมมองของนายจ้าง  ดร.ธนิต โสรัตน์ สะท้อนไว้ชัดเจนว่า ระบบการผลิตบุคลากรไทย ยังมีศักยภาพไม่เพียงพอ ระบบการศึกษาที่แรงงานออกมาไม่ตรงกับความต้องการของตลาด การจะซื้อหุ่นยนต์หรือระบบปฏิบัติการมาพัฒนาฝึกฝนทักษะก็มีต้นทุนที่สูง สถาบันการศึกษาก็ต้องเอาตัวรอด จึงเปิดสอนสาขาวิชาเดิมๆ โดยเฉพาะสายสังคมที่ได้รับความนิยม แม้จะเรียนจบมาจะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด เรื่องนี้จึงถือเป็นปัญหาตั้งแต่โครงสร้างการผลิตบุคลากร

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ