ต้องรู้ก่อนซื้อ - ใช้ แบตเตอรี่สำรอง ก.อุตฯ ออกกฎ สเปก คำเตือนพาวเวอร์แบงก์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราชกิจจานุเบกษา แพร่กฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า บังคับมาตรฐาน คุมพาวเวอร์แบงก์

แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า หรือ พาวเวอร์แบงก์ เป็นขอใช้จำเป็นในยุคนี้ไปแล้ว 

สมอ.ทบทวนมาตรฐานแบตเตอรี่มือถือครอบคลุม Power Bank

ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา  คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามาตรฐาน พ.ศ. 2563  ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ 150 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (19 มิถุนายน 2563)

 โดยกำหนดว่า ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบ ต้องเป็นไปตามาตรฐานเลขที่ มอก. 2879 - 2560 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5091 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5091 (พ.ศ. 2561 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแบบพกพา – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย นั้นมีสาระสำคัญที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแบตเตอรี่สำรองไฟฟ้า มากมาย ที่น่าสนใจคือ

เซลล์และแบตเตอรี่ที่ใช้ในการประกอบแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตาม มอก. 2217 การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดใน มอก. 2217  และ แบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตาม มอก. 1561 การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดใน มอก. 1561

ขณะที่เครื่องหมายบนแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้าต้องคงทนถาวร เข้าใจได้และเห็นได้ง่าย

 ต้องมีรายละเอียดของเครื่องหมาย ดังต่อไปนี้

- ชื่อผู้ทําหรือผู้จัดจำหน่าย เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายชี้บ่ง และประเทศที่ทํา

- แบบรุ่น หรือแบบอ้างอิง และหมายเลขลําดับเครื่องหรือหมายเลขลําดับการทำ

- สัญลักษณ์ (IEC 60417-5172 (DB:2003-02)) สําหรับบริภัณฑ์ประเภท II เท่านั้น

- แรงดันไฟฟ้าด้านเข้าที่กําหนด เป็นโวลต์ (V)

- แรงดันไฟฟ้าด้านออกกระแสตรงที่กําหนด เป็นโวลต์ (V)

- กระแสไฟฟ้าด้านเข้าที่กําหนด เป็นมิลลแอมแปร์ (mA)   หรือ แอมแปรื (A)  

- กระแสไฟฟ้าด้านออกที่กําหนด เป็นมิลลิแอมแปร์ (mA)   หรือ แอมแปร์ (A)

- ความถี่ด้านเข้าที่กําหนด หรือพิสัยความถี่ที่กำหนด เป็นเฮิรตซ์ (Hz) นอกจากแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า

ออกแบบไว้สําหรับกระแสตรงเท่านั้น

- ความจุไฟฟ้าที่กําหนด เป็นมิลลิแอมแปร์ชั่วโมง (mAh) หรือ แอมแปร์ชั่วโมง (Ah)

- เดือน/ปีที่ผลิต

เตือนภัย! “เพาเวอร์แบงก์” ระเบิดคากระเป๋า กลางสนามบินเชียงใหม่

ขณะที่ต้องมีข้อมูลสารสนเทศด้านความปลอดภัยที่จําเป็นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ต้องให้ไว้ในข้อแนะนําการใช้งานที่เตรียมมากับแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า เป็นภาษาไทย

(ก) ข้อแนะนําสําหรับการใช้งานทั่วไปตามที่ระบุไว้ด้านล่าง

- ความร้อนที่เกิดจากการอัดประจุไฟฟ้า การอัดประจุไฟฟ้าควรทําในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อัด

ประจุไฟฟ้าใต้หมอน ผ้าห่ม หรือบนพื้นผิวที่ติดไฟง่าย และไม่อัดประจุบนพื้นผิวที่เป็นโลหะ

- ไม่ควรเก็บแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้าไว้ใกล้แหล่งความร้อน รับแสงแดดโดยตรง แก๊สที่ติดไฟได้ความชื้น น้ำ

หรือของเหลว

- ไม่ควรถอดชิ้นส่วน เปิด เผา หรือสอดแทรกสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า

- ไม่ควรให้แบตเตอรี่สํารองไฟฟ้าได้รับแรงกระแทก ถูกกดทับ ถูกงอ หรือ ถูกเจาะ

- ไม่ทําให้แบตเตอรี่สํารองไฟฟ้าลัดวงจร หรือเก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่อาจลัดวงจรผ่านโลหะตัวนําอื่น ๆ

- ไม่ใช้งานหากเปียกหรือได้รับความเสียหายแบบอื่น เพื่อป้องกันช็อกไฟฟ้า และการระเบิด

 - ควรอ่านข้อควรปฏิบัติที่ให้มากับแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า

(ข) ข้อแนะนําในการอัดประจุไฟฟ้า

(ค) ข้อมูลของการเกิดความร้อนในภาวะการทํางานปกติของแบตเตอรี่สํารองไฟฟ้า

(ง) การกําจัดทิ้งอย่างเหมาะสม เช่น มีสัญลักษณ์ห้ามทิ้งในถังขยะ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ