ขั้วโลกใต้ร้อนขึ้นเป็น 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทวีปแอนตาร์กติกาในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นผลมาจากความแปรปรวนของเขตร้อน รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขั้วโลกใต้” เป็นหนึ่งในดินแดนอันหนาวเหน็บที่มีอุณหภูมิติดลบมาเสมอ แต่สถานการณ์โลกร้อนกำลังจะเปลี่ยนความจริงนั้น

สัญญาณเตือน คลื่นความร้อนทำลายสถิติในไซบีเรีย

ปี 2020 อาจเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์รู้มานานหลายปีแล้วว่า บริเวณรอบนอกของทวีปแอนตาร์กติกากำลังร้อนขึ้น โดยพวกเขาเคยคิดว่า ขั้วโลกใต้ซึ่งตั้งอยู่ลึกเข้าไปในทวีปนั้น ไม่น่าได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น

แต่ล่าสุด การศึกษาใหม่ในวารสาร Nature Climate Change ระบุว่า “ขั้วโลกใต้” ร้อนขึ้นเป็น 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจมีนัยยะส่งสัญญาณไปถึงการละลายของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลในภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลก

ไคล์ เคล็ม (Kyle Clem) นักวิจัยปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเวลลิงตัน และผู้วิจัยการศึกษาดังกล่าว กล่าวว่า “นี่เป็นการเน้นย้ำว่า ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องของทั้งโลก และมันกำลังคืบคลานไปยังสถานที่ห่างไกลเหล่านี้”

เคล็มและทีมของเขาวิเคราะห์ข้อมูลสถานีอากาศที่ขั้วโลกใต้ เช่นเดียวกับแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ เพื่อตรวจสอบความร้อนในทวีปแอนตาร์กติกา พวกเขาพบว่า ระหว่างปี 1989 ถึงปี 2018 ขั้วโลกใต้อุ่นขึ้นประมาณ 1.8 องศาเซลเซียสในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในอัตรา 0.6 องศาเซลเซียสต่อทศวรรษ หรือคิดเป็น 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ขั้วโลกใต้ร้อนขึ้น เกิดจากการเพิ่มขึ้นอุณหภูมิผิวน้ำทะเลซึ่งห่างออกไปหลายพันไมล์ในเขตร้อน (Tropics)

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนทางตะวันตก ซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรของออสเตรเลียและปาปัวนิวกีนี นั่นหมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่ถูกส่งไปยังขั้วโลกใต้ด้วย

“มันเป็นที่รกร้าง มันเป็นสถานที่ที่ห่างไกลที่สุดในโลกซึ่งความร้อนไม่น่าจะไปถึง แต่ประเด็นสำคัญคือ อุณหภูมิเขตแอนตาร์กติกนั้นมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ที่อยู่ห่างออกไป 10,000 กิโลเมตรในแปซิฟิกเขตร้อน” เคล็มกล่าว

ทีมพบว่า ภาวะที่อุณหภูมิในแอนตาร์กติกาเพิ่มขึ้น นอกจากจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลตามธรรมชาติเป็นเวลาหลายทศวรรษ ยังถูกเสริมด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก เร่งกระบวนการให้แอนตาร์กติการ้อนเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้

อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นของทวีปแอนตาร์กติกาได้ถูกบันทึกไว้ที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และภาวะโลกร้อนมีผลกระทบร้ายแรงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้คนนับล้านที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งที่เสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

ข้อมูลขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า แผ่นน้ำแข็งของแอนตาร์กติกามีน้ำมากพอที่จะเพิ่มระดับน้ำทะเลทั่วโลกได้เกือบ 60 เมตร

อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น ทำให้อุณหภูมิในแอนตาร์กติกาสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ที่สถานีวิจัย Esperanza ของอาร์เจนตินา สามารถวัดอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดที่เคยบันทึกในทวีปแอนตาร์กติกาได้ที่ 18.3 องศาเซลเซียส

ภาวะโลกร้อนทำหิมะในทวีป "แอนตาร์กติกา" กลายเป็นสีเขียว

วันคุ้มครองโลก "ยูเอ็น" วอนนานาชาติทุ่มเทสู้โลกร้อนเหมือนสู้ โควิด-19

เรียบเรียงจาก CNN

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ