เปิดความพร้อมพัฒนาเมืองการบินสู่ “ประตูเศรษฐกิจเอเชีย”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การพัฒนาโครงการสำคัญของประเทศไทย อย่าง โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งผู้พัฒนาโครงการนี้ นั่นก็คือ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นเนล เอวิเอชั่น จำกัด จะมีความพร้อมแค่ไหน และทำไมกลุ่มพันธมิตรถึงกล้าลงทุนถึง 3 แสนล้านบาท

เมื่อพูดถึงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะสร้างประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต คงหนีไม่พ้นโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ของกลุ่ม บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด ที่ขึ้นแท่นเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยเม็ดเงินการลงทุนสูงถึง 3 แสนล้านบาท เมื่อเงินลงทุนของโครงการนี้มีมูลค่ามหาศาล ทำให้หลายคนกังวลว่าการพัฒนาครั้งนี้จะสามารถทำได้ตามเป้าหมายได้จริงหรือไม่ โดยผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด นั่นก็คือ  นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่ปรึกษาประธานคณะผู้บริหาร บริษัท การบินกรุงเทพ หรือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ได้ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เป้าหมายโครงการคือ การพัฒนาให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ เป็นศูนย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการบินของอีอีซี รวมถึงเป็นศูนย์กลางของเมืองการบินภาคตะวันออก ตอนนี้มีความพร้อมในทุกด้านและจะไม่หยุดชะงัก ด้วยประสบการณ์ด้านการบินมากว่า 50 ปี ก่อสร้างและบริหารสนามบินในประเทศมาแล้ว 3 แห่ง ผนวกกับการสนับสนุนจากภาครัฐ จึงเชื่อว่าความเชี่ยวชาญแต่ละด้านของผู้ร่วมทุนก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

UTA เดินหน้าลงทุนอู่ตะเภา สู่ “ศูนย์กลางการบินภูมิภาค”

ส่วนความพร้อมของพันธมิตร อย่างนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์  ก็ย้ำถึงความมั่นใจและความเชื่อมั่นต่อพันธมิตร โดยเฉพาะบางกอกแอร์เวย์สที่เชี่ยวชาญด้านการบิน ผสานกับความพร้อมด้านการเงิน บุคลากร จะทำให้โครงการสำเร็จแน่นอน และเป้าหมายสร้างผลตอบแทนให้รัฐที่สูงถึง 3 แสนล้านบาท เป็นราคาที่ถูกต้องและเหมาะสม พร้อมบอกว่า โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ สร้างประโยชน์กับประเทศได้มหาศาล มีทั้งการลงทุนสนามบิน เมืองการบิน ดิวตี้ฟรี เขตการค้าเสรี แต่สิ่งที่น่าภูมิใจมากกว่า คือ บริษัทที่เข้ามาพัฒนาเป็นของคนไทยทั้งหมด

หากเราเจาะลึกเข้าไปดูภายในแผนการพัฒนาโครงการ จะยิ่งเห็นถึงความพร้อมได้มากขึ้น ด้วยการแบ่งการพัฒนาเป็น 4 ระยะ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานของประเทศได้สูงที่สุด ประกอบด้วย ระยะที่ 1 มีงานอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่กว่า 157,000 ตารางเมตร พื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถ ศูนย์ขนส่งภาคพื้นดิน และหลุมจอดอากาศยาน 60 หลุม คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2567 สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 15.9 ล้านคนต่อปี

ระยะที่ 2 อาคารผู้โดยสารมีพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 107,000 ตารางเมตร พร้อมทั้งติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ และระบบทางเดินเลื่อน เพิ่มหลุมจอดอีก 16 หลุม คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2573 รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 30 ล้านคนต่อวัน

ระยะที่ 3 ต่อขยายอาคารผู้โดยสาร หลังที่2 กว่า 107,000 ตารางเมตร เพิ่มจำนวนรถขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ อีก 1 ขบวน รวมทั้งเพิ่มหลุมจอดอากาศยานอีก 34 หลุมจอด แล้วเสร็จประมาณปี 2585 รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 45 ล้านคนต่อปี

สุดท้ายในระยะที่ 4 ขยายอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 อีก 82,000 ตารางเมตร ติดตั้งระบบ เช็คอินอัตโนมัติ เพิ่มหลุมจอด 14 หลุม ซึ่งจะแล้วเสร็จปี 2598 รองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคนต่อปี

อีอีซี-บีบีเอส ลงนามร่วมลงทุน ลุยพัฒนา “อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก”

UTA เดินหน้าลงทุนสร้าง “เมืองการบินภาคตะวันออก”

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ