ไม่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นเครื่องมือ 'ห้ามชุมนุม' ศบค.แก้ ม.9 แต่มีกม.อื่นคุมม็อบ!
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
เลขาสมช.แถลง แก้ไข ม. 9 ตัดข้อห้ามชุมนุม แม้ ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยันจำเป็นต้องมีเพื่อควบคุมโรค เผยกำลังปรับปรุง พ.ร.บโรคติดต่อฯ ใช้คุมโควิด-19

พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) แถลงถึงการพิจารณาการขยายระยะเวลาการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม ว่า
ฟรี!!ค่าผ่านทาง “มอเตอร์เวย์” 6 วัน ช่วงหยุดยาว
อธิการบดี ม.มหาสารคาม งัด 'โควิด-19 - พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ' เบรกชุมนุม 'อีสานสิบ่ทน'
"ทุกหน่วยทั้งเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ประชาคมข่าวกรอง และด้านสาธารณสุข โดยแพทย์ให้ความเห็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกยังมีอยู่ ยังจำเป็นต้องมีกฎหมายเข้าควบคุม ในช่วงที่เราจำเป็นต้องเปิดประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะการรับแรงงานต่างด้าว มีโปรแกรมท่องเที่ยวมากขึ้น อนุญาตจัดการประชุม อนุญาตกองถ่ายภาพยนตร์เข้ามาในประเทศ ทั้งหมดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เครื่องมือเดียวที่เราจะใช้ในการควบคุมการผ่อนคลาย ใช้ในการชั่งน้ำหนักเพื่อคุมสถานการณ์ได้ ในตอนนี้ เครื่องมือเดียว คือพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เราจึงจำเป็นต้องขยายเวลาไปอีก 1เดือน.
"ขณะนี้ กำลังมีการปรับปรุง พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ เพื่อให้ใกล้เคียงกับการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าทีม ปรับให้พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อฯสามารถใช้ควบคุมสถานการณ์ได้ โดยกำลังเร่งทำโดยเร็วที่สุด ต่อไปใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อเพียงอย่างเดียว"
เลชาสมช.กล่าวว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ที่ยังไม่มีกฎหมายอื่น เราต้องใช้มาตรการการกักตัว 14 วัน การติดตามตัวผู้ต้องสงสัยในบางกรณีเพื่อเข้าควบคุมโรค จึงต้องมี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไว้
"เพื่อให้พี่น้องประชาชนสบายใจขึ้น เราต้องบอกว่าที่ผ่านมา เราใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้มาตรา 9 อย่างเบาที่สุดแล้ว เราไม่มีเคอร์ฟิว ไม่ห้ามออกนอกเคหะสถาน โดยในมาตรา 9 ที่เราจะเสนอ ครม.อนุมัติในสัปดาห์หน้า การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะไม่ระบุในมาตรา 9 ว่าห้ามการชุมนุมแล้ว ขอให้ท่านมั่นใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯต่อ มีเจตนาเพื่อควบคุมโรค เพื่อประโยชน์ทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น"
"แต่ไม่ได้หมายความว่าการชุมุนมจะเกิดแบบไหนก็ได้ เพราะมีกฎหมายข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้องกำกับอยู่แล้ว"
เลขาสมช.กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ที่ถูกดำเนินคดีฐานชุมนุมก่อนหน้านี้ การพิจารณาใช้กฎหมายใดๆ อยู่ที่ตำรวจ ซึ่งยังมีกฏหมายอื่น รวมถึงพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯที่มีผลใช้บังคับในตอนนั้นอยู่
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้