วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเจอ "ผู้ป่วยลมชัก" ย้ำ อย่าใช้อุปกรณ์งัดปาก ห้ามกดหน้าอกผู้ป่วย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย แจงวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยโรคลมชัก หลังมีกรณีชายไทยมีอาการชักเกร็งในสถานที่ราชการของสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี ย้ำ อย่าใช้อุปกรณ์งัดปากเสี่ยงอุดกั้นทางเดินหายใจ

วิธีการช่วยเหลือผู้ที่กำลังเป็น "โรคลมชัก" ซึ่งเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ 

รู้จัก “โรคลมชัก” กันดีแค่ไหน

เปิดตัวหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดผู้ป่วย ‘ลมชัก’ เครื่องแรกในไทย

ตะแคงหน้า เชยคางขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ช่องทางการหายใจเปิดโล่ง ถ้ามีน้ำลายที่บริเวณใบหน้าควรเช็ดออก และถ้าผู้ป่วยมีอาการกระตุกไม่ต้องกดแขนขาเพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

ถ้าชักขณะนั่งควรระมัดระวังการตกจากเก้าอี้ อาจปรับท่าให้นอนราบในพื้นที่โล่งถ้าสามารถทำได้

งดเว้นการงัดปากด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อช่องปากและฟัน เสี่ยงต่อฟันที่อาจหลุด หรืออุปกรณ์ไปอุดกั้นทางการเดินหายใจ เป็นเหตุให้เสียชีวิต

"ที่สำคัญมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่กัดลิ้นตนเอง ขณะเกิดอาการชักและอันตรายจากการกัดลิ้นไม่มากเมื่อเทียบกับการงัดปาก ผู้ป่วยส่วนน้อยมากที่จะมีแผลจากการกัดลิ้นซึ่งแผลที่เกิดจะสมานได้ในระยะเวลาไม่นาน"

ไม่กดหน้าอกเหมืออนผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการชักไม่ได้หยุดหายใจ  หัวใจยังเต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเต้นเร็วกว่าปกติและมักจะมีความดันโลหิตสูงในระยะต้น ของการชัก ดังนั้น การกดหน้าอกจึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย อาจทำให้กระดูกซี่โครงหักทิ่มตำอวัยวะภายใน เช่น ปอด ได้ และอาจเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยมีอาการชักนานเกินกว่า 5 นาที หรือมีอาการชักซ้ำ ให้ติดต่อหมายเลขฉุกเฉิน 1669 หรือสถานพยาบาลเพื่อรับการช่วยเหลือ

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ