ศิลปากรเชียงใหม่ เร่งกู้คืนภาพวาดอายุกว่า 100 ปีถูกทาสีทับ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีการบูรณะประตูวิหารวัดหมื่นล้าน จ.เชียงใหม่ ซึ่งช่างทาสีทับภาพวาด “ลายรดน้ำ” อายุกว่า 104 ปี และจารึกอักษรล้านนา จนถูกโจมตีว่าไม่เหมาะสม วันนี้เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เข้าตรวจสอบพร้อมระบุซ่อมแซมได้ คาดใช้เวลา 14 วัน

ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และกลุ่มอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง กรมศิลปากร เข้าตรวจสอบภาพวาดประตูวิหารวัดหมื่นล้าน ที่ถูกช่างทาสีทับระหว่างการบูรณะซ่อมแซม จนทำให้ภาพเดิมหายไป

กรมศิลป์ เร่งกู้คืนภาพวาดบานประตูวัดหมื่นล้านอายุ 104 ปี

โดยเจ้าหน้าที่ทดลองใช้น้ำยาเคมี ตรวจสอบบานประตูที่ถูกทาสีทับ พบว่าภาพวาดเดิมไม่ได้ถูกขุดลอกออก เป็นการทาสีทับลงไป โดยมีสีเคลือบผิวอยู่ถึง 3 ชั้น เป็นสารอีพ็อกซี่สีขาวที่ถูกทาเคลือบทับภาพวาดเป็นชั้นแรก จากนั้นถูกทาทับด้วยสีแดงเป็นชั้นที่สอง และ สีดำเป็นชั้นที่สาม

หลังใช้น้ำยาทางเคมีทดสอบการทำละลาย พบว่าสารอีพ็อกซี่ยังไม่เซตตัวร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีโอกาสกู้คืนภาพดังกล่าวได้  แต่ต้องดูว่าจะต้องใช้น้ำยาเคมีตัวไหน เพื่อทำละลายและดึงภาพกลับมาให้ได้  ซึ่งต้องใช้เวลา หากเร่งรีบอาจทำให้ภาพเดิมหลุดเสียหาย 

ส่วนภาพจิตกรรมฝาผนังด้านหลังองค์พระประธาน พบว่า เป็นภาพพิมพ์ฉลุลายปิดทอง มีลวดลายที่ไม่เชื่อมต่อกับลวดลายที่ปรากฏบนเสาและจุดอื่นของวิหาร น่าจะเป็นการบูรณะในยุคสมัยหนึ่ง แต่ก็ถือว่ามีอายุมากพอสมควร คาดว่าจะทำขึ้นราวปี 2400 ลวดลายที่หายไปก็มีความสำคัญ ถือเป็นประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมหนึ่งของยุคสมัยผ่านมา โดยจุดนี้คงรื้อฟื้นกลับมาไม่ได้อีกแล้ว เพราะมีการสกัดปูนออกทั้งหมด  และมีการฉาบปูนใหม่จนไม่หลงเหลืออะไรอีก 

ด้านพระครูสมุห์ประจบ ฐานะวุฒิโฑ เจ้าอาวาสวัดหมื่นล้าน บอกว่ารู้สึกเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่มีเจตนาทำลายให้เสียหาย เพียงแต่ต้องการบูรณะออกมาให้ดีที่สุด แต่ยอมรับว่าไม่ได้ศึกษา และไม่ได้ปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะพยายามแก้ไขกลับมาให้ดีที่สุด 

นอกจากทางวัดยังไม่มีแผนการบูรณะซ่อมแซมในส่วนอื่น หากจะดำเนินการก็จะปรึกษาหารือกับกรมศิลปากรก่อน

เตรียมบูรณะโบสถ์อายุ 205 ปี ทาสีชมพู กลับสภาพเดิม

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ