เพจหมอฟัน แจง โคเคน ใช้ทำฟันเมื่อ 150 ปีก่อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




พนักงานสอบส่วนชี้แจง คณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ไม่ได้แจ้งข้อหาเสพยาเสพติด "บอส วรยุทธ"ได้ หลังหมอฟันเผยโคเคนในตัว "บอส อยู่วิทยา" ใช้รักษาฟัน ขณะที่โลกโซเชียลข้องใจ หลังหมอฟันเผยโคเคนในตัว "บอส อยู่วิทยา" ใช้รักษาฟัน

ตร.อ้างพยานหมอฟัน ชี้ 'โคเคน' ใน 'บอส อยู่วิทยา' เกิดจากยารักษาฟัน !

หลังการประชุมคณะกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร นายณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ โฆษกกรรมาธิการ เปิดเผยว่า กรรมาธิการได้ซักถามพนักงานสอบสวนว่าทำไม่มีแจ้งข้อหาเสพยาเสพติด หลังแพทย์แจ้งผลตรวจพบสารโคเคนแปลกปลอมในร่างนายวรยุทธ ซึ่งพนักงานสอบสวนยอมรับว่าไม่สามารถแจ้งข้อกล่าวหาได้ เพราะทันตแพทย์ ยืนยันว่าได้ให้ยาที่มีส่วนผสมของโคเคนในการรักษาทำฟัน

เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปผสม จะทำให้เกิดสารแปลกปลอมดังกล่าวในร่างกาย แต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจน และไม่มีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าสารดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรักษาฟันจริงหรือไม่ เป็นการชี้แจงปากเปล่าเท่านั้น ดังนั้นในประเด็นนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องออกมาชี้แจงและตอบคำถามสังคมให้ชัดเจน เพราะถือเป็นประเด็นสำคัญ

ทางเพจทันตแพทย์ชื่อดัง "ห้องทำฟันหมายเลข 10" ได้โพสต์ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้จะไม่แปลกถ้าเป็นเมื่อ ศตวรรษที่ 18 !!! หมอฟันคนนั้นต้องนั่งไทม์แมชชีนมาแน่นอน หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค.ศ. 1859 คือ 150 ปีมาแล้ว แต่ด้วยข้อเสียของโคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปี ค.ศ. 1904

เปิดวงจรปิด​ นาทีชน​ พยานปากเอก​ 'บอส​ อยู่วิทยา'​ เสียชีวิต

แต่ในปีค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procaine ได้แก่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แก่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983; ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000) โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับโคเคน

แต่คนยังอาจสงสัยยาชามันชื่อลงท้าย "เคน"เหมือนกัน (แต่จริงๆมันก็คนละโครงสร้างหละนะ) ถ้าไปฉีดยาชา "ลิโดเคน" ทำฟันมาจริงแล้วไปตรวจ "โคเคน" มันจะขึ้นผลหลอกว่ามีโคเคนหรือเปล่า จากการวิจัยก็บอกว่า ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แปลว่าตรวจเจอโคเคนก็คือโคเคน อย่ามาโบ้ยยาชาที่รักของหมอฟันนะ

ขณะที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ว่า Cocaethylene ที่ตรวจพบในเลือด เกิดจากการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์ ไม่เกี่ยวกับโคเคนรักษาฟัน โคเคนที่ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในงานทันตกรรมคือ Lidocaine หรือที่เรียกว่า lignocaine หมอใช้ปริมาณน้อย ต่างจากตัวที่ตรวจพบในเลือด

รพ.รามาฯ พบ"โคเคน"ในร่างกาย"บอส อยู่วิทยา"แต่ไม่มีในสำนวน

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ