"โลกร้อน" มหัตภัยร้ายที่กำลังคืบคลานเข้าสู่ "ภูฏาน" ทั้งที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มหัตภัยร้ายที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเงียบๆ ในดินแดนอันลึกลับและสวยงามของโลก อย่าง ภูฏาน ประเทศที่นโยบายเพื่อสิ่งแวดล้อมถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ อีกด้านหนึ่งกำลังถูกสภาวะโลกร้อนอันเกิดจากหลายประเทศทั่วโลกคุกคามจนส่งผลต่อธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยที่ซึ่งเป็นเหมือนเทพเจ้าและศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวภูฏาน

“ เรากำลังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนที่ไม่ยุติธรรมที่สุด” คาร์มา ทูพู ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาของประเทศ (NCHM) ระบุ ทั้งที่ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับศูนย์ โดยสภาพการปล่อยคาร์บอนที่เป็นกลาง (carbon-neutral) ยังติดลบ (carbon-negative) อีกด้วย เนื่องจากมีปริมาณป่าไม้ที่ปล่อยออกซิเจนมากกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาปีละ 1.1 ล้านตัน

โอกาสการค้า-การท่องเที่ยวของนักลงทุนไทยในภูฏาน

ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญของประเทศกำหนดให้ทุกคน มีบทบาทในการป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างจริงจัง นโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ ล้วนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตและส่งออกพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ ภายในปี 2020 ภูฏานจะมีส่วนช่วยโลกลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 17 ล้านตันในแต่ละปี

ด้าน  นาย โลเท เชอร์ริง นายกรัฐมนตรีภูฏาน ย้ำว่า “อุตสาหกรรมจากภายนอกซึ่งส่งผลรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกำลังเข้ามา โดยไม่นึกถึงประเทศเล็ก ๆที่มีการป้องกันอย่างจริงจัง”

“ผลกระทบต่อธารน้ำแข็ง ส่งผลต่อทั้งร่างกายและทางจิตวิญญาณของชาวภูฏาน”

อิตาลีเตือนธารน้ำแข็งมงต์บลองก์อาจถล่ม

ชาวภูฏานยกย่องภูเขา ทะเลสาบ ธารน้ำแข้ง ให้เป็นดั่งเทพเจ้า แต่สิ่งที่กำลังเยื้องกายเข้าไปรบกวนดินแดนแห่งนี้ กลับกลายเป็นผลพวงที่มาจากน้ำมือของมนุษย์ทั่วโลกคือ “สภาวะโลกร้อน”

ผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกมุมโลก กำลังทำลายดินแดนแห่งนี้อย่างช้าๆ อุณหภูมิที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สร้างอัตราเร่งทำให้ธารน้ำแข็งบนพื้นที่สูงของภูฏานละลายเร็วขึ้น ทำให้ท่ามกลางความเงียบสงบของดินแดนแห่งนี้ กำลังแฝงไปด้วยมัจจุราชที่พร้อมทำลายตลอดเวลา

ธารน้ำแข็งบางแห่ง มีขนาดลดลงสูงถึง 35 เมตร ส่งผลให้มีมวลน้ำมหาศาลไหลลงสู่ทะเลสาบโดยรอบ เป็นความเสี่ยงที่ถูกสะสมให้ทะเลสาบเหล่านี้พังทลายลง เมื่อถึงจุดที่ไม่สามารถแบกรับมวลน้ำไว้ได้

“ ด้วยภาวะโลกร้อน ทำให้ธารน้ำแข็งกำลังละลายและระดับน้ำในแหล่งน้ำก็กำลังเพิ่มขึ้นเร็วมาก และอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ “tsunami in the sky” ได้ตลอดเวลา” คาร์มา ทูพู ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยาของประเทศ (NCHM) กล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งมันจะมีผลกระทบอย่างมากเพราะการตั้งถิ่นฐานของชาวภูฏานกว่าร้อยละ 70 ตั้งอยู่ในหุบเขาใกล้แม่น้ำ ไม่เพียงแต่ยังเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจแต่อาจทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตด้วย

การวิเคราะห์โดย NCHM คาดว่า ในปี  พ.ศ. 2674  มี 17 พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการละลายของธารน้ำแข็งอย่างรวดเร็วใน 700 ประเทศ ก่อให้เกิดทะเลสาบมากขึ้น ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อประชากรและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

เขาบอกด้วยว่า ธรรมชาติของภูฏานอย่างธารน้ำแข็งหรือทะเลสาบไม่ใช่เป็นเพียงแหล่งกักเก็บน้ำ แต่มันคือจิตวิญญาณ ชาวภูฏานเคารพต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนั้นและต่อสิ่งแวดล้อม แต่เราก็รับความจริงที่ว่า เรากำลังสูญเสียธารน้ำแข็งไปจากสภาวะโลกร้อน

ธารน้ำแข็งที่กำลังสูญหายไปและในที่สุดก็จะสูญหายไปตลอดกาล ไม่เพียงมนุษย์เท่านั้นยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ถูกทำลาย  และไม่ใช่แค่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่วงจรชีวิตทั้งหมดจะพัง ลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไปอาจไม่มีทะเลสาบเหลืออยู่และนั่นจะเป็นหายนะที่แท้จริง

ในอดีตภูฏานเคยเผชิญกับภัยพิบัติ GLOFs (Glacial lake outburst flood) คือ ทะเลสาบน้ำแข็ง ธารน้ำแข็งละลายหรือธารน้ำแข็งล้น ก่อนที่จะระเบิดและเกิดน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งมันยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวภูฏาน ส่งผลให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2537

ทั่วโลกกังวลวิกฤตโลกร้อน - ภัยสงคราม

ในปี 2562 มีการบันทึกว่า รอบๆ ทะเลสาบน้ำแข็งที่ละลายใน Thorthormi ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,500 เมตร กำลังเข้าสู่จุดอันตราย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เกิดฝนตกหนักบนเทือกเขาหิมาลัย เพิ่มปริมาณน้ำทะเลสาบ ซึ่งทะเลสาบน้ำแข็ง Thorthormi มีผลต่อชีวิตชาวภูฏาน อย่างมาก เพราะร้อยละ 70 คือการทำเกษตรกรรม เมื่อทะเลสาบน้ำแข็งละลาย พื้นที่ป่าอาจถูกทำลาย อาคาร บ้านเรือน ตลอดจนสถานที่สำคัญทางศาสนา อย่าง พูนาคาซอง (Punakha dzong)  ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโพและแม่น้ำโม สร้างในปี ค.ศ.1637 ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการบริหารปกครองเขตพูนาคา และองค์กรสงฆ์ ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,350 เมตร มีภาพจิตรกรรม พระพุทธรูปดินเหนียว และเป็นสถานที่จัดพิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก อาจถูกทำลายเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่ นักวิทยาศาสตร์ชาวภูฏาน ออกมาเตือนถึงหายนะที่เกิดขึ้นกับทะเลสาบน้ำแข็ง ชาวภูฏานจะมีการสวดมนต์และถวายเครื่องบูชาแก่เทพเจ้าที่เชื่อว่ามีอยู่ อีกนัยหนึ่งคือเป็นการออกมาตรการเตือนเพื่อปกป้องประชาชน

เมื่อประเทศเล็กๆ ที่มีอากาศบริสุทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กำลังได้รับผลพวงอันตรายจากน้ำมือของประเทศโดยรอบ มันจึงไม่ใช่เรื่องยุติธรรมสำหรับชาวภูฏานนัก

เรียบเรียงจาก :  channelnewsasia , wikipedia

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ