“แอมโมเนียมไนเตรท” จากปุ๋ย สู่ระเบิด ต้นตอบึ้มท่าเรือเบรุต ในเลบานอน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทำความรู้จักสาร “แอมโมเนียมไนเตรท” ต้นตอของเหตุระเบิดท่าเรือเบรุต ในประเทศเลบานอน จนเมืองพังราบเป็นหน้ากลอง

เกิดเหตุระเบิดใหญ่ ท่าเรือกรุงเบรุต เลบานอน ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก

เลบานอนเล็งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 สัปดาห์หลังเหตุระเบิด

แอมโมเนียมไนเตรท เป็นสารประกอบทางเคมี มีรูปร่างเป็นผลึกแข็งสีขาว ละลายในน้ำได้ง่าย  มีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสูงถึง 34 %   ซึ่งธาตุไนโตรเจนนี้ถือเป็นสารอาหารหลักชั้นดีของพืช แอมโมเนียมไนเตรทจึงถูกนำมาใช้เป็น ปุ๋ยเคมีสำหรับบำรุงพันธุ์พืช 

แต่นอกเหนือไปจากประโยชน์ที่เป็นอาหารสำหรับพืชแล้ว แอมโมเนียมไนเตรต  ยังถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของระเบิดที่เรียกกันว่า ระเบิดปุ๋ย (fertilizer bomb) นิยมใช้ใน อุตสาหกรรม เหมืองแร่ เหมืองหินและการก่อสร้างโยธา เนื่องจากใช้งานง่าย และมีราคาถูก แต่มันเป็นระเบิดที่ถูกนำมาใชเประโยชน์

ต่อมามีการนำปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตไปใช้ทำระเบิดเพื่อก่อการร้ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1970 ใน รัฐ Wisconsin สหรัฐอเมริกา การ ระเบิดที่โอคลาโฮมาซิตีในปี 1995  ระเบิดในนิวเดลีในปี 2011 การโจมตีในออสโล ประเทศนอร์เวย์ ปี 2011 และ การระเบิด 2 ครั้งกลางตลาดในเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย ในปี  2013 โดยทุกวันนี้ ก็มีรายงานว่า ปากีสถานยังคงมีการใช้สารเคมีเหล่านี้ในการทำระเบิดเพื่อก่อการร้าย

เจ้าหน้าที่ คาด "แอมโมเนีย ไนเตรท"ชนวนเหตุระเบิดเลบานอน

36 ภาพ "ระเบิดเลบานอน" กรุงเบรุตพังราบ

อย่างไรก็ตามแม้จะใช้เป็นปุ๋ย แต่แอมโมเนียมไนเตรท ก็อาจกลายเป็นระเบิดเวลาได้ หากมีการจัดการและจัดเก็บ ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มันกลายเป็นสาเหตุให้เกิดระเบิดใหญ่หลายครั้ง เช่น ปี 2544 เกิดเหตุที่โรงงานเคมีเมืองตูลูส ฝรั่งเศส ครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิต 31 คน  ปี 2556  เกิดเหตุที่โรงงานปุ๋ยในรัฐเท็กซัสของสหรัฐ คร่าชีวิตประชาชน 15 คน และล่าสุด เมื่อวานนี้ (4 ส.ค.63) เหตุระเบิดใหญ่ ถึง 2 ระลอก ที่ท่าเรือในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน จนเมืองพังราบเป็นหน้ากลอง

การระเบิดของแอมโมเนียมไนเตรท อาจ เริ่มต้นจากการระเบิดของเชื้อปะทุ จากนั้นมันก็จะปลดปล่อย คลื่นระเบิด (detonation wave) ซึ่งมีความเร็วประมาณ 3.2-4.8 กิโลเมตร/วินาทีออกมา ส่งผลให้สารแอมโมเนียมไนเตรตในเม็ดปุ๋ยระเหิด* กลายเป็นก๊าซทันที และจุดเชื้อเพลิงให้ลุกไหม้ โดยพลังงานจากคลื่นระเบิดที่ทะลุผ่านสารแอมโมเนียมไนเตรตจะทำให้โมเลกุลสลายตัว อะตอมออกซิเจนถูกปลดปล่อยออกมา และรวมตัวเป็นก๊าซออกซิเจน เร่งปฏิกิริยาหรือกระบวนการเผาไหม้ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กลสยเป็นก๊าซร้อน ๆ  ซึ่งก๊าซร้อนที่เกิดในเวลาสั้น ๆ นี้ทำให้เกิดคลื่นความดัน (pressure wave) ซึ่งเคลื่อนที่เร็วเท่าอัตราเร็วเสียง (330 เมตรหรือ 1,100 ฟุต/วินาที) คลื่นนี้อาจทำอันตรายต่อชีวิต วัตถุ สิ่งของต่างๆ โดยรอบ นอกจากนี้ความร้อนสูงซึ่งเกิดขึ้นจากการเผาไหม้ยังทำให้วัตถุโดยรอบไหม้ไฟได้ อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านระเบิดระบุว่า อำนาจการทำลายส่วนใหญ่มาจากคลื่นความดัน

 

เมื่อมีประโยชน์แต่ก็แฝงอันตราย การจัดเก็บปุ๋ยที่มีสารแอมโมเนียมไนเตรทเป็นส่วนประกอบจึงต้องปลอดภัย  ยกตัวอย่างแนวทางของ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) ตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยยาราจากประเทศนอร์เวย์  ซึ่งได้แนะนำข้อปฏิบัติในการจัดเก็บปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต  ที่สำคัญมีสิ่งที่ต้องทำ และสิ่งที่ต้องห้าม เช่น 

- ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดเคมี หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในบริเวณคลัง

- ต้องจัดให้มีน้ำพร้อมใช้ กรณีที่ปุ๋ยเคมีอาจเกิดการคลายไอความร้อนและมีควัน/ก๊าซ

- ต้องแยกเก็บปุ๋ยซึ่งจัดอยู่ในหมวดสินค้าอันตราย ชนิดสารติดไฟ

- ต้องเก็บให้ห่างจากสารไวไฟ หรือสารที่เข้ากันไม่ได้ และต้องห่างจากแหล่งความร้อนโดยปิดป้ายพร้อมระบุอันตราย

 - ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ที่จัดเก็บปุ๋ย

-  ห้ามใช้ไฟสว่างที่คายความร้อนมาก เช่น สปอตไลต์ ใกล้กองปุ๋ยในระยะ 60 เซนติเมตร

- ห้ามเก็บใกล้สารไวไฟ อาทิ ก๊าซหุงต้ม, น้ำมัน หรือสารหล่อลื่น ไว้ใกล้ปุ๋ย

- ห้ามเก็บไกล้วัสดุติดไฟได้ อาทิ ไม้, กล่องกระดาษ, หรือสารเคมีการเกษตรไว้ใกล้ปุ๋ย

 

สำหรับประเทศ ไทย มีหน่วยงานที่ดูแลสารตัวนี้ 3 หน่วยด้วยกัน คือ กระทรวงกลาโหม ควบคุมในฐานะสารนี้เป็นยุทธภัณฑ์   สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการระเบิดได้ เช่น การระเบิดหินในเหมืองแร่ต่าง ๆ ด้านกรมวิชาการเกษตร ที่ดูแลเรื่องเคมีภัณฑ์เกษตร แต่ปัจจุบัน ได้ยกเลิกการ ขึ้นทะเบียนแอมโมเนียมในเตรท เป็นปุ๋ยเคมีแล้ว สำหรับกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้กำกับดูแลเส้นทางเดินของปุ๋ยยูเรีย มิให้นำไปใช้เป็นวัตถุระเบิดได้เช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหม

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ