“ขยะกำพร้า” ขยะพลาสติกรีไซเคิลไม่ได้ ต้องได้รับการกำจัดให้ถูกวิธี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากจำนวนขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกอีกประเภทนั่นก็คือขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของทั้งภาคธุรกิจและภาคที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ ทำให้ขยะพลาสติกประเภทนี้ไม่ถูกจำกัดด้วยวิธีที่เหมาะสม แต่ตอนนี้มีบริษัทหนึ่งที่เปิดรับขยะชนิดนี้เพื่อนำไปแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน

จากจำนวนขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกอีกประเภทนั่นก็คือขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของทั้งภาคธุรกิจและภาคที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ ทำให้ขยะพลาสติกประเภทนี้ไม่ถูกจำกัดด้วยวิธีที่เหมาะสม แต่ตอนนี้มีบริษัทหนึ่งที่เปิดรับขยะชนิดนี้เพื่อนำไปแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน

“มีหน้ากากมากกว่าแมงกะพรุน” ขยะช่วงโควิด-19 จำนวนมากถูกทิ้งลงมหาสมุทร

บรรดาเพจที่ให้ความรู้และรณรงค์เกี่ยวกับการลดใช้พลาสติก การแยกขยะ การรีไซเคิล/อัพไซเคิล ไปจนถึงการกำจัดขยะแบบถูกวิธี ที่มีมากมายในโลกออนไลน์ พร้อมกับการเคลื่อนไหวของสมาชิกในกลุ่มที่โพสต์ภาพแสดงกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในชีวิตประจำวันด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการลดปริมาณขยะอยู่ตลอดเวลา แสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสังคมไทยต่อปัญหาขยะพลาสติก หนึ่งในปัญหาใหญ่ของประเทศ

ขยะกำพร้า คือ คำนิยามของขยะที่รถซาเล้งไม่รับซื้อ ขยะพลาสติกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น เช่นบรรดาหีบห่อพลาสติกต่างๆ ถุงแกง ถุงน้ำยา ซองขนม กล่องโฟม แปรงสีฟัน นั่นทำให้ขยะชนิดนี้ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางของขั้นตอนการกำจัดที่ถูกวิธี N15 เทคโนโลยี บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการขยะอุตสาหกรรม รับกำจัดขยะเพื่อนำไปทำเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน ที่มองเห็นปัญหานี้ของคนในสังคมจึงเสนอตัวขอเป็นทางเลือกในการรับขยะกำพร้าเหล่านี้มาจัดการให้ ขอเพียงเป็นขยะพลาสติกที่สามารถตัดให้ขาดและติดไฟได้

2 - 3 กล่อง คือ ปริมาณที่มีผู้ส่งขยะมาให้กำจัด ในช่วงแรกของโครงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ในวันนี้จำนวนขยะที่ส่งมาให้ N15 เทคโนโลยีกำจัดนั้น เฉลี่ยอยู่ที่ 300 กล่อง/วัน มีทั้งการส่งผ่านไปรษณีย์ไปจนถึงขับรถข้ามจังหวัดเพื่อมาส่งขยะกำพร้าด้วยตัวเองถึงที่นี่

จำนวนขยะกำพร้าที่ถูกส่งมาให้ N15 เทคโนโลยี กำจัด มีมากขึ้นหลายเท่าตัวนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการตื่นตัวเรื่องการกำจัดขยะ แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขยะกำพร้าเพิ่มมากขึ้นมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การที่ผู้คนต้องหยุดอยู่บ้านเป็นเวลาหลายเดือน ไม่สามารถออกไปไหนได้อย่างเคย ทำให้ต้องสั่งอาหารมากินที่บ้าน ไปจนถึงการต้องซื้อของทางออนไลน์ โดยมีพลาสติกเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักของกิจกรรมเหล่านี้ ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ในกทม. ช่วงเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 29.58 จากปกติอยู่ที่ประมารร้อยละ 12 ของปริมาณขยะทั้งหมด

เมื่อบรรดากล่องพัสดุที่บรรจุขยะเดินทางมาถึง พนักงานก็จะเปิดกล่อง นำมาเทรวมกัน เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการการคัดแยกและบดย่อยเพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในเตาเผาปูนซีเมนต์ ซึ่งถือเป็นวิธีการกำจัดขยะกำพร้าที่ดีที่สุดในตอนนี้ เพราะการฝังกลบขยะ แม้จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมแต่ก็ยังเป็นการกำจัดขยะพลาสติกแบบไม่ถูกวิธี

ทั้งนี้การเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการขยะเพื่อนำไปทำเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน ที่ขอเป็นทางเลือกในการรับขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้มากำจัดนั้น สร้างความกังขาให้กับผู้คนบางส่วนในสังคมว่า นี่เป็นการเอาเปรียบประชาชนที่ต้องออกค่าใช้จ่ายในการส่งขยะ มาให้บริษัทนำไปสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจที่ทำอยู่แบบไม่ต้องลงทุนเลยหรือไม่ แต่ทาง N15 เทคโนโลยีก็ยืนยันว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นแทบจะไม่ได้สร้างมูลค่าในเชิงธุรกิจเลย แต่ที่ทำเพราะต้องการเป็นทางเลือกในการจัดการขยะที่ไม่มีใครต้องการ

โควิด-19 ทำให้ขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นจาก 1,500 ตันต่อวันเป็น 6,300 ตันต่อวัน ตัวร้ายและกำจัดยากที่สุดคือ ขยะกำพร้า ที่หากกำจัดไม่ถูกวิธีก็จะถูกฝังกลบหรือไม่ก็ลงเอยสู่ท้องทะเลและต้องรอเวลาอย่างน้อย 400 ปีกว่าจะย่อยสลายเองได้

ขยะจากทะเล เกลื่อนเกาะห้อง กรมอุทยานแจงเป็นแบบนี้ทุกปี

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ